พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)
จางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ นามเดิม ชวน สกุลสิงหเสนี (3 สิงหาคม 2428–7 กุมภาพันธ์ 2468) ขุนนางชาวไทย อดีตอัครราชทูตประจำ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม และอดีตอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา
จางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) | |
---|---|
อรรคราชทูตประจำราชสำนักอังกฤษ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2462 – พ.ศ. 2465 | |
ก่อนหน้า | พระยาสุธรรมไมตรี (สงบ สุจริตกุล) |
ถัดไป | พระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2428 |
เสียชีวิต | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (39 ปี) |
บุพการี |
|
ครอบครัว | สิงหเสนี |
ประวัติ
แก้พระยาบุรีนวราษฐ์มีชื่อเดิมว่า ชวน เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2428 เป็นบุตรชายของพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับคุณหญิงเชย อนุชิตชาญไชย ภรรยาเอก โดยเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวและคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 3 คนที่เกิดจากคุณหญิงเชย
จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงเนื่อง บุรีนวราษฐ์ ธิดาของพระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี)
จางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคฝีในลำคอเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468[1]
รับราชการ
แก้ในปี พ.ศ. 2452 ท่านได้เข้ารับราชการใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขานุการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงเทพรัตน์นรินทร์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2452 จากนั้นจึงย้ายมารับราชการในกรมมหาดเล็ก ในตำแหน่งปลัดบัญชาการกรมมหาดเล็กและได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 3 เอก เทียบเท่าชั้นหุ้มแพรเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2453 ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงบุรีนวราษฐ์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2453 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 ตรี เทียบเท่าชั้นจ่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกันท่านก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 เอก เทียบเท่าชั้นหัวหมื่น จากนั้นในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาบุรีนวราษฐ์ พร้อมกับเลื่อนยศเป็น จางวางตรี ในวันเดียวกัน
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- เลขานุการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- 25 ตุลาคม พ.ศ. 2452 หลวงเทพรัตน์นรินทร์ ถือศักดินา ๖๐๐[2]
- ปลัดบัญชาการกรมมหาดเล็ก
- 7 มกราคม พ.ศ. 2453 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 3 เอก (เทียบเท่าชั้นหุ้มแพร)[3]
- 13 มกราคม พ.ศ. 2453 หลวงบุรีนวราษฐ์[4]
- 16 เมษายน พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 ตรี (เทียบเท่าชั้นจ่า)[5]
- 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่ เลขานุการกองเสือป่า[6]
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระบุรีนวราษฐ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็ก ชั้นที่ 2 เอก (เทียบเท่าชั้นหัวหมื่น)[8]
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายกองตรี[9]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระยาบุรีนวราษฐ์ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2455 จางวางตรี[11]
- 1 มกราคม 2455 – นายร้อยเอก ในกรมทหารบก
- 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[12]
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองโท[13]
- 25 กรกฎาคม 2456 – มหาเสวกตรี[14]
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - จางวางโท[15]
- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายกองเอก[16]
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2457 มหาเสวกโท[17]
- 14 มกราคม พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า[18]
- 13 ธันวาคม พ.ศ. 2461 พันตรีพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[19]
ตำแหน่ง
แก้- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ[20]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 กรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง[21]
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 ราชเลขานุการในพระองค์[22]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2458 องคมนตรี[23]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2462 อรรคราชทูตมีอำนาจเต็มประจำราชสำนักอังกฤษ วิลันดา และเบลเยียม[24]
- 14 เมษายน 2462 – พ้นจากตำแหน่งปลัดเสือป่าและเลขานุการสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือ เป็นนายเสือป่ากองนอกสังกัดกรมปลัดเสือป่า[25]
- 5 พฤษภาคม 2462 – เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่งอรรคราชทูต[26]
- 24 มกราคม พ.ศ. 2465 อรรคราชทูตพิเศษประจำสหรัฐอเมริกา[27]
เกียรติยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
แก้- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[30]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[33]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[34]
- พ.ศ. 2461 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[35]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[36]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[37]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 2[38]
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ชั้นที่ 2[39]
- รัสเซีย :
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสตานิสลาส ชั้นที่ 2[40]
เครื่องยศ
แก้- 20 พฤศจิกายน 2454 – โต๊ะทอง กาทอง[41]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
- ↑ แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษ กรมทหารรักษาวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานใช้เครื่องแต่งตัว
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศและผู้รั้งตำแหน่งสมุหพระราชมณเฑียร
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็กหลวง เรื่อง ให้จางวางตรี พระยาบุรีนวราษฐ์ เป็นกรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
- ↑ แจ้งความกรมราชเลขานุการ
- ↑ รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี (หน้า ๑๑๖)
- ↑ พระบรมราชโองการ
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอรรคราชทูต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๔, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๐, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๗, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๘๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๕, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๓, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๔, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗, ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๔, ๒๒ สิงหาคม ๒๔๕๘
- ↑ พระราชทานเครื่องยศ