พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ฐิตธมฺโม)

ดร.พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม องอาจ ชุมแสง ฉายา ฐิตธมฺโม เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดขันเงินและที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16[1] เป็นศิษย์พระราชญาณกวี (บุญชวน เขมาภิรโต) สหายร่วมอุทรธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) และพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร)

พระธรรมโกศาจารย์

(องอาจ ฐิตธมฺโม)
ส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค M.A., PH.D., พธ.ด.กิตติมศักดิ์
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดขันเงิน พระอารามหลวง ชุมพร
อุปสมบท21 มิถุนายน พ.ศ. 2507
พรรษา60
ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16, เจ้าอาวาสวัดขันเงิน

สถานะเดิม

แก้

ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2482 โยมบิดาชื่อ เขต ชุมแสง โยมมารดาชื่อ จาย ชุมแสง (นามสกุลเดิม แก้วพินิจ) ณ บ้านทุ่งคา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

อุปสมบท

แก้

พระธรรมโกศาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2507 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ณ วัดนาทุ่ง โดยมีพระปกาสิตพุทธศาสน์ (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระราชญาณกวี) วัดขันเงิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาพิพัฒน์ วัดนาทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพุฒ ธมฺมจาโร ที่พักสงฆ์มณีสพ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ

แก้

ตำแหน่งทางการปกครอง

แก้
  • พ.ศ. 2519 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดนาทุ่ง
  • พ.ศ. 2529 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2531 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2531 เป็นเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2532 เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดขันเงิน
  • พ.ศ. 2532 เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
  • พ.ศ. 2558 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
  • พ.ศ. 2560 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16

งานการศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2512 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
  • พ.ศ. 2526 เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง จนถึงปัจจุบัน

สมณศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2531 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีธรรมนาถมุนี[2]
  • พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติโมลี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2546 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพญาณโมลี ศรีธรรมสาธก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2555 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]

ปริญญากิตติมศักดิ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 331-332. ISBN 974-417-530-3
  1. ตามมติมหาเถรสมาคมที่ 717/2560 วันที่ 20 ธันวาคม 2560
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207 ง ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2531, หน้า 4
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 110, ตอนที่ 202 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2536, หน้า 4
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 3 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 29 กุมภาพันธ์ 2547, หน้า 9
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 130, ตอนที่ 9 ข, 19 มีนาคม 2556, หน้า 1
  6. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา, [1]