พญากือนา

(เปลี่ยนทางจาก พระยากือนา)

พญากือนา (ไทยถิ่นเหนือ: ), พญาธรรมิกราช หรือ เจ้าท้าวสองแสนนา อันธรรมิกราช[1] เป็นพระมหากษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1928[2] เป็นพระราชโอรสในพญาผายูกับพระนางจิตราเทวี[3]

พญากือนา
พระมหากษัตริย์แห่งล้านนา พระองค์ที่ 6
ครองราชย์พ.ศ. 1898–1928 (30 ปี)
ก่อนหน้าพญาผายู
ถัดไปพญาแสนเมืองมา
คู่อภิเษกจิตราเทวี, พระนางยสุนทราเทวี
พระราชบุตรพญาแสนเมืองมา
ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาพญาผายู

พญากือนามีศรัทธาในศาสนาพุทธอย่างแรงกล้า โปรดให้อาราธนาพระสุมนเถรจากกรุงสุโขทัยมาประดิษฐานพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในล้านนา[4] และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานบนดอยสุเทพ

พระอุปนิสัย

แก้

พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กล่าวว่า:-

ฝ่ายพระเจ้ากือนาครอบราชสมบัติเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ประกอบชอบด้วยทศพิธราชธรรมเลอมใสในพระวรพุทธศาสนา และพอพระทัยศึกษาศิลปศาสตร์ต่าง ๆ ทรงชำนิชำนาญในทางโหราศาสตร์ ศัพทศาสตร์ นิทานอุปเทศ เพทางคศาสตร์ คชศาสตร์ เป็นต้น ทรงพระปรีชาสามารถในราชกิจใหญ่น้อยต่าง ๆ ท้าวพระยานานาประเทศทั้งหลายก็ยำเกรงน้อมนำบรรณาการยื่นถวายบ่มิขาด กาลยามนั้นเมืองนครพิงค์เชียงใหม่สมบูรณ์ด้วยธัญญาหารและแสนเสนามาตย์ราษฎรประชาผู้กล้าผู้หาร บริบูรณ์ด้วยศฤงคารและราชสมบัติราชฎรชื่นบานชุ่มเย็นเป็นเกษมสุขทั่วกัน[5]

— พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) (รวบรวมเมื่อ พ.ศ. 2449), พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, บริจเฉจที่ ๑๖ ว่าด้วยสร้างเมืองเชียงแสน.

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 268. ...อันว่าพระเศลาจารึกเจ้าท้าวสองแสนนา อันธรรมิกราช ผู้เป็นลูกรักแก่พญาผายู เป็นหลานแก่พญาคำฟู เป็นเหลนแก่พญามังรายเจ้าท้าวนี้ เมื่อสุดชนมาพิธี ปีเดือนพ่อตนดังอั้น จึงได้เสวยพระราชชัยศรี มีศักดิ์มีบุญฤทธิ์เดชะตบะหนักหนา...
  2. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. สรัสวดี อ๋องสกุลกษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557. 166 หน้า. หน้า 54. ISBN 978-974-672-853-9
  4. "จารึกวัดพระยืน ด้านที่ ๑". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2549. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. กรมศิลปากร. (2505). พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร. หน้า 317.


ก่อนหน้า พญากือนา ถัดไป
พญาผายู    
พระมหากษัตริย์ล้านนา
(พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1928)
  พญาแสนเมืองมา