ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ

ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ (อังกฤษ: Thamkrasae Railway Station) เดิมใช้ชื่อ"สะพานถ้ำกระแซ" อยู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (ช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟน้ำตก) หรือทางรถไฟสายตะวันตก ป้ายหยุดรถไฟตั้งอยู่บริเวณสะพานถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานไม้เลียบหน้าผาที่มีความยาวกว่า 450 เมตร เปิดใช้งานเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยปัจจุบันที่นี่เป็นจุดหนึ่ง ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเส้นทางสายนี้ (ทางรถไฟสายมรณะ)

ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ
ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(ใหม่) ฝั่งสถานีรถไฟน้ำตก
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านวังโพธิ์ หมู่1 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลาป้ายหยุดรถไฟ
ที่จอดรถหลังป้ายหยุดรถ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4072
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (35 ปี)
ผู้โดยสาร
ประมาณ 100 คน /วัน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ลุ่มสุ่ม
มุ่งหน้า ธนบุรี
สายใต้ วังโพ
ถ้ำกระแซ
Thamkrasae
กิโลเมตรที่ 190.79
ลุ่มสุ่ม
Lumsum
−1.52 กม.
วังโพ
Wang Pho
+4.23 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
ที่ตั้ง
แผนที่

ประวัติ

แก้

ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ เป็นป้ายหยุดรถไฟสร้างขึ้นมาหลังการเปิดเดินรถไฟช่วงที่ 2( สถานีรถไฟกาญจนบุรี - สถานีรถไฟวังโพ) ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก(หนองปลาดุก-น้ำตก) ระหว่าง ระยะทาง 61 กิโลเมตร โดยเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 สำหรับการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับป้ายหยุดรถวิทยาลัยเกษตร ป้ายหยุดรถบ้านโป่งเสี้ยว และป้ายหยุดรถเกาะมหามงคล

จากป้ายสถานีรถไฟ เดิมป้ายหยุดรถไฟนี้ใช้ชื่อว่า"สะพานถ้ำกระแซ" โดยปัจจุบันเหลือแค่"ถ้ำกระแซ" จากหลักฐานของป้ายป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(เดิม) ฝั่งกาญจนบุรี ทีภาษาอังกฤษเขียนว่า "Thamkrasae Bridge" ที่แปลว่าสะพานถ้ำกระแซ

ตำแหน่งที่ตั้ง

แก้
ตำแหน่งที่ตั้งป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ
แห่งที่ ชื่อ ระยะห่างจากสถานีธนบุรี บริเวณที่ตั้ง ฝั่งของสะพาน การเดินรถไฟ
1 (เก่า) ถ้ำกระแซ 173.87 กม. สวนไทรโยค กับรีสอร์ท ฝั่งทางสถานีรถไฟกาญจนบุรี ยังใช้งานอยู่
สะพานถ้ำกระแซ ยาว 450.06 ม.
2 (ใหม่) ถ้ำกระแซ 174.32กม. ร้านค้า ใกล้ถ้ำกระแซ ฝั่งทางสถานีรถไฟน้ำตก ยังใช้งานอยู่

ตารางเดินรถ

แก้

*ข้อมูลเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563[1]

เนื่องจากป้ายหยุดรถทั้ง 2 ยังมีการใช้งานอยู่ ตารางเวลาเดินรถป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซนี้อาจเกิดความสับสน จึงมีการอ้างอิงตามตำแหน่งของป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(ใหม่) ฝั่งสถานีรถไฟน้ำตกเป็นหลัก

เที่ยวไป

แก้

มีจำนวน 5 ขบวน หยุดสถานี 4 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง ถ้ำกระแซ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท485 ชุมทางหนองปลาดุก 06.08 07.37 น้ำตก 08.20
ธ257 ธนบุรี 07.45 11.53 น้ำตก 12.35
น909 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.30 ไม่จอดสถานนี้ น้ำตกไทรไยคน้อย 11.30 เฉพาะวันหยุดราชการ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้

มีจำนวน 4 ขบวน หยุดสถานี 3 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง ถ้ำกระแซ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ260 น้ำตก 05.20 05.56 ธนบุรี 09.50
ธ258 น้ำตก 12.55 13.26 ธนบุรี 17.40
ท486 น้ำตก 15.30 16.09 ชุมทางหนองปลาดุก 17.33
น910 น้ำตกไทรไยคน้อย 14.25 ไม่จอดสถานนี้ กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.25 เฉพาะวันหยุดราชการ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

แหล่งท่องเที่ยว

แก้

สะพานถ้ำกระแซ

แก้

เป็นสะพานทางรถไฟสร้างด้วยไม้ ถูกสร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขาลัดเลาะหน้าผาสูงชัน ขนานไปกับลำน้ำแควน้อยที่ต้องใช้เวลาสร้างด้วยความรวดเร็ว เพราะต้องใช้เส้นทางขนยุทโธปกรณ์ เสบียง และกำลังพลทหาร ไปเสริมกำลังฝั่งประเมศพม่าให้เสร็จโดยไว จึงทำให้จุดนี้เชลยศึกเสียชีวิตมากที่สุดของการสร้างทางรถไฟสายนี้ ประมาณ 1,000 กว่าคน เป็นสะพานข้ามเหวลึกที่ยาวที่สุดของสายนี้ ตัวสะพานใช้ไม้ในการก่อสร้าง

ปัจจุบันเป็นจุดท่องเที่ยวอันโด่งดังทั่วโลก ที่ชาวต่างชาติและคนไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่รู้จักกันในนาม ''สะพานรถไฟมรณะ''

ถ้ำกระแซ

แก้

ตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง

อ้างอิง

แก้
  1. ตารางเวลาเดินรถ เก็บถาวร 2020-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

14°06′19″N 99°09′56″E / 14.1051498°N 99.1656717°E / 14.1051498; 99.1656717