ประวัติศาสตร์เยอรมนี (ค.ศ. 1945–1990)

จากความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก และเยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามโดยการเสียดินแดนทางตะวันออกของประเทศให้แก่โปแลนด์และสหภาพโซเวียต ในช่วงท้ายของสงครามมีชาวเยอรมนีพลัดถิ่นถึง 8,000,000 คน[1] ส่วนใหญ่ถูกใช้แรงงานและเป็นนักโทษ มีประมาณ 400,000 คนรอบค่ายกักกันอันเข้มงวด[2] ที่รอดชีวิตจากประชาชนจำนวนมากที่เสียชีวิตจากความอดอยาก สภาวะอันโหดเหี้ยม ฆาตกรรม หรือการทำงานที่หนักเกินไปจนมีอันตรายถึงแก่ชีวิต กว่า 10 ล้านผู้ลี้ภัยที่พูดภาษาเยอรมันได้เข้ามาในเยอรมนีจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก[3] ส่วนชาวเยอรมัน 9,000,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก[4] และถูกใช้แรงงานเป็นเวลาหลายปีเพื่อให้ชดใช้ความเสียหายให้กับเยอรมนีที่แพ้สงคราม และอุปกรณ์อุตสาหกรรมบางชิ้นก็ถูกใช้เป็นค่าปฏิกรรมสงคราม

ความสัมพันธ์เยอรมนีตะวันตก – เยอรมนีตะวันออก
Map indicating location of เยอรมนีตะวันตก and เยอรมนีตะวันออก

เยอรมนีตะวันตก

เยอรมนีตะวันออก

ในช่วงสงครามเย็น เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรทางฝั่งตะวันตก และส่วนของสหภาพโซเวียตทางฝั่งตะวันออก ส่วนรัฐบาลเยอรมนีได้เสียงเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 เมื่อมีการก่อตั้งสองรัฐเกิดขึ้น ได้แก่

หลังจากได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกกลายเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมากที่สุดในยุโรป ภายใต้การนำของ คอนราด อเดเนาร์ นายกรัฐมนตรี และเยอรมนีตะวันตกก็สร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับฝรั่งเศส สหรัฐ และอิสราเอล นอกจากนี้เยอรมนีตะวันตกยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ภายหลังได้กลายเป็นสหภาพยุโรป) ขณะที่เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันออกหยุดนิ่ง เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสหภาพโซเวียต โดยมีสายลับคอยควบคุมอย่างแน่นหนาบริเวณกำแพงเบอร์ลินที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1961 ไม่ให้ผู้ลี้ภัยเดินทางไปยังเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีกลับมารวมชาติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1990 จากการยุบพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีที่ปกครองเยอรมนีตะวันออก

ส่วนของนาซีเยอรมนี แก้

4 ดินแดนที่ถูกยึดครอง แก้

ในการประชุมพ็อทซ์ดัม ในวันที่ 17 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากเยอรมนีประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945[6] ฝ่ายสัมพันธมิตรได้แบ่งดินแดนนาซีเยอรมนีออกเป็น 4 ส่วน มอบให้ 4 ประเทศไปปกครอง ได้แก่ฝรั่งเศส ปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักรปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ สหรัฐปกครองดินแดนตอนใต้ และสหภาพโซเวียต ปกครองภาคตะวันออก พวกเขามุ่งหน้าไปทางตะวันออกโดยใช้เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซ ที่พ็อทซ์ดัม 4 ดินแดนเหล่านี้เรียกอีกอย่างคือ "เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร" และประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรทั้ง 4 ประเทศใช้สิทธิจากอำนาจอธิปไตยที่พวกเขามีอยู่ในขณะนั้นอ้างว่าเยอรมนียอมรับในหลักการส่งดินแดนนาซีเยอรมนีบางส่วนรวมทั้งดินแดนทางตะวันออกให้กับโปแลนด์และสหภาพโซเวียตในอนาคต พื้นที่ภาคตะวันออกของเยอรมนีบางส่วนจึงอยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีถูกบังคับใช้ แต่ความจริงแล้วดินแดนพวกนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยของพวกเขาทันที

นอกจากนี้ ภายใต้ประกาศเบอร์ลินของฝ่ายสัมพันธมิตร ดินแดนที่เคยเป็นนาซีเยอรมนีเดิมก็จะถือว่าเป็นพื้นที่ภายในพรมแดนของแต่ละประเทศตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ทั้งนี้ การขยายดินแดนนาซีทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 - 1945 ถือเป็นการปฏิบัติที่ผิดของเยอรมนีโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การขยายตัวดังกล่าวประกอบด้วยสันนิบาตชาติที่ปกครองนครรัฐดันซิก

อ้างอิง แก้

  1. Stragart, Nikolaus (2015). The German War; a nation under arms, 1939-45. Bodley Head. p. 549.
  2. Wachsmann, Nikolaus (2015). KL; A History of the Nazi Concentration Camps. Little, Brown. p. 544.
  3. Stragart, Nicholas (2015). The German War; a nation under arms, 1939-45. Bodley Head. p. 549.
  4. Stragart, Nicholas (2015). The German War; a nation under arms, 1939-45. Bodley Head. p. 551.
  5. Knowles, Chris (29 January 2014). "Germany 1945-1949: a case study in post-conflict reconstruction". History & Policy. History & Policy. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.
  6. Beevor, Antony (2003) [2002]. Berlin: The Downfall 1945. Penguin Books. pp. 402 ff. ISBN 0-14-028696-9.