พรรคกรรมกร (พ.ศ. 2498)

พรรคกรรมกร (อังกฤษ: Labor Party) เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนต่อสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ทะเบียนเลขที่ 4/2498 ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2498[1]หัวหน้าพรรคคือ นายประกอบ โตลักษณ์ล้ำ เลขาธิการพรรคคือ นางใคล ชุณหะจันทน

พรรคกรรมกร
(พ.ศ. 2498)
หัวหน้าประกอบ โตลักษณ์ล้ำ
เลขาธิการใคล ชุณหะจันทน์
ก่อตั้ง4 ตุลาคม พ.ศ. 2498
ถูกยุบ20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (3 ปี 16 วัน)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

นโยบาย

แก้

นโยบายด้านการต่างประเทศ

แก้

พรรคกรรมกรจะมุ่งส่งเสริมและผดุงสัมพันธภาพกับนานาประเทศ และวงการสังคมประชาธิปไตยทั่วโลก เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพและสันติภาพของโลก โดยยึดหลักปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

นโยบายด้านเศรษฐกิจ

แก้

พรรคกรรมกรจะมุ่งส่งเสริมการเศรษฐกิจและสังคมสงเคราะห์ เพื่ออำนวยความผาสุกแก่ประชาชน ส่งเสริมการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศ จัดระบบอาชีพให้ประชาชนมีงานทำโดยทั่วกัน และป้องกันการว่างงานของประชาชน ส่งเสริมการจัดตั้งสหบาลอาชีพให้เป็นปึกแผ่นทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและขยายให้มีการสหกรณ์ทั่วประเทศ

นโยบายด้านการคลัง

แก้

พรรคกรรมกรจะมุ่งจะรักษาเสถียรภาพทางการคลังให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยจัดงบประมาณให้เป็นไปในทางประหยัด เพื่อให้บังเกิดผลแก่ประชาชนมากที่สุด จัดระบบภาษีอากรให้เป็นธรรมต่อสังคม เพื่อยังความผาสุกแก่ประชาชน จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน

นโยบายด้านการศึกษา

แก้

พรรคกรรมกรจะมุ่งส่งเสริมและยกระดับการศึกษาของประชาชนให้อยู่ในมาตรฐานเท่าเทียมกันกันทั่วประเทศ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการศึกษา และขยายการศึกษาโดยทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถและความต้องการ

นโยบายด้านการปกครอง

แก้

พรรคกรรมกรจะกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ประชาชนให้มากที่สุด จะส่งเสริมความเจริญของท้องถิ่น และขยายการสาธารณสุขให้ทั่วถึง จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และให้การเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้หลักประกันโดยการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนในการประกอบอาชีพด้วยความเป็นธรรม

นโยบายด้านความเป็นเอกราช

แก้

พรรคกรรมกรจะดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกราชของชาติ โดยจะป้องกันและรักษาความเป็นเอกราชของชาติทุกกรณี และนโยบายด้านการศาล จะแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจบริหารโดยเด็ดขาด เพื่อให้ศาลมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีตามตัวบทกฎหมาย

การเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

แก้

พรรคกรรมกร ถือเป็นหนึ่งในพรรคขนาดเล็กในจำนวนมาก ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 และพยายามเสนอนโยบายของต่อตนประชาชนในการส่งผู้สมัครของพรรคลงแข่งขันรับเลือกตั้ง แต่ผลการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ปรากฏว่าผู้สมัครจากบรรดาพรรคขนาดเล็กเหล่านี้ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว กล่าวคือ ในจำนวนพรรคการเมือง 20 กว่าพรรคนั้น มีเพียง 8 พรรคเท่านั้นที่สมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้ง ได้แก่ พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคเศรษฐกร พรรคชาตินิยม พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค พรรคอิสระ และไม่สังกัดพรรค

ยุบพรรค

แก้

พรรคกรรมกรถูกยุบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ตามคำสั่งคณะปฏิวัติ ที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ[2]

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองกรรมกร
  2. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • สมุทร สุรักขกะ, 26 การปฏิวัติไทยและรัฐประหาร สมัย 2489 ถึง 2507, พระนคร: โรงพิมพ์สื่อการพิมพ์, 2507
  • ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน, พระนคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2511