นุกูล ธนิกุล
นุกูล ธนิกุล (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงคราม
นุกูล ธนิกุล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (8 ปี 232 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เขตดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2535-2545) มัชฌิมาธิปไตย (2550-2551) พลังประชารัฐ (2561-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุกานดา ปานะสุทธะ (หย่า) |
บุตร | นพพล ธนิกุล นพคุณ ธนิกุล |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้ร้อยตรี นุกูล ธนิกุล เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501[1] เป็นบุตรของนายแคล้ว ธนิกุล กับนางสงัด ธนิกุล [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมรสและหย่ากับนางสุกานดา ปานะสุทธะ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นพดล ธนิกุล อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม พรรคพลังประชารัฐ
งานการเมือง
แก้ร้อยตรี นุกูล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นตัวแทนของบิดา ในการลงเล่นการเมือง เนื่องจากบิดาเสียชีวิต[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกัน รวม 4 ครั้ง
พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นุกูลได้สนับสนุน สุกานดา ปานะสุทธะ ภรรยาของตนในขณะนั้น ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2561 สุกานดาและนพดลย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยคาดว่านุกูลได้ย้ายตามมาด้วยเช่นกัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ร้อยตรีนุกูล ธนิกุลได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม. รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ไวสำรวจ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐