บอลลูนไฟ (ญี่ปุ่น: 風船爆弾โรมาจิfūsen bakudanทับศัพท์: ระเบิดบอลลูน) หรือเรียกว่า บอลลูนฟูโง (ญี่ปุ่น: ふ号[兵器]โรมาจิfugō [heiki]) เป็นอาวุธที่ถูกใช้โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะเป็นบอลลูนอัดแก๊สไฮโดรเจนที่ใช้บรรทุกระเบิดชนิดต่างๆ ได้มากถึง 15 กิโลกรัม บอลลูนไฟเป็นอาวุธราคาถูกที่สามารถใช้ระเบิดเมือง ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมในสหรัฐอเมริกาได้ นอกจากนี้ แคนาดาและเม็กซิโกยังมีรายงานการพบเห็นบอลลูนไฟด้วย [1]

บอลลูนไฟ
Fire Balloon
風船爆弾 (fūsen bakudan)
หน้าที่ บอลลูนบรรทุกระเบิด
ประเทศผู้ผลิต ญี่ปุ่นจักรวรรดิญี่ปุ่น
ผู้ผลิต ญี่ปุ่นกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
เที่ยวบินแรก ค.ศ.1944
เริ่มใช้ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1944
ปลดระวาง เมษายน ค.ศ.1945
ผู้ใช้หลัก กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
การผลิต ค.ศ.1944 – ค.ศ.1945
จำนวนที่ถูกผลิต ประมาณ 9,300 ลูก
พัฒนาเป็น บอลลูน E77

บอลลูนไฟเป็นอาวุธชิ้นแรกที่มีพิสัยข้ามทวีป[2] โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความกลัวและความตื่นตระหนกให้ประชาชนในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าบอลลูนไฟจะมีประสิทธิภาพการทำลายล้างต่ำก็ตาม [3]

ภาพรวม แก้

 
บอลลูนไทป์บี เทียบกับขนาดของมนุษย์

บอลลูนไฟแบ่งได้เป็นสองชนิด ชนิดแรกมีชื่อว่า "บอลลูนไทป์บี" ได้รับการออกแบบโดยกองทัพเรือญี่ปุ่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.1 เมตร ผลิตด้วยไหมยาง ถูกใช้เพื่อตรวจวัดสภาพอุตุนิยมวิทยาเป็นหลัก และใช้เพื่อทดสอบว่าบอลลูนไฮโดรเจนสามารถลอยไปถึงทวีปอเมริกาได้หรือไม่[4] บอลลูนชนิดที่สองคือบอลลูนบรรทุกระเบิด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร และบรรจุไฮโดรเจนประมาณ 540 ลูกบาศก์เมตร บอลลูนไฟจะถูกปล่อยจากชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮนชู แล้วลอยไปตามกระแสลมจนไปถึงทวีปอเมริกาเหนือ

ญี่ปุ่นปล่อยบอลลูนไฟครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 โดยบอลลูนเหล่านี้ถูกพบในรัฐอะแลสกา รัฐแอลเบอร์ตา รัฐแอริโซนา รัฐบริติชโคลัมเบีย รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐโคโลราโด รัฐฮาวาย รัฐไอดาโฮ รัฐไอโอวา รัฐแคนซัส ประเทศเม็กซิโก รัฐมิชิแกน [5] รัฐมอนแทนา รัฐเนแบรสกา รัฐเนวาดา [6] รัฐนอร์ทดาโคตา รัฐออริกอน รัฐเซาท์ดาโคตา รัฐเท็กซัส [7] รัฐยูทาห์ รัฐวอชิงตัน รัฐไวโอมิง และ ดินแดนยูคอน

บอลลูนไฟมากกว่า 9,000 ลูกถูกปล่อยออกไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าบอลลูนประมาณ 10% (ประมาณ 900 ลูก) จะลอยไปถึงทวีปอเมริกา จนถึงปัจจุบัน นักวิจัยก็เชื่อว่าคำคาดการณ์นี้เป็นจริง [8] ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มีการพบเห็นบอลลูนที่อเมริกาเหนือแค่ประมาณ 300 ลูกเท่านั้น โดยคาดว่ามีบอลลูนจำนวนมากตกอยู่ตามพื้นที่รกร้างทั่วอเมริกาเหนือ บอลลูนไฟลูกสุดท้ายถูกปล่อยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1945 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมจำนนในไม่กี่เดือนถัดมา

 
แผนที่แสดงจำนวนบอลลูนไฟที่ถูกพบเห็นในทวีปอเมริกาเหนือ[9]

อ้างอิง แก้

  1. Mikesh, pp. 1, 21
  2. "Japan's Secret WWII Weapon: Balloon Bombs". May 27, 2013.
  3. "Anti-Aircraft Mine & Intercontinental Launching Balloon Bombs Through Jet Stream-Fire balloon-Japanese Balloon Bombs-Terrorist Handbook-on a wind and a prayer | Jet Stream | Anti Aircraft Warfare". Scribd (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-31.
  4. Powles, James (February 2003), "Silent Destruction: Japanese Balloon Bombs", World War II, vol. 17 no. 6, pp. 65–66
  5. Ancona, Gaspar F. (2001). Where The Star Came to Rest. Strasbourg Cedex 2, France: Éditions du Signe. pp. 90–91. ISBN 978-2-7468-0317-6. On January 23, 1945...It landed on the farm of Chris Stein near the intersection of 146th Avenue and 21st Street in northern Allegan County{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  6. "That time in World War II when Japan used a hot air balloon to bomb Oregon and kill six people - Altered Dimensions Paranormal". January 19, 2016.
  7. Kingston, Mike (November 30, 2017). "The Bombing of Texas". Texas Almanac. Texas State Historical Association.
  8. Mikesh, p. 1
  9. "Japan's Secret WWII Weapon: Balloon Bombs". Science (ภาษาอังกฤษ). 2013-05-28.