บอย โกสิยพงษ์
บอย โกสิยพงษ์ (5 กันยายน พ.ศ. 2510 —) ชื่อจริง ชีวิน โกสิยพงษ์ เป็นนักแต่งเพลง นักร้อง และโปรดิวเซอร์ผลิตเพลงแนวอาร์แอนด์บี อดีตผู้บริหารค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค ปัจจุบันเป็นผู้บริหารค่ายเพลงเลิฟอีส ในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 และในปี พ.ศ. 2563 เขาลาออกจากค่ายเลิฟอีส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
บอย โกสิยพงษ์ | |
---|---|
งานแถลงข่าว MTV News | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ชีวิน โกสิยพงษ์ |
รู้จักในชื่อ | เจ้าพ่อเพลงรัก ครูบอย |
เกิด | 5 กันยายน พ.ศ. 2510 |
ที่เกิด | กรุงเทพ ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อป อาร์แอนด์บี |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์, นักดนตรี, ผู้กำกับการแสดง |
ค่ายเพลง | เบเกอรี่มิวสิค (2537 - 2547) เลิฟอีส (2548 - 2563) เทโร มิวสิค (2556 - 2563) อิสระ (2563 - ปัจจุบัน) |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เลิฟอีส (2548 - 2563) |
เว็บไซต์ | http://www.loveisloveis.com |
ประวัติแก้ไข
บอย โกสิยพงษ์ หรือชื่อจริงคือ ชีวิน โกสิยพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2510 เป็นลูกคนกลางในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของชิงชัยและอุไรวรรณ โกสิยพงษ์ ในวัยเด็กบอยมีความสนใจทั้งในด้านดนตรีและการ์ตูนมาก บอยได้เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเริ่มแต่งเพลงประกอบการ์ตูนที่เขียนขึ้นเองตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บอยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่16 และศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการแต่งเพลง และธุรกิจเพลงจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
ร่วมก่อตั้งเบเกอรี่มิวสิคแก้ไข
เมื่อจบการศึกษา บอยได้เริ่มทำงานเป็นนักแต่งเพลงอิสระที่ทำงานให้ทั้งศิลปินเพลง และเพลงประกอบโฆษณา จนกระทั่งได้ร่วมงานกับกมล สุโกศล แคลปป์ ที่ต่อมาเขาได้ร่วมก่อตั้งบริษัทเบเกอรี่มิวสิคขึ้นมาในปี พ.ศ. 2535 ร่วมกับกมล สุโกศล แคลปป์, สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ และสาลินี ปันยารชุน โดยบอยมีหน้าที่หลักในด้านแต่งเพลงและทำดนตรี
บริษัทเบเกอรี่มิวสิคเติบโตเรื่อยมาจนกระทั่งประสบปัญหาทางการเงินในวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 จนต้องเข้าร่วมกิจการกับบริษัทบีเอ็มจี มิวสิก (ประเทศไทย) และภายหลังในปี พ.ศ. 2547 บริษัทแม่ของบีเอ็มจีที่ต่างประเทศได้ควบรวมกิจการกับบริษัทโซนี่ มิวสิก ส่งผลให้บริษัทเบเกอร์มิวสิคที่เข้าร่วมกิจการกับบริษัทบีเอ็มจีมิวสิก (ประเทศไทย) ต้องเข้าร่วมกับบริษัทโซนี่ มิวสิค (ประเทศไทย) ไปโดยปริยาย และเบเกอรี่มิวสิคต้องกลายเป็นค่ายเพลงย่อยของโซนี่มิวสิก ผู้บริหารของเบเกอรี่มิวสิครวมถึงบอยเองจึงลาออกจากเบเกอรี่มิวสิค ต่อมาบอยและกมล สุโกศล แคลปป์ ได้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อ เลิฟอีส แต่ต่อมาค่ายเพลงเลิฟอีสได้ปรับมาเป็นบริษัทโพรดักชันเฮาส์
ยุติบทบาทผู้บริหารค่ายเลิฟอีส และบีอีซีเทโรมิวสิคแก้ไข
LOVEiS ประกาศ! “บอย โกสิยพงษ์” ได้ลาออกจากบริษัทและยุติหน้าที่บริหารทั้งหมด เพราะค่ายนี้เป็นค่ายเพลงที่ผลิตผลงานคุณภาพมามากมายจนนับไม่ถ้วน สำหรับค่ายเพลง LOVEiS ที่ล่าสุดทางเพจเฟซบุ๊ก LOVEiS ได้มีการโพสต์หนังสือประกาศของบริษัท ซึ่งระบุว่าทาง “บอย โกสิยพงษ์” ได้ยุติบทบาททั้งหมดในบริษัทเลิฟอีส และ บีอีซี-เทโร มิวสิค และขายหุ้นทั้งหมดทิ้ง ซึ่งล่าสุดทาง “บอย” ได้ให้สัมภาษณ์กับ วันบันเทิง เผยถึงสาเหตุที่ขายหุ้นทิ้ง และลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารทั้งที่เป็นผู้ก่อตั้งค่ายเพลงดังกล่าวขึ้นมา ว่า เกิดจากเรื่องของความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันกับหุ้นส่วนคนอื่น ๆ แต่ยืนยันว่าหลังจากนี้ จะยังคงทำงานเพลงเหมือนเดิม ทำงานโฆษณา ทำเพลงส่วนตัว ทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ มีอัลบั้มของตัวเองก็ออกเอง และค่ายเลิฟอีสนั้น มีผู้บริหารคนใหม่คือ เทพอาจ กวินอนันต์ มาปฏิบัติหน้าที่ต่อจากเขา ส่วนตัวเขาก็เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงในค่ายอิสระ
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
ในด้านชีวิตส่วนตัว บอย โกสิยพงษ์ ได้สมรสกับวรกัญญา โกสิยพงษ์ และมีลูกสาวด้วยกันสองคน คือ ดีใจ โกสิยพงษ์ และใจดี โกสิยพงษ์ ในด้านการนับถือศาสนาบอยนับถือศาสนาคริสต์ โดยต้นปี พ.ศ. 2553 บอย โกสิยพงษ์ ตรวจพบว่าเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบในระยะเริ่มต้น
ผลงานอัลบั้มแก้ไข
- Rhythm & Boyd (พ.ศ. 2538)
- Simplified (พ.ศ. 2539)
- Million Ways to Love Part 1 (พ.ศ. 2546)
อีพีและซิงเกิลแก้ไข
- One (พ.ศ. 2539)
- Home (พ.ศ. 2540)
- Thanks (พ.ศ. 2540)
- เธอเองจะได้ยินอะไรในใจฉันไหม? (พ.ศ. 2544)
- พอ (พ.ศ. 2545)
อัลบั้มรวมเพลงและผลงานอื่น ๆแก้ไข
- Songs From Different Scenes (พ.ศ. 2545)
- Songs From Different Scenes 2 (พ.ศ. 2546)
- Songs From Different Scenes 3 (พ.ศ. 2547)
- LOVEiS Vol.1 (พ.ศ. 2548)
- Kindly Delite (พ.ศ. 2548)
- Rhythm & Boyd E1EVEN1H (พ.ศ. 2549)
- Songs From Different Scenes 4 (พ.ศ. 2549)
- Bundit Ungrangsee and International Orchestra of Italy Plays Boyd Kosiyabong Love Songs (พ.ศ. 2549)
- BOYdPOD Bittersweet (พ.ศ. 2550)
- Songs From Different Scenes 5 (พ.ศ. 2551)
- Rhythm & Boyd E1EVEN1H (Collector's Edition) (พ.ศ. 2551)
- Song From Different Scenes Boxset 1-5 (พ.ศ. 2552)
- Boyd-Nop (พ.ศ. 2553)
- Popular Songbook (พ.ศ. 2556)
ผลงานการแต่งเพลงแก้ไข
- "รอเธอผู้เดียว" - Shining star [1]
- "รักเธอทั้งหมดของหัวใจ" - พอส
- "ดาว" - พอส
- "ข้อความ" - พอส
- "ความลับ" - H (แต่งร่วมกับตรัย ภูมิรัตน และนรเทพ มาแสง)
- "กอดหมอน" - พอส
- "ทุกสิ่ง" - พรู
- "ยังรอคอยเสมอ" - พรู
- "ระบาย" - โยคีเพลย์บอย
- "อยากมองเธอในแง่ร้าย" - โยคีเพลย์บอย
- "แค่เธอก็พอ" - กรู๊ฟไรเดอร์ส
- "ฮอร์โมน" - กรู๊ฟไรเดอร์ส
- "ที่แห่งนี้" - พีโอพี
- "หนาว" - The Strangers
- "รักเธอ" - ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร
- "ที่สุด" - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
- "สูญญากาศ" - ซิลลี่ ฟูลส์ (พ.ศ. 2555)[2]
โปรดิวเซอร์อัลบั้มแก้ไข
- โปรดิวเซอร์อัลบั้ม 50 ของอัญชลี จงคดีกิจ
- โปรดิวเซอร์อัลบั้ม Ben Chalatit ของเบน ชลาทิศ
ผลงานการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์แก้ไข
- "อยู่ในใจ" (เพลงประกอบภาพยนตร์ โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง, พ.ศ. 2549)
- "ความสุข" (เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ความสุขของกะทิ, พ.ศ. 2552)
ผลงานการแต่งเพลงพิเศษแก้ไข
- เพลง "แสงหนึ่ง" (เพลงประกอบนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในโอกาสพระชนมายุ 84 พรรษา, พ.ศ. 2550)
- เพลง "ยอดรัก" (เพลงแต่งให้กำลังใจยอดรัก สลักใจ, พ.ศ. 2551)
- เพลง "ชัยชนะ" (ในอัลบั้ม"ไทยเชียร์กีฬาไทย" ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, พ.ศ. 2551)
- เพลง "เพลงของพ่อ" (เพลงเทิดพระเกียรติเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ, พ.ศ. 2551)
- เพลง "แด่เธอ" (เพลงเนื่องในโครงการ ก้าวคนละก้าวของพี่ตูน, พ.ศ. 2560)
เพลงประกอบโฆษณาแก้ไข
- เพลง "ภาพประทับใจ" (เพลงประกอบโฆษณา First Choice, พ.ศ. 2552)[3]
คอนเสิร์ตแก้ไข
- คอนเสิร์ต Hennessy Rhythm Discovery Live (2540)
- คอนเสิร์ต The Story of My Life (2544)
- คอนเสิร์ต Boyd Kosiyabong (บอย โกสิยพงษ์) : Million ways to love (2546)
- คอนเสิร์ต บี เดย์ เดอะ คอนเสิร์ต (2548)
- คอนเสิร์ต Rhythm&Boyd 11th True Interactive Live Concert (2549)
- คอนเสิร์ต LOVEiS Sharing 2 Yesterday, Friday & Tomorrow (2550)
- คอนเสิร์ต วันแห่งความรักของผู้ชายชื่อ เศรษฐา ศิระฉายา (2550)
- คอนเสิร์ต The Innocent Concert (2553)
- คอนเสิร์ต Piano & I : Piano & You (2553)
- คอนเสิร์ต บอย-ป๊อด Once in A Lifetime Concert (2553)
- คอนเสิร์ต Boyd: Love, Hope & Happiness Concert (2553)
- คอนเสิร์ต Boyd Ko Family Christmas together (2556)
- คอนเสิร์ต Stamp Sci-Fi National Tour 2014 Concert (2557)
- คอนเสิร์ต BoydKo Awards (2558)
- คอนเสิร์ต Nuvo & Friends for Nepal (2558)
- คอนเสิร์ต Singha Corporation Presents THE BOYdKO AWARDS (2558)
- คอนเสิร์ต 22 ปี เบเกอรี่ มิวสิค ตอน เบเกอรี่ เลิฟอีส และบีอีซี-เทโร มิวสิค รำลึก 14 ปี โจ้ วงพอส (2559)
- คอนเสิร์ต LOVEiS 12th Sharing (2560)
- คอนเสิร์ต BOYdKO50th #1 RHYTHM & BOYd THE CONCERT (2561)
- คอนเสิร์ต BOYdKO50th #2 Simplified The Concert (2561)
- คอนเสิร์ต BOYd50th #3 MILLION WAYS TO LOVE - LIVE 2019 (2562)
- คอนเสิร์ต The Lyrics Of Love : Greatest Hits of Dee & Boyd (2562)
- คอนเสิร์ต For Once in Your Life Concert (2563)
ผลงานแสดงภาพยนตร์แก้ไข
- Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (2549)
ผลงานแสดงละครแก้ไข
- สุดร้ายสุดรัก (2564) (รับเชิญ)
ผลงานเบื้องหลังแก้ไข
กำกับละครแก้ไข
- สุดร้ายสุดรัก (2564)
ผู้จัดละครแก้ไข
- สุดร้ายสุดรัก (2564)
รางวัลแก้ไข
- เพลง "Live And Learn" ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมจากสีสันอะวอร์สครั้งที่ 16 [4]
เพลงพิเศษแก้ไข
- ต้องกล้า คนหัวใจสิงห์
- จะไม่ทิ้งกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมแก้ไข
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับภรรยาคือเพลง "จะเก็บเธออยู่ในใจเสมอ"
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับลูกคนแรกคือเพลง "ดีใจ"
- เพลงแรกที่บอยแต่งให้กับลูกคนที่สองคือเพลง "ฉันดีใจที่มีเธอ"
- ชื่อที่ใช้ในการเขียนเพลงของบอย มี 8 ชื่อ คือ "BOYd Kosiyabong", "Cheewyn Kosiyabong", "Vacation", "Tuxido77", "Loveland, DJ Kicks", "Blue Hawaii" และ "BB Darling" ซึ่งนามแฝงส่วนมากใช้ในการแต่งเพลงของศิลปินค่ายโดโจ ซิตี้
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Shining Star : "รอเธอคนเดียว" [Official Audio]
- ↑ 'ซิลลี่ ฟูลส์' มิกซ์เพลง 'สูญญากาศ' ที่แคนาดา
- ↑ บทที่ 2 ชีวิตและผลงานเพลงของบอย โกสิยพงษ์
- ↑ "สีสันอะวอร์สครั้งที่ 16". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-03-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.