บาโยเนตต้า หรือ เบโยเน็ตตะ (อังกฤษ: Bayonetta, ญี่ปุ่น: ベヨネッタโรมาจิBeyonetta) เป็นวิดีโอเกมแนวแอกชันที่สร้างโดย แพลตตินัมเกมส์ (Platinum Games) ของฮิเดะกิ คะมิยะ ผู้สร้างเกม เดวิลเมย์คราย โดยมีเซก้าเป็นผู้จัดจำหน่าย วางจำหน่ายในระบบเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360

บาโยเน็ตตา
ผู้พัฒนาPlatinumGames[a]
ผู้จัดจำหน่าย
กำกับฮิเดกิ คามิยะ
อำนวยการผลิต
ยูซูเกะ ฮาชิโมโตะ
  • อากิโกะ คุโรดะ (วียู)
  • ฮิโตชิ ยามางามิ (วียู)
  • อัตสึชิ คุโรโอกะ (พีซี)
ออกแบบ
  • ฮิโรชิ ชิบาตะ
  • มาซาอากิ ยามาดะ
ศิลปินมาริ ชิมาซากิ
เขียนบทฮิเดกิ คามิยะ
แต่งเพลง
รายชื่อผู้แต่งเพลง
เครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วียู, วินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
วางจำหน่าย
29 ตุลาคม ค.ศ. 2009
  • เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360
    • JP: 29 ตุลาคม ค.ศ. 2009
    • NA: 5 มกราคม ค.ศ. 2010
    • AU: 7 มกราคม ค.ศ. 2010
    • EU: 8 มกราคม ค.ศ. 2010
    วียู[1]
    • JP: 20 กันยายน ค.ศ. 2014
    • NA/EU: 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014
    • AU: 25 ตุลาคม ค.ศ. 2014
    วินโดวส์
    • ทั่วโลก: 11 เมษายน ค.ศ. 2017
    นินเท็นโด สวิตช์
    • ทั่วโลก: 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018[2]
    • JP: 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018
    เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
    • ทั่วโลก: 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
    • JP: 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 (เพลย์สเตชัน 4)
แนวแอ็กชัน, เดินฟัน
รูปแบบเดี่ยว

เนื้อเรื่อง

แก้

นานมาแล้ว มีเผ่าพันธุ์ชาวยุโรปสองกลุ่ม คือ แม่มดอัมบรา (Umbra Witch) ผู้พำนักแห่งความมืด และปราชญ์ลูเมน (Lumen Sage) ผู้ควบคุมแสงสว่าง คอยเฝ้าสังเกตความเป็นไปผ่านช่วงเวลาต่างๆ และคอยรักษาสมดุลในพลังของแต่ละฝ่ายไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม วันหนึ่ง สมดุลนั้นก็ถูกทำลาย เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสงครามครั้งใหญ่ขี้นบนโลก จากนั้น เผ่าอัมบราก็ถูกลบหายไป เหลือเพียงแค่บาโยเนตต้า ผู้หลับใหลโดยสมบูรณ์ อยู่ใต้ก้นบึ้งอันมืดมิดและเหน็บหนาวของทะเลสาบเท่านั้น ที่สามารถหลบมาจากการต่อสู้ครั้งนั้นมาได้ ห้าร้อยปีผ่านพ้น เธอตื่นขึ้นมา และพบว่าตนเองได้สูญเสียความทรงจำ โดยที่มีเพียงสิ่งเดียวที่จำได้คือ "เธอเป็นแม่มด" ...เพื่อจะคืนความทรงจำที่เลือนหาย บาโยเนตต้าจึงจำเป็นต้องเข้าร่วมในสงครามการต่อสู้ครั้งใหม่ ของแสงสว่างและความมืดอีกครั้ง...

ตัวเกมอิงเรื่องจากความเชื่อของชาวคริสเตียนผสมกับวัฒนธรรมยุโรป ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือชื่อบอสรองของเกมที่ตั้งชื่อตามคุณธรรมพื้นฐานสี่ประการของคริสเตียน ได้แก่ Iustitia (ความยุติธรรม) Fortitudo (ความอดทน) Sapienta (ความรอบคอบ) และ Temperantia (ความพอประมาณ)

การต่อสู้

แก้

ในเกมจะแบ่งออกเป็น 18 ตอน (Chapter) (ปฐมบท ตอนปกติ 16 ตอน และปัจฉิมบท) การต่อสู้ในแต่ละองก์จะแบ่งออกเป็นบท (Verse) โดยในการต่อสู้ตัวเอกสามารถใช้อาวุธที่มีหลากหลาย ทั้งอาวุธของตนเอง อาวุธของศัตรู หรือของสำคัญที่สามารถเปิดทางสู่พื้นที่ถัดไปก็ใช้เป็นอาวุธได้ นอกจากนี้ยังมีเวลามนต์ (Witch Time) เป็นระบบสำคัญในเกมนี้ ตัวเอกสามารถควบคุมเวลาให้ช้าลง ช่วยในสถานการณ์คับขันได้

การโจมตีมอนสเตอร์ปกตินั้นจะมีสิ่งพิเศษที่เรียกว่า การลงทัณฑ์ (Torture Attack) โดยการกดปุ่มตามที่ขึ้นระหว่างการต่อสู้ ตัวเอกก็สามารถใช้การลงทัณฑ์วิธีต่างๆ เช่น กิโยติน ม้าไม้ ช่วยกำจัดศัตรูได้ โดยวิธีการทรมานจะแตกต่างตามเทวดาแต่ละตัว นอกจากนี้ ในการต่อสู้กับบอสใหญ่แต่ละองก์ เมื่อพลังชีวิตของบอสใกล้หมด บาโยเนตต้าก็สามารถใช้ท่าสุดยอด (Climax) ที่เป็นการสร้างอสูรจากเส้นผมของเธอ เพื่อกำจัดศัตรูปิดท้าย

การตอบรับ

แก้

ด้วยตัวเกมมีฉากการฆ่าเทพและเทวดาซึ่งมีความรุนแรงมาก การสนทนาที่มีคำไม่สุภาพปรากฏ และภาพบางช่วงของตัวเอกที่อยู่ในสภาพเกือบเปลือย เกมจึงได้เรตสำหรับผู้เล่นอายุ 17 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามเกมในเวอร์ชัน เอกซ์บอกซ์ 360 ก็ได้คะแนน 40 เต็มจากนิตยสารแฟมิซือ เป็นเกมที่ 12

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Bayonetta for Wii U - Nintendo @ E3". E3.nintendo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
  2. Polygon (December 7, 2017). "Bayonetta 1 + 2 are heading to Nintendo Switch". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน