พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม)

พระธรรมวโรดม นามเดิม เซ่ง ฉายา อุตฺตโม เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะใต้ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

พระธรรมวโรดม

(เซ่ง อุตฺตโม)
ส่วนบุคคล
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2423 (62 ปี 284 วัน ปี)
มรณภาพ13 ตุลาคม พ.ศ. 2485
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา41
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
เจ้าคณะรองคณะใต้

ประวัติ แก้

วัยเยาว์ แก้

พระธรรมวโรดม มีนามเดิมว่า เซ่ง ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านทะเลน้อย ตำบลปากคลอง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง บิดาชื่อตี๋ มารดาชื่อสุข

อุปสมบท แก้

พ.ศ. 2437 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา) แล้วย้ายไปอยู่วัดคงคาสวัสดิ์ ในจังหวัดพัทลุง เมื่อทราบว่าพระสงฆ์คณะธรรมยุตได้มาตั้งอยู่ที่นั้น ต่อมาท่านลาสิกขาบท จน พ.ศ. 2442 จึงอุปสมบทที่วัดวัง จังหวัดพัทลุง (บางตำราว่าวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา) โดยมีพระครูวิสุทธิโมลี (จันทร์ จนฺทสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมจักการาม (เทพ ฐิติญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วย้ายกลับมาอยู่วัดคงคาสวัสดิ์ ใน พ.ศ. นั้น พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชได้มาตรวจการคณะสงฆ์ ได้คัดเลือกพระภิกษุ 7 รูป ให้ศึกษาที่มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อจะได้กลับมาสอนเผยแพร่ภาษาไทยที่ภูมิลำเนาของตน พระเซ่งเป็นรูปหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกไปด้วย[1] ในช่วงแรกได้จำพรรษาที่วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส โปรดให้ย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ช่วยเหลืออุปฐากพระองค์จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม

พ.ศ. 2452 ท่านได้ทำทัฬหีกรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[2] ได้รับฉายาว่า อุตฺตโม

การศึกษา แก้

พระธรรมวโรดมได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นหลัก และศึกษากับนายนาถบ้าง แล้วเข้าสอบจนได้เป็นเปรียญตามลำดับดังนี้

นอกจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแล้ว พระธรรมวโรดมยังได้รับการศึกษาอบรมงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นธุระส่วนพระองค์และกิจพระศาสนา ตามที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงมอบหมาย ท่านเรียนรู้งานเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี เข้าใจการงานทุกอย่าง จนบริหารการวัดให้เรียบร้อยก้าวหน้าเป็นที่พอพระทัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ

ศาสนกิจ แก้

ด้านวิชาการ แก้

พระธรรมวโรดม มีความเชี่ยวชาญด้านปริยัติธรรมอย่างมาก สามารถค้นคว้าคัมภีร์แล้วเรียบเรียงมาเทศนาได้อย่างลึกซึ้ง จับใจผู้ฟัง จนแม้แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ายังทรงเลื่อมใสและนับถือยกย่องให้เป็นพระธรรมกถึก และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระคณาจารย์โทในทางแสดงธรรม มีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าคณะเมือง มีประกาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456[3] แล้วเลื่อนเป็นพระคณาจารย์เอก (เทียบเท่าเจ้าคณะมณฑล) มีประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2458[4]

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี และเป็นกรรมการในการสอบนักธรรมสนามหลวงด้วย

ด้านการปกครอง แก้

  • พ.ศ. 2451 เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต[5]
  • พ.ศ. 2454 เป็นเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร[6]
  • พ.ศ. 2467 เป็นเจ้าคณะมณฑลสุราษฏร์[7]
  • พ.ศ. 2469 เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต (สมัยที่ 2)[8]
  • พ.ศ. 2471 เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช[9]

ด้านสาธารณูปการ แก้

พระธรรมวโรดม ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุอย่างมาก ภายในวัดราชาธิวาสวิหาร ท่านได้บูรณะพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และตำหนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในต่างจังหวัด ท่านได้ร่วมก่อสร้างวัดหลายแห่งในภาคใต้ เช่น วัดสามแก้วและวัดเสกขาราม จังหวัดชุมพร วัดเขาทอง จังหวัดพัทลุง วัดโภคาจุฑามาตย์ จังหวัดกระบี่ วัดนิกรชนาราม จังหวัดปัตตานี เป็นต้น

ลำดับสมณศักดิ์ แก้

มรณภาพ แก้

พระธรรมวโรดม อาพาธด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับเป็นผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์โดยตลอดทั้ง 8 เดือนที่เข้ารับการรักษา แม้จะเกิดทุกขเวทนาอย่างรุนแรง แต่ท่านก็ทรงสติดีโดยตลอด ไม่มีความกระวนกระวาย อาการอาพาธของท่านทรงและทรุดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เวลา 18:15 น. สิริอายุ 63 พรรษา 41[1]

ศิษย์ที่สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ทวี มุขดาร์, ประวัติเกียรติคุณของท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตมเถร). ประวัติวัดราชาธิวาสวิหาร. กรุงเทพฯ : วัดราชาธิวาส, 2545. 300 หน้า. หน้า 157-63. ISBN 974-85891-1-7 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  2. พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี), ประวัติพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) วัดราชาธิวาส. ประวัติวัดราชาธิวาสวิหาร. กรุงเทพฯ : วัดราชาธิวาส, 2545. 300 หน้า. หน้า 148. ISBN 974-85891-1-7 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระคณาจารย์ฝ่ายปริยัติ, เล่ม 30, ตอน 0 ก, วันที่ 31 สิงหาคม 2456, หน้า 228-229
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง เลื่อนพระคณาจารย์ ฝ่ายปริยัติ, เล่ม 32, ตอน 0 ง, วันที่ 23 พฤษภาคม 2458, หน้า 399
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ทรงเลื่อนตำแหน่งยศสมณศักดิ์ แลพระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล, เล่ม 25, ตอน 38, วันที่ 20 ธันวาคม 2451, หน้า 1133
  6. ราชกิจจานุเบกษา, การแห่พระอริยกระวี วัดบวรนิเวศวิหาร ไปอยู่วัดราชาธิวาศ, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 24 มีนาคม 2467, หน้า 2,720-2
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมธรรมการ เรื่องตั้งเจ้าคณะมณฑล, เล่ม 41, ตอน 0 ง, 8 มีนาคม 2467, หน้า 4,247
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมวิสามัญศึกษา เรื่อง ตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงและเจ้าคณะ, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 23 พฤษภาคม 2469, หน้า 893
  9. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่องเจ้าคณมณฑลลาออก และตั้งเจ้าคณมณฑลใหม่, เล่ม 45, ตอน 0 ง, 24 มิถุนายน 2471, หน้า 1,034
  10. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 251-2. ISBN 974-417-530-3
  11. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม 23, วันที่ 30 ธันวาคม ร.ศ. 125, หน้า 1046
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม 33, ตอน ง, วันที่ 7 มกราคม 2459, หน้า 2750
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม 38, วันที่ 2 ตุลาคม 2464, หน้า 1832
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 40, วันที่ 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2595
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 46, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2472, หน้า 363-5


ก่อนหน้า พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) ถัดไป
พระธรรมวโรดม (เข้ม ธมฺมสโร)    
เจ้าคณะรองคณะใต้
(พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2484)
  (ตำแหน่งถูกยกเลิกตาม
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484)