ปราการ ชลยุทธ
พลเอก ปราการ ชลยุทธ เป็นนายทหารชาวไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตรองเสนาธิการทหาร, และอดีตผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 อดีตกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ปราการ ชลยุทธ | |
---|---|
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | วลิต โรจนภักดี |
ถัดไป | วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2498 กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26 |
ชื่อเล่น | ตี๋ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองบัญชาการกองทัพไทย |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ.ปราการ เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า ตี๋ บรรดาสื่อมวลชนจึงมักจะเรียกท่านว่า บิ๊กตี๋
การศึกษา
แก้พล.อ.ปราการ จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจบการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับ พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้พล.อ.ปราการ ขณะมียศเป็น พลตรี เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 และได้ขึ้นเป็นกองทัพภาคที่ 4 แทน พล.ท. วลิต โรจนภักดี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ราชการพิเศษ
แก้พล.อ. ปราการ ชลยุทธ มีราชการพิเศษ ดังนี้
- ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
- อดีตกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[1]
- เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[2]
- ราชองครักษ์พิเศษ[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 6 เหรียญรามมาลา (ร.ม.)[7]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง หน้า ๑๗, ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๖๒ ง หน้า ๑๕, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารราชองครักษ์พิเศษ และนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ, เล้ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๙๒ ง หน้า ๑, ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๖๐, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒๔๗, ๒ กันยายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๙, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗