บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก

(เปลี่ยนทางจาก บุดดะ)

บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก[a] (ญี่ปุ่น: ブッダโรมาจิBuddaทับศัพท์: บุดดะ; แปลว่า "พุทธะ") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น วาดโดยเทซูกะ โอซามุ ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเดียวของเขาที่สร้างขึ้นเพื่อตีความพุทธประวัติของพระสิทธัตถะโคดมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ ข้อวิจารณ์ที่มังงะเรื่องนี้ได้รับบ่อยครั้งเป็นเรื่องของความกล้าของผู้ประพันธ์ในการตีความพุทธประวัติใหม่ให้แตกต่างจากที่บันทึกไว้ในวงการศาสนา

บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก
ปกของมังงะ "บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก" ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 5
ブッダ
(Budda)
แนวอิงประวัติศาสตร์[1]
มังงะ
เขียนโดยโอซามุ เทซูกะ
สำนักพิมพ์อูชิโอะ ชุปปัง
นิตยสารคิโบ โนะ โทโมะ - คอมิกทอม
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2515ธันวาคม พ.ศ. 2526
จำนวนเล่ม14 (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
8 (ฉบับนานาชาติ)
ภาพยนตร์อนิเมะ
กำกับโดยโคโซะ โมริชิตะ
อำนวยการโดยมาโกโตะ เทซูกะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
ดนตรีโดยมิจิรุ โอชิมะ
สตูดิโอเทซูกะโปรดักชัน (อำนวยการผลิต)
โทเอแอนิเมชัน (แอนิเมชัน)
ฉาย28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ความยาว110 นาที
ภาพยนตร์อนิเมะ
บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก 2
กำกับโดยโทชิอากิ โคมูระ
อำนวยการโดยมาโกโตะ เทซูกะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
ดนตรีโดยมิจิรุ โอชิมะ
สตูดิโอเทซูกะโปรดักชันส์(อำนวยการผลิต)
โทเอแอนิเมชัน(แอนิเมชัน)
ฉาย8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ความยาว90 นาที

มังงะเรื่องนี้ได้รับรางวัลบุงเงชุนจู มังงะ อวอร์ด (ญี่ปุ่น: 文藝春秋漫画賞โรมาจิBungeishunjū Manga Shō; "Bungeishunjū Manga Award") ในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) และรางวัลไอส์เนอร์อวอร์ด (Eisner Award) ในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) และ ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)

ปัจจุบันมังงะเรื่องนี้ยังไม่มีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ในประเทศไทย

ภาพรวม แก้

มังงะชุด "บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก" ของเทะซึกะ โอซะมุ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 14 เล่ม ปัจจุบันได้แปลออกเป็นภาษาอังกฤษทุกตอนแล้ว โดยจัดแบ่งเนื้อหาใหม่เป็น 8 เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มจะมีการตั้งชื่อเฉพาะกำกับด้วย ดังรายชื่อต่อไปนี้

  1. Kapilavastu (กบิลพัสดุ์)
  2. The Four Encounters (เทวทูตทั้งสี่)
  3. Devadatta (เทวทัต)
  4. The Forest of Uruvela (ป่าอุรุเวลา)
  5. Deer Park (มฤคทายวัน - ป่าสวนกวาง)
  6. Ananda (อานนท์)
  7. Ajatasattu (อชาตศัตรู)
  8. Jetavana (เชตวัน - สวนเจ้าเชต)

โครงเรื่อง แก้

ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ผู้คนจำนวนมากต้องทนทุกข์เวทนาจากภัยแล้ง ความอดอยาก ภัยสงคราม และความอยุติธรรมในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ หลายชีวิตที่ร้อยเรียงเข้าด้วยกันจากจิตอันเป็นทุกข์ ได้ถูกชักจูงให้มาพบกันด้วยการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เดินทางสู่แสวงหาทางจิตวิญญาณจนสามารถตรัสรู้เป็น "พุทธะ" หรือ "ผู้รู้แจ้ง" และได้เพียรนำมาซึ่งการฟื้นฟูจิตใจของมหาชนในท่ามกลางยุคสมัยแห่งความสิ้นหวัง

ตัวละคร แก้

หมายเหตุ: ชื่อตัวละครที่เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ในที่นี้จะเขียนตามรูปคำที่ใช้ทั่วไปในภาษาไทย ส่วนตัวละครอื่นที่มีการแต่งเสริมเพิ่มเติมในเรื่อง จะคงรูปอักษรโรมันกำกับไว้ด้วย

สิทธัตถะ โคตมะ (พระศากยมุนีพุทธเจ้า)
ตัวละครผู้เป็นแกนหลักของมังงะชุดนี้ มีชาติกำเนิดเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ผู้สูญเสียพระมารดาไปหลังการประสูติของพระองค์ไม่นาน พระองค์ได้เจริญวัยขึ้นมาพร้อมกับความเบื่อหน่ายในชีวิตอันทรงอภิสิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าชาย และได้ตัดสินพระทัยออกจากพระราชวังและออกบวชเป็นสมณะ พากเพียรพยายามฝ่าฟันอุปสรรคและบำเพ็ญเพียรต่างๆ อย่างยิ่งยวดจนกระทั่งบรรลุถึงการตรัสรู้ที่ป่าอุรุเวลา และได้ชื่อว่า "พุทธะ" (ผู้รู้แจ้ง) นับแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นพระองค์จึงออกเดินทางประกาศศาสนาแก่คนทั้งหลายตราบจนดับขันธ์ปรินิพพาน

สมณะและพุทธสาวก แก้

เทวทัต
หนึ่งในสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า ชาติกำเนิดเป็นบุตรของพันทกะแห่งโกลิยวงศ์ และเป็นพี่ชายต่างบิดาของอานนท์ ชะตากรรมที่เลวร้ายในวัยเด็กจากการถูกข่มเหงรังแกและต้องพลัดพรากจากครอบครัวส่งผลให้เขามีนิสัยเห็นแก่ตนเองและมีความทะเยอทะยานอย่างไม่สิ้นสุด เมื่อโตขึ้นเขาได้เดินทางสู่อาณาจักรมคธ และรับราชการเป็น 1 ในเสนาบดีของราชสำนักมคธ จนกระทั่งได้เป็นที่ปรึกษาคนสนิทของเจ้าชายอชาตศัตรู ต่อมาเทวทัตได้รู้จักกับพระพุทธเจ้าผ่านทางตัตตะ ผู้ซึ่งเขาได้ชักนำให้เป็นยอดขุนพลของอาณาจักร และได้โกนศีรษะออกบวชเป็นสมณะในสำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าไม่มอบอำนาจการปกครองสงฆ์แก่เทวทัต เขาจึงพยายามทุกอย่างเพื่อช่วงชิงสาวกมาจากพระพุทธเจ้า จงถึงกับวางแผนการสังหารพระพุทธเจ้าแต่ล้มเหลว ภายหลังเขาได้เสียชีวิตเพราะถูกยาพิษโดยอุบัติเหตุ ซึ่งก่อนที่จะหมดลมหายใจนั้น เขาได้เป็นเผยสาเหตุที่เกลียดชังพระพุทธเจ้าว่า เขาอยากจะเป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าเป็นแต่ไม่ว่าอย่างไรเขาก็ไม่อาจจะทำให้สำเร็จได้เลย
อานนท์
น้องชายต่างบิดาของเทวทัต เมื่อแรกเกิดไม่นานนั้นพ่อของเขาได้เสียชีวิตระหว่างการหลบหนีจากการกวาดล้างชาวศากยะโดยอาณาจักรโกศล แต่อานนท์มีชีวิตอยู่ต่อมาด้วยความคุ้มครองของมาร ผู้ซึ่งต้องการให้อานนท์เป็นผู้ลงมือสังหารพระพุทธเจ้าเพราะมารนั้นมิอาจเอาชนะพระพุทธเจ้าเองได้ เมื่อแม่ของอานนท์ถูกกองทัพโกศลฆ่าตาย เขาจึงเกิดความชิงชังมนุษย์ และใช้ชีวิตด้วยการเป็นโจรและฆ่าคนเพื่อเป็นการล้างแค้นมาตลอด กระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าได้ช่วยชีวิตอานนท์ไว้ในคราวเผชิญหน้ากับอุรุเวละกัสสปะ เขาจึงออกติดตามพระพุทธเจ้าและกลายเป็นอุปัฎฐากคนสนิทของพระองค์ แม้ว่าหลังจากนั้นเขาจะต้องเผชิญกับภาพหลอนของคนที่ตนเองเคยสังหารตามรังควานอยู่ตลอดก็ตาม
อุรุเวละกัสสปะ
สารีบุตร
โมคคัลลานะ
ตัตตะ (Tatta)
หนึ่งในตัวละครในจินตนาการที่ถูกเสริมเข้ามาในเรื่องนี้ พื้นเพเดิมเป็นโจรในวรรณะจัณฑาล ซึ่งมีสถานะต่ำยิ่งกว่าวรรณะศูทร ในวัยเด็กนั้นเขาอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมาก และมีความสามารถในการยึดครองร่างของสัตว์ป่า แม่และน้องสาวของตัตตะถูกกองทัพโกศลฆ่าตายหลังจากที่เขาได้เป็นเพื่อนกับชาปราไม่นาน ต่อมาเมื่อชาปราและแม่ถูกทหารอาณาจักรโกศลประหารชีวิต เขาจึงสาบานว่าจะล้างแค้นต่ออาณาจักรโกศลให้ได้ เมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ก็ได้เป็นหัวหน้าของโจรทั้งหลายในภูเขา และพยายามผูกสัมพันธ์กับเจ้าชายสิทธัตถะเพื่อปูทางไปสู่การล้างแค้นอาณาจักรโกศล ภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เขาจึงได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโดยปฏิเสธที่จะบวชเป็นภิกษุเพราะเขาไม่ต้องการที่จะโกนศีรษะ แต่ว่าความแค้นที่เขามีต่ออาณาจักรโกศลนั้นยังคงฝังแน่นในใจ แม้พระพุทธเจ้าจะพยายามสั่งสอนให้เขารู้จักการให้อภัยก็หาสำเร็จไม่ ในบั้นปลายตัตตะได้เข้าร่วมกับกองทัพศากยวงศ์ซึ่งต้องการจะแก้แค้นต่อการฆ่าล้างโคตรชาวศากยะโดยพระเจ้าวิฑูฑภะแห่งโกศล และเสียชีวิตระหว่างการเผชิญหน้าต่อกองทัพแคว้นโกศล
เธพะ (Dhepa)
สมณะผู้ออกเดินทางแสวงหาโมกขธรรมร่วมกับเจ้าชายสิทธัตถะในระยะหนึ่งก่อนที่จะแยกทางกันในภายหลัง เนื่องจากเจ้าชายสิทธัตถะไม่พอใจแนวทางปฏิบัติของเธพะ ภายหลังเธพะได้กลายเป็นศิษย์แห่งพระพุทธเจ้า

อาณาจักรมคธ แก้

พิมพิสาร
เจ้าผู้ปกครองอาณาจักรมคธ ผู้ซึ่งอัสสชิได้ทำนายว่าจะถูกโอรสของตนเองสังหาร คำทำนายดังกล่าวได้ทรมานพระเจ้าพิมพิสารไว้ตลอดชีวิต ภายหลังเจ้าชายอชาตศัตรูผู้ถูกพระเทวทัตล่อลวงได้ยึดบัลลังก์ของพระเจ้าพิมพิสาร และจับพระองค์กับขังไว้ในหอสูงเดียวกับที่พระองค์เคยจองจำอชาตศัตรูไว้ในฐานพยายามฆ่าพระพุทธเจ้า และที่นั้นเอง พระเจ้าพิมพิสารก็ได้จบชีวิตลงจากการถูกอดอาหาร
อชาตศัตรู
พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร รัชทายาทแห่งแคว้นมคธ ผู้ซึ่งถูกทำนายว่าจะลอบปลงพระชมน์พระราชบิดา ทรงไม่พอพระทัยในพระพุทธเจ้าจึงได้ลอบยิงธนูใส่ทำให้พระเจ้าพิมพิสารเกี้ยวลงโทษด้วยการจับขังไว้ในหอคอย ต่อมาถูกพระเทวทัตล่อลวงได้ยึดบัลลังก์ของพระเจ้าพิมพิสาร และจับขังไว้ในหอสูงเดียวกับที่พระองค์เคยจองจำ ต่อมาเกิดสำนึกผิดแต่แก้ไขอะไรไม่ได้เลยแต่ได้ไปขอขมาและนับถือต่อพระพุทธเจ้าโดยมีชีวิกแพทย์หลวงเป็นผู้ชักนำ ต่อมาในภายหลังพระองค์ทรงถูกพระโอรสลอบปลงพระชนม์เหมือนที่พระองค์ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
ชีวก
แพทย์หลวงและรัฐบุรุษในราชสำนักมคธ

อาณาจักรโกศล แก้

ปเสนทิ
เจ้าผู้ปกครองอาณาจักรโกศล พระองค์ได้เสกสมรสกับหญิงในวรรณะศูทรจากกรุงกบิลพัสดุ์ผู้หนึ่ง ซึ่งทางฝ่ายศากยวงศ์มอบให้โดยลวงว่าเป็นหญิงในวรรณะกษัตริย์ หลังจากพระองค์ทราบได้ความจริงจึงได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระองค์คัดค้านเจ้าชายวิทูฑภะผู้เป็นพระโอรสในการปลดปล่อยเมืองกบิลพัสดุ์ วิทูฑภะจึงจับพระองค์จองจำเสียโดยกล่าวอ้างว่าพระองค์เสียจริต ไม่สมควรแก่การปกครองบ้านเมือง ในที่คุมขังนั้น พระเจ้าปเสนทิค่อยๆ ทรุดโทรมลงทั้งทางกายและทางใจจนกระทั่งพระพุทธเจ้าได้โน้มน้าวใจวิทูฑภะให้ปล่อยพระบิดาของตนออกมาได้ หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นชีวิตอย่างน่าเวทนา
วิฑูฑภะ
โอรสของพระเจ้าปเสนทิ หลังได้รับรู้ความจริงเรื่องชาติกำเนิดของมารดาตน พระองค์ได้ขับไล่พระมารดาของตนให้ไปอยู่กับกลุ่มทาสและภายหลังได้สั่งให้ฆ่าเธอเสียเมื่อเกิดโรคระบาดในหมู่ทาสขึ้น และด้วยการหลอกลวงผู้เป็นพระบิดา วิฑูฑภะได้เริ่มทำการกวาดล้างโคตรวงศ์ของพระศากยมุนีพุทธเจ้า จนกระทั่งได้หยุดมือลงเมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดงให้วิฑูฑภะเห็นว่า สิ่งที่พระองค์ได้ทำลงไปมีแต่จะคอยตอกย้ำความรู้สึกเลวร้ายที่พระองค์เองเท่านั้น ในบางครั้งพระองค์ถูกเรียกว่า วิทูรย์ราชกุมาร (Prince Crystal) เนื่องจากพระองค์ได้ใช้แก้วไพทูรย์มาตกแต่งศิราภรณ์ของพระองค์เอง
เชตะ
เจ้าชายผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ยกสวนของตนเองเป็นอารามในพุทธศาสนา อันได้ชื่อต่อมาว่า "เชตวนาราม"
ชาปรา (Chapra)
ตัวละครในจินตนาการที่ถูกเสริมเข้ามาในมังงะเรื่องนี้ ชาติกำเนิดเดิมของเขาเป็นทาสในวรรณะศูทรผู้ตัดสินใจจะสร้างชีวิตที่ดีกว่าเดิมให้แก่ตนเอง ชาปราได้ช่วยชีวิตแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงแห่งอาณาจักรโกศลไว้และได้รับการเลี้ยงดูเป็นบุตรบุตรธรรมเพราะเข้าใจว่าเขาเป็นเด็กกำพร้าในวรรณะกษัตริย์ เมื่อเจริญวัยขึ้น ชาติกำเนิดของชาปราได้ถูกเปิดเผยจากการปรากฏตัวของแม่ที่แท้จริงของชาปรา และนำมาซึ่งความขัดแย้งในชีวิตของเขา ชาปราตัดสินใจพาแม่ของตนหลบหนีไปด้วยกันหลังจากสถานะที่แท้จริงของพวกเขาถูกเปิดเผย และถูกทหารของอาณาจักรโกศลสังหารในบั้นปลาย

กรุงกบิลพัสดุ์ แก้

สุทโธทนะ
กษัตริย์แห่งแคว้นสักกะ พระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังการประสูติพระโอรส พระองค์ได้ฟังคำทำนายว่าพระโอรสของพระองค์จะออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทำทุกวิถีทางเพื่อต้องการให้พระราชโอรสของพระองค์ครองราชบังลังก์ให้ได้
มายา
พระมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ สิ้นชีวิตหลังประสูติเจ้าชายสิทธัตถะไม่นานนัก
ปชาบดี
พระขนิษฐาของมายา หลังจากพระเชษฐินีสิ้นพระชนม์ก๋ได้อภิเษกกับสุทโธทนะ ทรงรักเจ้าชายสิทธัตถะเทียบเท่าพระโอรสของตน
ยโสธรา
เจ้าหญิงผู้เลอโฉมซึ่งตกหลุมรักในเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะได้เสกสมรสด้วยกับนางอย่างไม่เต็มใจนัก ทั้งสองมีโอรสองค์หนึ่งคือราหุล เจ้าชายสิทธัตถะได้ลาจากพระนางไปในวันที่ราหุลประสูตินั้นเอง
ราหุล
พระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ และยโสธรา ทรงถูกพระราชบิดาทอดทิ้งไปออกผนวชตั้งแต่ทรงประสูติ ต่อมาในภายหลังได้เข้ามาบวชเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศานา
พันทกะ (Bandaka)
นายขมังธนูผู้ทะเยอทยานในวรรณะกษัตริย์แห่งโกลิยวงศ์ เขาหลงรักในเจ้าหญิงยโสธราและได้สู้กับเจ้าชายสิทธัตถะเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการเสกสมรสเจ้าหญิงยโสธรา หลังเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช เขาได้โน้มน้าวให้พระเจ้าสุทโธทนะแต่งตั้งให้เขาเป็นรัชทายาทแห่งศากยวงศ์ แต่ก็ยังคงล้มเหลวในการเอาชนะใจเจ้าหญิงยโสธรา เขาจึงไปแต่งงานกับหญิงท้วมผู้สูงศักดิ์นางหนึ่ง ภายหลังได้เสียชีวิตในการรบกับกองทัพผู้รุกรานจากอาณาจักรโกศล

ตัวละครอื่นๆ แก้

พรหมัน (Brahman)
จิตวิญญาณสูงสุดในสากลจักรวาล มักปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าชายสิทธัตถะบ่อยครั้งในรูปลักษณ์ชายชราผู้มีร่างกายเหี่ยวย่น และได้ชี้ให้เจ้าชายได้เห็นหนทางที่ทำให้เกิดทุกข์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ ดวงจิตนี้จึงได้ขนานนามพระองค์ว่า "พุทธะ" ต่อมาหลังการละสังขารของพระพุทธเจ้า พรหมันได้นำทางพระพุทธเจ้าเป็นการส่วนตัวไปสู่โลกหลังความตาย ซึ่งเป็นที่ๆ พรหมันสัญญาว่าจะเปิดเผยสิ่งที่รออยู่แก่ผู้สามารถข้ามพ้นความตายมาได้
อสิตะ
หัวหน้าคณะนักสิทธิ์ ผู้พยากรณ์ว่าจักมีมหาบุรุษลงมาเกิดในโลก และจะได้เป็นมหาศาสดาหรือมหาจักรพรรดิราชในทางใดทางหนึ่ง และจักเป็นผู้ช่วยโลกให้พ้นจากความทุกข์ เขาได้พบกับเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติและมอบพรจากพระอินทร์และพระพรหมแก่ราชกุมารองค์นั้น และเป็นอาจารย์ของนรทัตตะ ผู้ซึ่งต่อมาเขาได้สาปให้ใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์ป่าเป็นเวลายาวนานหลายปี
นรทัตตะ (Naradatta)
นักบวชผู้เป็นศิษย์ของอสิตะ ซึ่งถูกส่งให้ไปสืบข่าวการอุบัติของมหาบุรุษในช่วงต้นเรื่อง และถูกสาปให้ใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์ จากการที่ได้ทำลายชีวิตสัตว์หลายชีวิตเพื่อช่วยมนุษย์เพียงคนเดียว ต่อมาได้เป็นผู้สั่งสอนของเทวทัตในวัยเยาว์ ในบั้นปลายเขาได้คืนสติกลับเป็นมนุษย์และได้รับการอภัยในบาปที่ตนก่อก่อนที่จะสิ้นใจ
มิคาอิลา (Migaila)
นางโจรผู้ที่เจ้าชายสิทธัตถะหลงรักในช่วงต้นเรื่อง ดวงตาของนางถูกพระเจ้าสุทโธทนะทำลายเพราะเรื่องที่เจ้าชายสิทธัตถะต้องการจะแต่งงานกับนางด้วย ยังผลให้หลังจากนั้นนางต้องตาบอดไปชั่วชีวิต ต่อมานางได้เป็นภรรยาของทัตตะและมีลูกด้วยกันหลายคน
อัสสชิ
บุตรของนายพรานล่าสัตว์ที่สิทธัตถะและสมณะเธพะได้พบระหว่างการออกเดินทางแสวงหาโมกขธรรม รูปลักษณ์ของตัวละครตัวนี้ถูกหยิบยืมมาจากตัวละครชื่อ ชะระคุ โฮะสึเกะ ในเรื่อง "เจ้าหนูสามตา" อันเป็นผลงานอีกเรื่องหนึ่งของเทซูกะ โอซามุ
ลตา (Lata)
ยตละ (Yatala)
สุชาดา
อหิงสกะ
วิสาขา
มาร

ภาพยนตร์ แก้

บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก
 
ภาพประชาสัมพันธ์
กำกับโมะริชิตะ โคโซ
อำนวยการสร้างโตเอแอนิเมชัน
นักแสดงนำฮิเดทากะ โยชิโอกะ
มาซาโตะ ซาไค
อิคุเอะ โอทานิ
นานะ มิซึกิ
ผู้บรรยายซายูริ โยชินางะ
ดนตรีประกอบ"Scarlet Love Song" โดย X-Japan
ผู้จัดจำหน่ายโตเอ, วอร์เนอร์บราเธอร์สพิคเจอร์ส
วันฉาย28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ความยาว111 นาที
ประเทศ  ญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น

ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการประกาศดัดแปลงมังงะสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันไตรภาคในชื่อเรื่อง "เทซูกะ โอซามุ โนะ บุดดะ" (ญี่ปุ่น: 手塚治虫のブッダทับศัพท์: Tezuka Osamu no Budda; "เรื่องพระพุทธเจ้า ฉบับของเทซูกะ โอซามุ") โดยบริษัทโตเอแอนิเมชัน กำกับภาพยนตร์โดย โมะริชิตะ โคโซ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทโตเอและวอร์เนอร์บราเธอร์สพิคเจอร์ส กำหนดออกฉายภาคแรกในชื่อตอน "อากาอิ ซาบาคุ โยะ! อุตซึกูชิกุ" (ญี่ปุ่น: 赤い砂漠よ!美しくทับศัพท์: Akai Sabaku yo! Utsukushiku; "ทะเลทรายสีแดงอันแสนงาม") ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งตรงกับช่วงของการเฉลิมฉลองครบ 750 ปี ชาตกาลแห่งพระภิกษุชินรัน โชนิน ผู้ก่อตั้งนิกายโจโดชินชู หรือนิกายสุขาวดีใหม่ ในพุทธศาสนานิกายมหายาน[2] ส่วนเพลงประกอบของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แก่เพลง "Scarlet Love Song" ขับร้องโดยวง X-Japan

เนื้อหาของแอนิเมชั่นเรื่อง "เทซูกะ โอซามุ โนะ บุดดะ - อากาอิ ซาบาคุ โยะ! อุตซึกูชิกุ" จะกล่าวถึงช่วงปฐมวัยของพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งพานพบกับชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุขแห่งวรรณะกษัตริย์ ตรงกันข้ามชีวิตกับคู่ขนานของลูกทาสที่ชื่อชาปรา ซึ่งพยายามต่อสู้ดิ้นรนให้ตนเองได้อยู่ในฐานะที่สูงขึ้นและพ้นจากชีวิตอันยากลำบากแร้นแค้นโดยปิดบังชาติกำเนิดในวรรณะศูทรของตนไว้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของเจ้าชายสิทธัตถะกับนางโจรสาวชื่อมิคาอิลาซึ่งถูกกีดกันโดยพระเจ้าสุทโธทนะ

"เทซูกะ โอซามุ โนะ บุดดะ - อากาอิ ซาบาคุ โยะ! อุตซึกูชิกุ" เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 279 แห่ง เปิดตัว 2 วันแรก (28-29 พ.ค. 2554) ด้วยรายได้ 137,921,400 เยน[3]

สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวนำเข้ามาฉายโดยบริษัทมงคลเมเจอร์ ในเครือสหมงคลฟิล์ม และมีกำหนดการฉายในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ในชื่อเรื่องภาษาไทยว่า บุดดา เจ้าชายที่โลกไม่รัก [4]

ผู้ให้เสียงพากย์ แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ชื่อเรื่องภาษาไทยของภาพยนตร์อนิเมะดัดแปลง

อ้างอิง แก้

  1. "Tezuka's Buddha Anime Film Project to Be Trilogy". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  2. http://www.animenewsnetwork.com/news/2010-07-19/tezuka-buddha-precure-redline-film-trailers-posted
  3. 『パイレーツ・オブ・カリビアン』がV2で独走態勢に!『プリンセストヨトミ』『ブッダ』も初登場で好発進!!【 シネマトゥデイ 2011年5月31日
  4. http://www.majorcineplex.com/movie_detail.php?mid=946

แหล่งข้อมูลอื่น แก้