นาฬิกาวันสิ้นโลก

นาฬิกาวันสิ้นโลก (อังกฤษ: Doomsday Clock) เป็นหน้าปัดนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์ โดยเป็นการเปรียบการนับถอยหลังมหันตภัยทั่วโลกที่อาจเกิด (เช่น สงครามนิวเคลียร์หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยสมาชิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และความมั่นคงของ จดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (Bulletin of the Atomic Scientists)[1] ซึ่งได้รับคำแนะนำจากคณะกรรรมการปกครองและคณะกรรมการผู้สนับสนุน ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล 18 คน ยิ่งตั้งนาฬิกาเข้าใกล้เที่ยงคืนมากเท่าใด นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าโลกใกล้ภัยพิบัติทั่วโลกมากขึ้นเท่านั้น

ภาพนาฬิกาวันสิ้นโลกใน พ.ศ. 2567 ยังคงอยู่ที่ "90 วินาทีก่อนเที่ยงคืน"

เดิมนาฬิกานี้ซึ่งแขวนบนกำแพงในสำนักงานของจดหมายข่าวฯ ในมหาวิทยาลัยชิคาโก[2] เป็นตัวแทนของภัยคุกคามสงครามนิวเคลียร์ทั่วโลก ทว่า หลัง พ.ศ. 2550 ยังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[3] และพัฒนาการใหม่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวิตซึ่งอาจก่อภัยต่อมนุษยชาติอย่างไม่อาจกู้คืนได้[4] ค่าที่ประกาศอย่างเป็นทางการล่าสุด คือ 100 วินาที หรือ 1 นาที 40 วินาทีก่อนเที่ยงคืน (23:58:20 น.) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เนื่องจาก "ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการรับมือกับภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นจากสงครามนิวเคลียร์ เช่นการสิ้นสุดของสนธิสัญญาระหว่างกองกำลังนิวเคลียร์ระดับกลาง (INF) ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียรวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านและต่อเนื่อง รวมถึงการไม่สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" และถือเป็นครั้งแรกที่ทางนักวิทยาศาสตร์เรียกเวลาเป็นวินาที[5][6] [7]

ประวัติ

แก้

การก่อตั้ง

แก้

ในปี พ.ศ. 2490 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้มีการกำหนดเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกไว้ที่ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน และได้มีการปรับเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นหรือช้าลงตามสถานการณ์ของโลก และการทำนายเกี่ยวกับสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเป็นไปได้ การกำหนดเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกถือเป็นการตัดสินใจเพียงผู้เดียวของประธาน คณะกรรมการจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ อันเป็นการสะท้อนให้เห็นกิจกรรมของโลก การเปลี่ยนแปลงเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกมิได้เกิดขึ้นในทันทีหลังจากที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น โดยนาฬิกาวันสิ้นโลกเคยอยู่ใกล้เที่ยงคืนที่สุด อยู่ที่ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืน ในปี 2496 และในเดือนมกราคม 2561 มีการตั้งนาฬิกาที่ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืนอีกครั้ง[8]

การเปลี่ยนแปลงเวลา

แก้
 
กราฟแสดงจำนวนการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาวันสิ้นโลก

นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งนาฬิกาสิ้นโลกเป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงเวลาของนาฬิกาทั้งหมด 20 ครั้ง นับตั้งแต่ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน ในปี พ.ศ. 2490

ปีที่เปลี่ยนแปลง
(พ.ศ.)
จำนวนนาที
ก่อนถึงเที่ยงคืน
เวลา
(นาฬิกา)
การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ
2490 7 23:53 กำหนดเวลาครั้งแรกของนาฬิกา
2492 3 23:57 +4 สหภาพโซเวียตทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก เป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ
2496 2 23:58 +1 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทดลองอุปกรณ์เทอร์โมนิวเคลียร์ห่างกันไม่ถึง 9 เดือน นับเป็นเวลาใกล้เที่ยงคืนมากที่สุดของนาฬิกาสิ้นโลกจนถึงปัจจุบัน
2503 7 23:53 -5 เพื่อสนองต่อการรับรู้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและความเข้าใจสาธารณะของภัยอาวุธนิวเคียร์ (ตลอดจนการปฏิบัติทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยง "การแก้แค้นขนานใหญ่") สหรัฐและสหภาพโซเวียตร่วมือและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในความขัดแย้งภูมิภาค เช่น วิกฤตการณ์สุเอซ พ.ศ. 2499 นักวิทยาศาสตร์นานาประเทศช่วยสถาปนาปีธรณีฟิสิกส์ระหว่างประเทศ เป็นชุดวันสำคัญทั่วโลกที่มีการประสานงานระหว่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียต และการประชุมพักวอชว่าด้วยวิทยาศาสตร์และกิจการโลก (Pugwash Conferences on Science and World Affairs) ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์โซเวียตและอเมริกันมีอันตรกิริยากัน
2506 12 23:48 -5 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญาห้ามการทดสอบบางส่วน ซึ่งจำกัดการทดสอบนิวเคลียร์ในบรรยากาศ
2511 7 22:53 +5 เกิดสงครามภูมิภาค ได้แก่ สงครามเวียดนามที่ทวีรุนแรงขึ้น เกิดสงครามหกวันใน พ.ศ. 2510 และสงครามอินเดีย-ปากีสถาน พ.ศ. 2508 ที่เลวกว่านั้น ฝรั่งเศสและจีน สองชาติซึ่งไม่ลงนามสนธิสัญญาห้ามการทดสอบบางส่วน ได้และทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เพื่อยืนยันว่าตนเป็นผู้เล่นระดับโลกในการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์
2512 10 23:50 -3 ทุกชาติในโลก ข้อยกเว้นที่สำคัญคือ อินเดีย ปากีสถานและอิสราเอล ลงนามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
2515 12 23:48 -2 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับแรก และสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธทิ้งตัว
2517 9 23:51 +3 อินเดียทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก การเจรจาสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับที่สองหยุดชะงัก ทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตปรับยานกลับเข้ากำหนดเป้าหมายได้อิสระหลายเป้าหมาย (multiple independently targetable reentry vehicle) ให้ทันสมัย
2523 7 23:53 +2 หล่มในการเจรจาอเมริกา–โซเวียตที่ทำนายอนาคตไม่ได้ขณะที่สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานยังดำเนินต่อ ผลของสงครามทำให้วุฒิสภาสหรัฐปฏิเสธไม่ให้สัตยาบันความตกลงสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับที่สองระหว่างสองชาติ และประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ถอนสหรัฐจากโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ในกรุงมอสโก รัฐบาลคาร์เตอร์พิจารณาหนทางซึ่งสหรัฐจะสามารถชนะสงครามนิวเคลียร์
2524 4 23:56 +3 มีการปรับนาฬิกาเมื่อต้น พ.ศ. 2524[9] สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานทำให้ท่าทีนิวเคลียร์ของสหรัฐแข็งกร้าวขึ้น โรนัลด์ เรแกนเป็นประธานาธิบดี ล้มการเจรจาลดอาวุธกับสหภาพโซเวียตและแย้งว่าทางเดียวที่จะยุติสงครามเย็นคือต้องชนะ ความตึงเรียดระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตส่งเสริมภัยการทำลายล้างด้วยนิวเคลียร์
2527 3 23:57 +1 ความตึงเครียดบานปลายขึ้นระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียต มีการปรับนาฬิกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสงครามอัฟกานิสถานที่กำลังดำเนินอยู่นั้นทำให้สงครามเย็นระอุขึ้น มีการวางกำลังขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยปานกลางเพอร์ชิง 2 ของสหรัฐและขีปนาวุธร่อนในยุโรปตะวันตก[9] โรนัลด์ เรแกนผลักดันให้ชนะสงครามนิวเคลียร์โดยการเพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขันอาวุธระหว่างอภิมหาอำนาจ สหภาพโซเวียตและพันธมิตร (ยกเว้นโรมาเนีย) คว่ำบาตรโอลิมปิกในลอสแอนเจลิสเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรที่มีสหรัฐนำใน พ.ศ. 2523
2531 6 23:54 -3 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญากำจัดขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง; ความสัมพันธ์สองประเทศดีขึ้น[10]
2533 10 23:50 -4 การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและม่านเหล็ก ร่วมกับการสร้างเอกภาพเยอรมนี หมายความว่า สงครามเย็นใกล้สิ้นสุด
2534 17 23:43 -7 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญาลดอาวุธยุทธศาสตร์; สหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นถึงคราวสิ้นสุด; นับเป็นเวลาที่ห่างจากเที่ยงคืนมากที่สุดของนาฬิกาวันสิ้นโลก
2538 14 23:46 +3 รายจ่ายทางการทหารทั่วโลกยังอยู่ที่ระดับเมื่อสมัยสงครามเย็นท่ามกลางความกังวลด้านการเผยแพร่อาวุธและกำลังสมองนิวเคลียร์สมัยหลังโซเวียต
2541 9 23:51 +5 ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างทดลองระเบิดปรมาณูของตนในการแสดงความคุกคามต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นการตอบแทน; สหรัฐอเมริกาและรัสเซียประสบความยากลำบากในการลดคลังอาวุธเพิ่ม
2545 7 23:53 +2 การปลดนิวเคลียร์ทั่วโลกมีความคืบหน้าน้อย สหรัฐปกฺเสธชุดสนธิสัญญาควบคุมอาวุธและประกาศเจตนาถอนจากสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธทิ้งตัว ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการโจมตีของผู้ก่อการร้ายนิวเคลียร์ เนื่องจากปริมาณวัสดุนิวเคลีย์ระดับอาวุธที่ไม่ปลอดภัยและอธิบายไม่ได้ทั่วโลก
2550 5 23:55 +2 เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ความทะเยอทะยานนิวเคลียร์ของอิหร่าน การเน้นการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางทหารของอเมริกาที่ได้รับฟื้นฟู ความล้มเหลวในการทำให้วัสดุนิวเคลียร์ปลอดภัยเพียงพอ และการยังคงอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 26,000 อันในสหรัฐและรัสเซีย[11] หลังประเมินภัยต่ออารยธรรมแล้ว มีการเพิ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการคาดการณ์การทำลายล้างด้วยนิวเคลียร์เป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อมนุษยชาติ[12]
2553 6 23:54 -1 ความร่วมมือทั่วโลกในการลดคลังแสงนิวเคลียร์และจำกัดผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[13] สหรัฐและรัสเซียให้สัตยาบันความตกลงการเจรจาลดอาวุธยุทธศาสตร์รอบใหม่และมีการวางแผนการเจรจาเพื่อลดอาวุธในคลังแสงอเมริกาและรัสเซียอีก การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2552 ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาและอุตสาหกรรมตกลงรับผิดชอบการปล่อยคาร์บอนเพื่อจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิทั่วโลกไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส
2555 5 23:55 +1 การขาดการปฏิบัติทางการเมืองทั่วโลกเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก คลังอาวุธนิวเคลียร์ โอกาสเกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ภูมิภาคและความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์[14]
2558 3 23:57 +2 ความกังวลท่ามกลางการขาดการปฏิบัติเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่ยังดำเนินต่อ การปรับปรุงอาวุธนิวเคลียร์ให้ทันสมัยในสหรัฐและรัสเซีย และปัญหากากนิวเคลียร์[15]
2560 2 1/2 23:57 1/2 + 1/2 ความรุ่งเรืองของชาตินิยมใหม่, ความเห็นของดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ต่ออาวุธนิวเคลียร์ ภัยคุกคามการแข่งขันอาวุธรอบใหม่ระหว่างสหรัฐและรัสเซีย และความไม่เชื่อในความเห็นพ้องทางวิยาศาสตร์เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของรัฐบาลทรัมป์[16][17][18][19][20] เป็นครั้งแรกที่ใช้เศษส่วน
2561 2 23:58 + 1/2 ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการจัดการกับภัยคุกคามสงครามนิวเคลียร์และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ใกล้เข้ามา[21]
2563 1 2/3 23:58 1/3 1/3 ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการรับมือกับภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นจากสงครามนิวเคลียร์ เช่นการสิ้นสุดของสนธิสัญญาระหว่างกองกำลังนิวเคลียร์ระดับกลาง (INF) ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียรวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านและต่อเนื่อง รวมถึงการไม่สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[5][6][7]
2566 1+ 1/2

(90 s)

23:58:30  1/6

(−10 s)

สาเหตุหลักมาจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียโดยรัสเซีย และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเพิ่มระดับนิวเคลียร์อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์ฉบับสุดท้ายที่เหลืออยู่ระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา นิวสตาร์ท มีกำหนดจะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 [a] รัสเซียยังนำสงครามไปยังไซต์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชอร์โนบิลและซาโปริซเซีย ซึ่งละเมิดระเบียบการระหว่างประเทศและเสี่ยงต่อการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีในวงกว้าง วัสดุ. เกาหลีเหนือยังกลับมาใช้วาทศิลป์ด้านนิวเคลียร์อีกครั้ง โดยเปิดตัวการทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางเหนือญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และการพังทลายของบรรทัดฐานระดับโลกและสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและภัยคุกคามทางชีวภาพ เช่น เนื่องจากโควิด-19 มีส่วนทำให้การตั้งเวลาเกิดขึ้นด้วย[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Science and Security Board Bulletin of the Atomic Scientists.
  2. Doomsday Clock moving closer to midnight? The Spokesman-Review, October 16, 2006.
  3. Stover, Dawn. "How Many Hiroshimas Does it Take to Describe Climate Change?". Bulletin of the Atomic Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-03. สืบค้นเมื่อ September 26, 2013.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". Bulletin of the Atomic Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29title = 'Doomsday Clock' Moves Two Minutes Closer To Midnight. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "Humanity is closer to annihilation than ever before, scientists say". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 23 January 2020. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
  6. 6.0 6.1 "นาฬิกาวันสิ้นโลก ขยับเหลือ 100 วินาทีก่อนเที่ยงคืนเข้าใกล้หายนะที่สุดในประวัติศาสตร์". Workpoint News. 24 มกราคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. 7.0 7.1 ""นาฬิกาวันสิ้นโลก" ปรับเหลือ 100 วินาทีถึงเที่ยงคืน ใกล้หายนะสุดในประวัติศาสตร์". ข่าว Sanook!. 24 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. Koran, Laura (2018-01-25). "'Doomsday clock' ticks closer to apocalyptic midnight". CNN. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  9. 9.0 9.1 Doomsday Clock at 3'til midnight. The Daily News, December 21, 1983.
  10. Hands of the "Doomsday Clock" turned back three minutes. The Reading Eagle, December 17, 1987.
  11. ""Doomsday Clock" Moves Two Minutes Closer To Midnight". The Bulletin. The Bulletin of Atomic Scientists. 17 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-11. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
  12. "Nukes, climate push 'Doomsday Clock' forward". MSNBC. 2012-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-01-15.
  13. Timeline "Bulletin of the Atomic Scientists".
  14. "Doomsday Clock moves to five minutes to midnight". Bulletin of the Atomic Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-09. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
  15. Casey, Michael (22 January 2015). "Doomsday Clock moves two minutes closer to midnight". CBS News. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
  16. Science and Security Board Bulletin of the Atomic Scientists. "It is two and a half minutes to midnight" (PDF). Bulletin of the Atomic Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017.
  17. "Board moves the Clock ahead". Bulletin of the Atomic Scientists (ภาษาอังกฤษ). 26 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017.
  18. Holley, Peter; Ohlheiser, Abby; Wang, Amy B. "The Doomsday Clock just advanced, 'thanks to Trump': It's now just 2½ minutes to 'midnight.'". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 26 January 2017.
  19. Bromwich, Jonah Engel (26 January 2017). "Doomsday Clock Moves Closer to Midnight, Signaling Concern Among Scientists". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 January 2017.
  20. Chappell, Bill. "The Doomsday Clock Is Reset: Closest To Midnight Since The 1950s". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 January 2017.
  21. https://www.washingtonpost.com/news/speaking-of-science/wp/2018/01/25/after-a-missile-scare-and-insult-war-with-north-korea-its-time-to-check-the-doomsday-clock/?utm_term=.3bbb601ddff5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้