ผู้ลี้ภัย (อังกฤษ: refugee) หมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย[2]

ผู้ลี้ภัย ค.ศ. 2017[1]
ประชากรทั้งหมด
ป. 25.4 ล้านคน
(19.9 ล้านคน ภายใต้อาณัติของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และ 5.4 ล้านคนภายใต้อาณัติของ UNRWA)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
แอฟริกาใต้สะฮารา6.236 ล้านคน
ยุโรป และเอเชียเหนือ6.088 ล้านคน
เอเชียแปซิฟิก4.153 ล้านคน
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ2.653 ล้านคน
ทวีปอเมริกา484,261 คน
แผนที่แสดงต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงใน ค.ศ. 2007
แผนที่แสดงประเทศปลายทางของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 2007

เด็กและสตรีผู้ลี้ภัยเป็นผู้ลี้ภัยกลุ่มย่อยที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ระบบผู้ลี้ภัยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อประเทศเปิดพรมแดนให้ผู้คนหนีจากความความขัดแย้ง โดยเฉพาะประเทศพื้นบ้านใกล้กับต้นกำเนิดของความขัดแย้ง ระบบผู้ลี้ภัยนี้ได้ช่วยเหลือผู้คนมากมายแต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ ในหลายกรณีการหนีไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกระทำได้ยากยิ่ง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ประเทศต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยที่สำคํญได้แก่ อัฟกานิสถาน อิรัก เซียร์ราลีโอน พม่า โซมาเลีย เซาท์ซูดาน และปาเลสไตน์[3] ประเทศที่มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมากที่สุดคือเซาท์ซูดานโดยมีจำนวนกว่า 5 ล้านคน ใน ค.ศ. 2006 อาเซอร์ไบจานเป็นประเทศที่มีผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศถึง 800,000 คน ถือเป็นอัตราส่วนต่อประชากรที่มากที่สุด[4]

ทัศนคติของนานาชาติ แก้

วันผู้ลี้ภัยโลก แก้

วันผู้ลี้ภัยโลกตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน เกิดจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติใน ค.ศ. 2000 เดิมทีนั้นวันที่ 20 มิถุนายนเป็นวันผู้ลี้ภัยแอฟริกันซึ่งฉลองกันในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา

การซึมซับผู้ลี้ภัย แก้

ค่าย แก้

 
ค่ายผู้ลี้ภัยหนองเสม็ด ค.ศ. 1984

ค่ายผู้ลี้ภัยเป็นสถานที่ที่สร้างโดยรัฐบาลหรือเอ็นจีโอ (เช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ) เพื่อรับผู้ลี้ภัย ผู้คนสามารถเข้ามาพักอาศัยในค่าย รับอาหารและความช่วยเหลือทางการแพทย์ จนกว่าจะปลอดภัยที่จะกลับบ้านได้หรือจนกว่าจะมีผู้มารับตัวไป ในหลายกรณีแม้ว่าเวลาผ่านไปหลายปีก็ยังไม่ปลอดภัยที่จะกลับบ้านจนทำให้ต้องไปตั้งถิ่นฐานใหม่ใน "ประเทศที่สาม" ห่างไกลจากชายแดนที่ข้ามมา อย่างไรก็ดีโดยส่วนใหญ่ผุ้ลี้ภัยมักไม่ได้รับโอกาสในการตั้งถิ่นฐานใหม่และมีความเสี่ยงต่อโรคภัยและความรุนแรง มีประมาณการณ์ว่าทั่วโลกมีค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ราว 700 แห่ง[5]

การตั้งรกรากใหม่ แก้

ประเทศปลายทาง จำนวนการตั้งถิ่นฐานใหม่ใน ค.ศ. 2010[6]
  สหรัฐ 54,077
  แคนาดา 6,706
  ออสเตรเลีย 5,636
  สวีเดน 1,789
  นอร์เวย์ 1,088
  สหราชอาณาจักร 695
  ฟินแลนด์ 543
  นิวซีแลนด์ 535
  เยอรมนี 457
  เนเธอร์แลนด์ 430
อื่น ๆ 958
รวม 72,914

การตั้งรกรากใหม่เป็นการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ไม่อาจกลับบ้านได้ให้ไปสู่ประเทศที่สาม[7][8] ในอดีต UNHCR ให้ความเห็นว่าการตั้งรกรากใหม่เป็นทางเลือกที่แย่ที่สุดในบรรดาทางออกที่พอเป็นไปได้ของปัญหาผู้ลี้ภัย[9] อย่างในก็ดีในเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 ได้มีการเปลี่ยนท่าทีดังกล่าวและเห็นว่าในหลายกรณี การตั้งรกรากใหม่เป็นทางเลือกเดียวที่เป็นไปได้[9]

การตั้งรกรากใหม่เป็นกระบวนการอันยากยิ่งเพราะผู้ลี้ภัยจะต้องประสบกับปัญหาหลายประการทั้งทางวัตถุและจิตใจ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ลี้ภัยมาจากประเทศด้อยพัฒนา การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศพัฒนาแล้วจะต้องปรับตัวและพบกับความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงหลายประการและอาจพบกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ ทำให้กระบวนการตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า[10]

อย่างไรก็ตาม UNHCR ก็เล็งเห็นถึงประโยชน์แห่งการตั้งถิ่นฐานใหม่ ถึงกับกล่าวว่า “ทั้งการตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้ลี้ภัยและการอพยพย้ายถิ่นต่างได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของหลายประเทศอุตสาหกรรม”[10] UNHCR เห็นว่าการตั้งถิ่นฐานใหม่ทำหน้าที่สามประการ คือ[11]

  1. ธำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน เช่น “ชีวิต, เสรีภาพ, ความปลอดภัย, สุขภาพ” สำหรับผู้ลี้ภัยซึ่งมีความเสี่ยงในค่าย
  2. เป็นทางออกระยะยาวสำหรับปัญหาผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยจำนวนมาก
  3. ช่วยบรรเทาภาระของประเทศที่ตั้งค่ายรับผู้คนเหล่านั้น ประเทศเหล่านี้มักเป็นประเทศที่ยากจนและไม่อาจรับมือผู้ลี้ภัยจำนวนมากได้[10]

ถึงกระนั้น มีเพียง 1% ของผู้ลี้ภัยกว่า 10.5 ล้านคนที่ UNHCR ดูแลถูกส่งไปตั้งรกรากใหม่ ใน ค.ศ. 2010 มีผู้ลี้ภัยราว 108,000 คนถูกพิจารณาเพื่อการตั้งถิ่นฐานใหม่โดยมีประเทศต้นกำเนิดคือ อิรัก พม่า และภูฏาน[12]

ใน ค.ศ. 2008 UNHCR ส่งเรื่องการตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ประเทศที่สามพิจารณาถึง 121,000 คน เป็นจำนวนมากที่สุดในรอบ 15 ปี ในขณะที่ปีก่อนหน้ามีผู้ลี้ภัยส่งให้พิจารณาเพียง 98,999 คน โดย 33,512 คนมาจากอิรัก 30,388 คนมาจากพม่า และ 23,516 คนจากภูฏาน [8]

สำหรับจำนวนของการออกเดินทางจริง ใน ค.ศ. 2008 มีผู้ลี้ภัย 65,548 คนได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ใน 26 ประเทศ เพิ่มจาก 49,868 คนในปีก่อนหน้า[8] โดยยอดของการออกเดินทางมากที่สุดได้แก่ ไทย (16,807 คน) เนปาล (8,165 คน) ซีเรีย (7,153 คน) จอร์แดน (6,704 คน) และมาเลเซีย (5,865 คน)[8] ประเทศเหล่านี้หมายถึงประเทศที่ผู้ลี้ภัยเดินทางออกไปสู่ประเทศที่สาม มิใช่ประเทศต้นกำเนิด

สำหรับขนาดของการรับผู้ลี้ภัยในประเทศที่สามแตกต่างกันไปดังแสดงในตาราง ระหว่าง ค.ศ. 1981 เมื่อญี่ปุ่นให้สัตยาบันใน U.N. Convention Relating to the Status of Refugees ถึง ค.ศ. 2002 ญี่ปุ่นรับรองบุคคลเพียง 305 คนเป็นผู้ลี้ภัย[13] และใน ค.ศ. 2006 ญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัย 26 คนให้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศ[14]

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และร่วมสมัยเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย แก้

เหตุการณ์ในเอเชีย แก้

อัฟกานิสถาน แก้

 
ผู้ลี้ภัยขาวอัฟกันในฝรั่งเศส พ.ศ. 2553

นับแต่ การรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2522 จนกระทั่งสงครามอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2544 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันประมาณ 6 ล้านคนที่เข้าไปสู่ปากีสถานและอิหร่าน ทำให้อัฟกานิสถานเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุด ต้นปี พ.ศ. 2545 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันมากกว่า 5 ล้านคนถูกส่งกลับถิ่นเดิมโดย UNHCR ทั้งจากอิหร่านและปากีสถาน [15] ประมาณ 3.5 ล้านคนมาจากปากีสถาน[16] ในขณะที่ 1.5 ล้านคนมาจากอิหร่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 รัฐบาลอิหร่านได้ผลักดันผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ไม่ลงทะเบียนออกนอกประเทศอย่างจริงจัง โดยใน พ.ศ. 2551 มีผู้ถูกผลักดันกลับไป 362,000 คน[17]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนราว 1.7 ล้านคนยังคงอยู่ในอัฟกานิสถาน ซึ่งรวมทั้งผู้ที่เกิดในอัฟกานิสถานในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาซึ่งยังถูกนับเป็นประชากรของอัฟกานิสถาน พวกเขายังได้รับอนุญาตให้ทำงานและเรียนหนังสือได้จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555[18] มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ลงทะเบียน 935,600 คนในอิหร่านรวมทั้งผู้ที่เกิดในอิหร่านด้วย [19]

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา แก้

มีชาวมุสลิมโรฮีนจาอยู่ในบังกลาเทศมากกว่า 250,000 คน ซึ่งมาจากภาคตะวันตกของพม่า ในช่วง พ.ศ. 2534 - 2535 บางส่วนอยู่มานานเกือบยี่สิบปี บังกลาเทศแบ่งชาวโรฮีนจาเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการและกลุ่มที่อยู่อย่างไม่เป็นทางการทั่วบังกลาเทศ มีชาวโรฮีนจา 30,000 คนอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่นายาประและกุตุปาลงในบังกลาเทศ ซึ่งภายในค่ายมีบริการพื้นฐานที่ภายนอกไม่มี เมื่อไม่มีความเปลี่ยนแปลงในพม่า ทำให้บังกลาเทศมีแนวโน้มต้องดูแลชาวโรฮีนจาในระยะยาว และต้องการความช่วยเหลือจากนานาชาติในการดูแลคนเหล่านี้

การกวาดล้างชนกลุ่มน้อยมุสลิมในรัฐยะไข่อย่างโหดร้ายโดยกองทัพพม่าเมื่อ พ.ศ. 2534 - 2535 ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ และบางส่วนถูกผลักดันให้กลับสู่พม่า แต่ก็มีการปฏิเสธสัญชาติของชาวโรฮีนจาที่กลับสู่พม่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ทำให้บางส่วนต้องกลับสู่บังกลาเทศอีก ในรัฐยะไข่ มีการนำชาวพม่าที่นับถิอพุทธศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน มัสยิดถูกปิด ตั้งแต่ พ.ศ. 2549[20][21][22]

นอกจากนั้นยังมีชาวโรฮีนจาในปากีสถานเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ไปโดยเดินทางผ่านบังกลาเทศและอินเดียและเข้าไปตั้งหลักแหล่งในการาจี

สงครามเวียดนามและผู้ลี้ภัยในอินโดจีน แก้

 
มนุษย์เรือชาวเวียดนาม พ.ศ. 2527

หลังจากการรวมเวียดนามโดยเวียดนามเหนือยึดครองเวียดนามใต้สำเร็จ รวมทั้งการที่ฝ่ายซ้ายในลาวและกัมพูชายึดอำนาจสำเร็จ ใน พ.ศ. 2518 มีประชาชนราว 3 ล้านคนได้ลี้ภัยออกมา การอพยพโดยทางเรือหรือมนุษย์เรือกลายเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ UNHCR ได้จัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน และใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 80 ล้านเหรียญสหรัฐใน พ.ศ. 2518 เป็น 500 ล้านเหรียญสหรัฐใน พ.ศ. 2523 การทำงานในอินโดจีนนี้ทำให้ UNHCR ได้รับรางวัลโนเบลใน พ.ศ. 2524

  • ผู้อพยพชาวเวียดนามเพิ่มขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2518 หลังจากที่เวียดนามใต้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพประชาชนเวียดนาม ส่วนใหญ่อพยพโดยทางเรือ ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามส่วนใหญ่อพยพไปยังฮ่องกง ฝรั่งเศส สหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 มีผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม 1.4 ล้านคนออกจากเวียดนามและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปอยู่ยังสหรัฐอเมริกา[23]
  • ผู้ที่รอดตายจากการปกครองของเขมรแดงในกัมพูชา ได้อพยพออกมายังประเทศไทยหลังจากการการรุกรานของเวียดนามใน พ.ศ. 2521 - 2522 ผู้ลี้ภัยประมาณ 300,000 คน ได้ออกไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2535 หลังจากนั้นได้ปิดค่ายและบังคับให้คนที่เหลืออพยพกลับ
  • ชาวลาวประมาณ 400,000 คนอพยพมายังประเทศไทยหลังจากสงครามเวียดนามและฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัยชนะใน พ.ศ. 2518 บางส่วนอพยพออกมาเพราะปัญหาทางด้านศาสนาและชนกลุ่มน้อย ส่วนใหญ่อพยพออกมาระหว่าง พ.ศ. 2519 - 2528 และอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทย ส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐ แคนาดา ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
  • ชาวม้งหรือชาวเย้า ที่อยู่ในภาคเหนือของเวียดนาม ภาคเหนือของลาว และภาคเหนือของไทย ใน พ.ศ. 2518 กองทัพของขบวนการปะเทดลาวได้รบชนะกองทัพของชาวม้งที่มีสหรัฐหนุนหลังในสงครามกลางเมืองลาว ทำให้ชาวม้งที่สหรัฐสนับสนุนต้องลี้ภัยไปยังสหรัฐและได้รับสัญชาติอเมริกัน แต่ยังมีชาวม้งอีกจำนวนมากที่ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทย [24]

ชาวกะเหรี่ยง แก้

ผลจากการปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยง กะเรนนีและอื่นๆในพม่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าตามแนวชายแดนไทยประมาณ 100,000 คน

เทือกเขาหิมาลัย แก้

 
ชาวภูฏานที่เกิดในเนปาลที่ลี้ภัยมาสู่เนปาลในต้นปี พ.ศ. 2530

หลังจากที่จีนยึดครองทิเบตเมื่อ พ.ศ. 2502 มีชาวทิเบตมากกว่า 150,000 คนที่อพยพมาอยู่อินเดีย ส่วนใหญ่อยู่ที่ ธรรมศาลา และ ไมซอร์และเนปาล ซึ่งรวมประชาชนที่ออกจากเทือกเขาหิมาลัยจากทิเบต ในอินเดีย ชาวทิเบตที่อยู่ในอินเดียได้รับการรับรองจากรัฐบาลอินเดีย โดยระบุสัญชาติเป็นชาวทิเบต ชาวทิเบตจะได้หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น

ใน พ.ศ. 2534 - 2535 ภูฏานได้ขับชนกลุ่มน้อยชาวเนปาลที่เรียกลตชัมปาประมาณ 100,000 คน จากทางภาคใต้ของประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยของ UNHCR ในภาคตะวันออกของเนปาล] บางส่วนอยู่ในอินเดีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 บางส่วนไปอยู่ในประเทศที่สาม เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา นอร์เวย์ และออสเตรเลีย ในปัจจุบัน สหรัฐได้ยอมให้ผู้ลี้ภัยมากกว่า 60,000 คนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน [25]

ในขณะเดียวกันมีชาวเนปาลประมาณ 200,000 คน ที่อพยพระหว่าง การสู้รบของพรรคคอมมิวนิสต์ และ สงครามการเมืองเนปาลที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2539

มีชาวปากีสถานมากกว่า 3 ล้านคนที่อพยพระหว่าง สงครามในปากีสถานเหนือ-ตะวันตก (พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน) ระหว่างรัฐบาลปากีสถานและฏอลีบัน[26]

ชัมมูและกัษมีระ แก้

มีชาวกัษมีระประมาณ 300,000 คนถูกบังคับให้อพยพออกจากรัฐชัมมูและกัษมีระ ทำให้ต้องเป็นผู้อพยพในประเทศของตนเอง [27] บางส่วนเป็นผู้อพยพในรัฐใกล้เคียง เช่น เดลฮี หรือประเทศใกล้เคียง จำนวนผู้อพยพใกล้เคียง 500,000คน[28]

ศรีลังกา แก้

สงครามกลางเมืองในประเทศศรีลังกา จาก พ.ศ. 2526 - 2552 ทำให้มีผู้อพยพจำนวนมาก ชาวศรีลังกาอพยพไปประเทศเพื่อนบ้านคืออินเดีย และประเทศตะวันตกได้แก่ แคนาดา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สหราชอาณาจักรและ เยอรมันมีผู้อพยพบางส่วนไปยังมาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย ก่อนจะอพยพต่อไปยังออสเตรเลียหรือแคนาดา

อ้างอิง แก้

  1. "Populations | Global Focus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-15.
  2. "refugee, n." Oxford English Dictionary Online. November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  3. Matt Rosenberg (2010-05-05). "Refugees - The Global Refugee and Internally Displaced Persons Situtation". About.com Guide. สืบค้นเมื่อ 2012-03-10.
  4. Education in Azerbaijan. UNICEF.
  5. http://www.unhcr.org/cgi-bin/texis/vtx/home
  6. http://www.unhcr.org/cgi-bin/texis/vtx/home/opendocPDF.pdf?docid=4f0fff0d9#xml=http://www.unhcr.org/cgi-bin/texis/vtx/search/pdfhi.txt?ID=4f0fff0d9&query=resettlement p.64
  7. "What is resettlement? A new challenge". UNHCR. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Resettlement: A new beginning in a third country". UNHCR. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  9. 9.0 9.1 "Understanding Resettlement to the UK: A Guide to the Gateway Protection Programme". Refugee Council on behalf of the Resettlement Inter-Agency Partnership. June 2004. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  10. 10.0 10.1 10.2 UNHCR, Refugee Resettlement. An International Handbook to Guide Reception and Integration, http://www.unhcr.org/refworld/pdfid/405189284.pdf, 22-23.
  11. UNHCR, “Introducing Resettlement,” http://www.unhcr.org/3d4653c84.pdf, 3.
  12. The UN Refugee Agency, “Resettlement,” http://www.unhcr.org/pages/4a16b1676.html.
  13. "Written statement submitted by Japan Fellowship of Reconciliation". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights.
  14. "Refugees in Japan". The Japan Times Online. October 12, 2008
  15. Pajhwok Afghan News (PAN), UNHCR hails Pakistan as an important partner (Nov. 3, 2007) เก็บถาวร 2008-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. 2010 UNHCR country operations profile - Pakistan
  17. "Afghanistan denies laxity in visa rules". Fars News Agency. 2009-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  18. UNHCR and Pakistan sign new agreement on stay of Afghan refugees, March 13, 2009.
  19. 2010 UNHCR country operations profile - Islamic Republic of Iran
  20. "Luck of the Draw: Rohingya Refugees in Bangladesh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
  21. Human Rights Watch : Rohingya Refugees from Burma Mistreated in Bangladesh
  22. Web site of Arakan Rohingya National Organisation
  23. "Refugee Resettlement in Metropolitan America". Migration Information Source.
  24. "Nationmultimedia.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
  25. Bhaumik, Subir (November 7, 2007). "Bhutan refugees are 'intimidated'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25.
  26. 3.4 million displaced by Pakistan fighting. United Press International. May 30, 2009.
  27. [1]
  28. India เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The World Factbook. Retrieved 20 May 2006.