นานะ มิซูกิ
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
นานะ มิซูกิ (ญี่ปุ่น: 水樹 奈々; โรมาจิ: Mizuki Nana) หรือชื่อจริง (เป็นนักพากย์และนักร้องชื่อดังชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1980 ที่เมืองนีฮามะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น สังกัดค่ายซิกม่าเซเว่น (งานพากย์) และคิงเรคคอร์ดส (งานเพลง)
นานะ มิซูกิ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | นานะ คนโด |
รู้จักในชื่อ | นานะจัง |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2523 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ที่เกิด | ญี่ปุ่น |
แนวเพลง | เจ-ป็อป, ป็อปร็อก |
อาชีพ | นักพากย์, นักร้อง |
ช่วงปี | ค.ศ. 1998 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ซิกม่าเซเว่น (งานพากย์) King Records (งานเพลง) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ประวัติ
แก้นานะ มิซูกิ เริ่มมีชื่อเสียงจากการเป็นนักพากย์ โดยมีผลงานเรื่องแรกคือบทของ คาโดคุระ จิซาโตะ จากเกม NOëL ~La neige~ และเริ่มมีแฟนคลับเพิ่มมากขึ้น โดยเธอได้รับรางวัล Best Musical Performance จากเพลง Justice to Believe (เพลงประกอบเกมไวลด์อาร์มส 5) ในงานประกาศผลรางวัลนักพากย์ยอดเยี่ยมแห่งปี (Seiyu Awards) ครั้งที่ 1[1] ปัจจุบันมิซูกิได้พากย์เสียงตัวละครจากการ์ตูนและเกมมาแล้วมากมายหลายเรื่อง ตัวละครที่รู้จักกันดี เช่น เฟท เทสทารอซซ่า จาก สาวน้อยจอมเวทนาโนฮะ เป็นต้น
สำหรับด้านงานเพลง มิซูกิ เป็นนักร้องในสังกัดของคิงเรคคอร์ดส ซึ่งงานเพลงของเธอส่วนใหญ่มักประสบความสำเร็จ ขึ้นชาร์ตโอริกอนในอันดับสูง ๆ แทบทุกครั้ง นอกจากนี้เธอยังเป็นนักพากย์คนที่ 2 ต่อจาก เฮกิรุ ชีนะ ที่มีโอกาสได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ตที่นิปปอนบุโดคัง[2] ซึ่งถือเป็นสถานที่อันทรงเกียรติแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้ว แฟน ๆ จะพูดถึงนานะในมุมของนักร้องมากกว่านักพากษ์เสียมากกว่า ตั้งแต่Single Innocent Starter เป็นต้นมา Single ส่วนใหญ่ นานะก็จะเป็นคนแต่งเนื้อร้องเองเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ตั้งแต่อัลบั้ม Hybrid Universe เป็นต้นมา จะมีเพลงที่นานะเป็นผู้แต่งทั้งเนื้อร้องและทำนองรวมอยู่ด้วย จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เธอถูกยกย่องให้เป็นนักร้องอย่างเต็มตัว ต่างกับนักพากษ์คนอื่น ๆ ที่จะมีนักแต่งเพลง แต่งมาให้อยู่แล้ว
นานะ มิซูกิ เป็นนักพากษ์คนแรกและคนเดียว (ในปัจจุบัน) ที่สามารถส่งผลงานเพลงประเภท Single และ Album ขึ้นสู่อันดับ 1 ของOricon Chartได้สำเร็จ โดยประเภท Single คือ Single Phantom Minds และประเภทอัลบั้มได้แก่ Ultimate Diamond นอกจากนี้ เธอยังทำสถิติศิลปินยอดขาย Blu-ray Disc มากกว่า 1 หมื่นแผ่นเป็นคนแรกได้อีกด้วย (Blu-ray Disc : Mizuki Nana Live Fighter RedxBlue) ส่วน Blu-ray Disc ของ Live DiamondxFever ก็ทำยอดขายไป13,000แผ่นในสัปดาห์แรก และขึ้นสู่อันดับ1 ของOricon Chartได้สำเร็จ และอัลบั้มล่าสุดอัลบั้มที่ 8 Impact Exciter ถึงแม้จะไม่สามารถขึ้นสู่อันดับ1ของOricon Weekly Chartได้ แต่ก็ทำยอดขายเพิ่มขึ้นจากอัลบั้มก่อนได้กว่า2หมื่นชุด ทำให้ยอดขายอัลบั้มของเธอ พึ่งสูงขึ้นไปถึง 93,364ชุด ภายใน1สัปดาห์ และสามารถทำยอดขายขึ้นไปถึง 114,843 ชุดใน1เดือน นอกจากนี้ ยังสามารถขึ้นเป็นอันดับ 7 ของเดือนได้อีกด้วย
เธอได้รับเชิญให้ไปร่วมในรายการ NHK Kouhaku Uta Gassen หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เทศกาลงานเพลงขาวแดง"ในวันที่31 ธันวาคม 2009 รายการดังกล่าว คือรายการเพลงถ่ายทอดสดในวันส่งท้ายวันปีใหม่ที่มีผู้ชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ศิลปินที่จะถูกรับเชิญร่วมงานนี้ ก็ล้วนเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ซึ่งเธอเป็นนักพากย์และศิลปินสายAnisong คนแรกที่ได้เข้าร่วมในรายการดังกล่าว
นานะ มิซูกิ ได้พากษ์เสียงให้กับ Mascotประจำ Microsoft's Japanese Windows7 "OS-tan" นานามิ มาโดเบะ (nanami madobe) ซึ่งชื่อของมาสคอตนี้ เมื่อแปล จะได้ความหมายว่า Mado/Madobe = Window และ Nana = 7 (Seven) ซึ่งชื่อของนานะ มิซูกิ นานะก็หมายถึงเลข 7 เช่นกัน
ใน Heartcatch Precure สึโบมิ ตัวเอกของเรื่อง ที่นานะเป็นผู้พากย์ จะมีหมายเลข 7อยู่บนหลังเสื้อไปรเวท ซึ่งหมายถึง Precure ซีรีส์ลำดับที่ 7 หรืออาจจะหมายถึง 7 ที่มาจากชื่อของนานะก็ได้เช่นกัน
นานะ มิซูกิ เป็นศิลปินสาย Anisong คนแรก และเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวคนที่ 8 ของญี่ปุ่นที่สามารถจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวที่โตเกียวโดม[3] โดยคอนเสิริ์ต MIZUKI NANA LIVE CASTLE 2011 ที่จัดที่โตเกียวโดมระหว่างวันที่ 3-4 ธ.ค. 2554 มีผู้ชมรวมทั้งหมด 8 หมื่นคน
ผลงานการพากย์
แก้อนิเมะ
แก้ปี | ชื่อเรื่องและรับบทเป็น |
---|---|
2541 |
|
2543 |
|
2544 |
|
2545 |
|
2546 |
|
2547 |
|
2548 |
|
2549 |
|
2550 |
|
2551 |
|
2552 |
|
2553 |
|
2554 |
|
2555 |
|
2556 |
|
ตัวหนา หมายถึง ตัวละครที่พากย์รับบทเป็นตัวเอก หรือตัวเด่นของเรื่อง |
ปี | ชื่อเรื่องและรับบทเป็น |
---|---|
2544 |
|
2545 |
|
2546 |
|
2547 |
|
2548 |
|
2549 |
|
2550 |
|
2552 |
|
2553 |
|
2554 |
|
ตัวหนา หมายถึง ตัวละครที่พากย์รับบทเป็นตัวเอก หรือตัวเด่นของเรื่อง |
ภาพยนตร์อนิเมะ
แก้เกม
แก้ปี | ชื่อเกม และรับบทเป็น |
---|---|
2541 |
|
2542 |
|
2544 |
|
2545 |
|
2546 |
|
2547 |
|
2548 |
|
2549 |
|
2550 |
|
2551 |
|
2552 |
|
2553 |
|
2554 |
|
2555 |
|
2556 |
|
ดรามาซีดี
แก้- Aquarian Age รับบทเป็น เอียรีส
- แกล้งจุ๊บให้รู้ว่ารัก รับบทเป็น ไอฮาระ โคโตโกะ
- Ichigo 100% รับบทเป็น มินามิโตะ ยูอิ
- Rozen Maiden รับบทเป็น ซุยเซย์เซคิ
- V.B.Rose รับบทเป็น อาเกฮะ ชิโอริ
- สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ รับบทเป็น เฟท เทสตารอสซ่า
- สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ A's รับบทเป็น เฟท เทสตารอสซ่า และ อลิเซีย เทสตารอสซ่า
- สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ StrikerS รับบทเป็น เฟท เทสตารอสซ่า
งานเพลง
แก้ซิงเกิล
แก้- Omoi (ญี่ปุ่น: 想い)
- Heaven Knows
- The place of happiness
- LOVE&HISTORY
- POWER GATE
- suddenly 〜巡り合えて〜/Brilliant Star
- New Sensation
- still in the groove
- パノラマ-Panorama-
- innocent starter (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ)
- WILD EYES (เป็นเพลงปิด เนตรสยบมาร)
- ETERNAL BLAZE (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะภาค A's)
- SUPER GENERATION
- Justice to Believe/Aoi Iro (ญี่ปุ่น: アオイイロ)
- SECRET AMBITION (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะภาค Strikers)
- MASSIVE WONDERS (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะภาค StrikerS)
- STARCAMP EP
- Trickster
- Shin Ai (ญี่ปุ่น: 深愛)
- Mugen (ญี่ปุ่น: 夢幻)
- Phantom Minds (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะภาค The Movie 1st)
- Silent Bible (เป็นเพลงประกอบเกมสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ)
- SCARLET KNIGHT (เป็นเพลงเปิด Dog Days)
- POP MASTER
- Junketsu Paradox (ญี่ปุ่น: 純潔パラドックス) (เป็นเพลงปิด Blood-C )
- Synchrogazer
- TIME SPACE EP
- BRIGHT STREAM (เป็นเพลงเปิดสาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะภาค The Movie 2nd)
- Vitalization
- Kindan no Resistance (禁断のレジスタンス)
- Eden (エデン)
Collaboration
แก้- Preserve Rose (เป็นเพลงเปิดKakumeiki Valvrave Season 1) with T.M.Revolution
- Kakumei Dualism (革命デュアリズム) (เป็นเพลงเปิดKakumeiki Valvrave Season ) with T.M.Revolution
อัลบั้ม
แก้- Supersonic Girl
- MAGIC ATTRACTION
- DREAM SKIPPER
- ALIVE&KICKING
- HYBRID UNIVERSE
- GREAT ACTIVITY
- Ultimate Diamond
- Impact Exciter
- ROCKBOUND NEIGHBORS
- SUPERNAL LIBERTY
เบสต์อัลบั้ม
แก้- THE MUSEUM
- THE MUSEUM II
ดีวีดี
แก้- NANA CLIPS 1
- NANA MIZUKI "LIVE ATTRACTION" THE DVD
- NANA MIZUKI LIVE SKIPPER COUNTDOWN THE DVD and more
- NANA CLIPS 2
- NANA MIZUKI LIVE RAINBOW at BUDOUKAN
- NANA CLIPS 3
- NANA MIZUKI LIVEDOM-BIRTH- at BUDOKAN
- NANA MIZUKI LIVE MUSEUM×UNIVERSE
- NANA MIZUKI LIVE Formula at Saitama Super Arena
- NANA CLIPS 4
- NANA MIZUKI LIVE Figther -Red Side-
- NANA MIZUKI LIVE Figther -Blue Side-
- NANA MIZUKI LIVE Diamond X Fever
- NANA CLIPS 5
- NANA MIZUKI LIVE GAMES×ACADEMY -BLUE-
- NANA MIZUKI LIVE GAMES×ACADEMY -RED-
Blu-Ray
แก้- NANA MIZUKI LIVE Figther Blue X Red Side
- NANA MIZUKI LIVE Diamond X Fever
- NANA CLIPS 5
- NANA MIZUKI LIVE GAMES×ACADEMY -RED-
- NANA MIZUKI LIVE GAMES×ACADEMY -BLUE-
Concerts
แก้
Liveแก้
Live อื่น ๆแก้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 第一回声優アワード 受賞者発表 เก็บถาวร 2007-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, seiyuawards.jp, เรียกข้อมูลเมื่อ 24 ธ.ค. 2550
- ↑ 人気声優・田村ゆかり、武道館ライブ決定, oricon.co.jp, เรียกข้อมูลเมื่อ 24 ธ.ค. 2550
- ↑ [1], Tokyohive, เรียกข้อมูลเมื่อ 25 ก.ค. 2554
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- นานะ มิซูกิ Kingrecords Webcommunication (ญี่ปุ่น)
- JAM STATION นานะแชนเนล (ญี่ปุ่น)
- ประวัติส่วนตัวในเว็บต้นสังกัด (ซิกม่าเซเว่น) เก็บถาวร 2017-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)