ขบวนการนวพล
นวพล มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น 'พลังใหม่', 'พลังเก้า',[1] หรือ 'พลังเก้าใหม่'[2]:80 เป็นขบวนการโฆษณาชวนเชื่อ[3]ฝ่ายขวาจัด,[4] รักชาติ,[5] นับถือศาสนาพุทธ[4] และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์[6][7]ในประเทศไทยที่ดำเนินกิจการในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ขบวนการนี้ถูกกล่าวถึงเป็นหน่วยรบทางจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายหลักคือ: สนับสนุนขบวนการกระทิงแดงและสร้างโฆษณาชวนเชื่อใส่ประชากรไทย[8]
ขบวนการนวพล | |
---|---|
คณะผู้นำ | วัฒนา เขียววิมล |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2517 |
ประเทศ | ไทย |
เป้าหมาย | ปราบคอมมิวนิสต์ |
แนวคิด | รักชาติ ศาสนาพุทธ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ |
ปฏิบัติการสำคัญ | เหตุการณ์ 6 ตุลา |
ขบวนการนวพลก่อตั้งขึ้นโดยวัฒนา เขียววิมลใน พ.ศ. 2517 เขาเคยเป็นหัวหน้าสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาตอนศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยซีตันฮอลล์[5] กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ของกองทัพไทย[8]และกระทรวงมหาดไทยสนับสนุนนวพล[1] กล่าวกันว่าขบวนการนี้มีส่วนเชื่อมโยงกับนักธุรกิจที่ร่ำรวย, นักการเมือง, สภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยข่าวกรองทางทหารไทย[4] นวพลรวบรวมผู้ค้า, นักธุรกิจ และพระสงฆ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและประชาธิปไตย[8] ขบวนการนี้ได้ดึงดูดพระสงฆ์จำนวนมาก โดยเฉพาะกิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ ผู้ที่โด่งดังจากประโยคที่ว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป"[8][9]
ขบวนการนี้ต่อต้านระบบรัฐสภาและรณรงค์ให้ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์[5] นวพลได้รับการสนับสนุนอย่างมากเนื่องจากผู้คนในตอนนั้นรู้สึกว่าสถาบันหลักของชาติถูกพวกฝ่ายซ้ายเล่นงาน[5] ใน พ.ศ. 2519 ขบวนการนี้มีสมาชิก 30,000–50,000 คน[2]:82 นวพลมีบทบาทหลักในการจัดตั้งพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2519 ภายใต้ชื่อ พรรคธรรมาธิปัตย์[10] และดำเนินการต่อต้านฝ่ายซ้ายจนนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519[5] ซึ่งมีสมาชิกในขบวนการมีส่วนร่วมด้วย[4][10]
หลังการรัฐประหารที่สถาปนาระบอบทหารขึ้นใหม่หลังการสังหารหมู่ ความนิยมของขบวนการนวพลลดลงเนื่องจากความสงสัยว่าขบวนการนี้กลายเป็นวิธีการจัดเลี้ยงให้กับความทะเยอทะยานของกลุ่มทหาร[5]
ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ไทย ได้ให้อีกมุมมองหนึ่งของสมาชิกขบวนการนวพลว่าข้อมูลเกี่ยวกับนวพลมีน้อยมาก และส่วนใหญ่มาจากคำอวดอ้างของวัฒนา ซึ่งต่างจากขบวนการกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มฝ่ายขวาที่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ นอกจากนี้ ภาพที่ผู้คนรวมตัวกันประกอบด้วยฝูงชนหลายกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้กลุ่มฝ่ายขวาใด ๆ มีความโดดเด่นขึ้นมา ดังนั้น ธงชัยถึงกล่าวแนะว่านวพลเป็น "องค์กรผีที่มีเจตนาขยายภาพลักษณ์ของขบวนการฝ่ายขวา" ที่ไม่มีฐานทัพของตนเอง แต่นำความน่าเชื่อถือจากปฏิบัติการปราบปรามการก่อกบฏของ กอ.รมน.[11][12]
บุคคลสำคัญของนวพล
แก้- ดร. วัฒนา เขียววิมล ผู้นำกลุ่มนวพล
- พล.ท. สำราญ แพทยกุล องคมนตรี และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
- พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธิ์ เจ้ากรมหลวงในข่าวพระราชสำนักในกองทัพเผด็จการทหารแห่งชาติ
- พล.ต.ท. สุรพล จุลพราหมณ์ ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- พลเอก สายหยุด เกิดผล เสนาธิการ กอ.รมน.
- ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี และผู้พิพากษาศาลฎีกา
- กิตฺติวุฑฺโฒ ผู้รองรับพรรคประชาธิปัตย์ ในการปฏิวัติ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2009), A History of Thailand, Cambridge University Press, p. 192, ISBN 9780521767682
- ↑ 2.0 2.1 Suksamran, Somboon (1982). Buddhism and Politics in Thailand; A Study of Socio-Political Change and Political Activism of the Thai Sangha. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. pp. 76–83. ISBN 9971902435. สืบค้นเมื่อ 2019-04-03.
- ↑ Karin Zackari (2016). Bettina Koch (บ.ก.). Violence on the Periphery of the Thai State and Nationhood. State Terror, State Violence: Global Perspectives. Springer VS. p. 86.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Schmid, Alex P.; Jongman, Albert J. (2005), Political Terrorism, Transaction Publishers, p. 671, ISBN 9781412815666
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Leifer, Michael (2001), "Nawaphon Movement (Thailand)" (Hardcover), Dictionary of the Modern Politics of South-East Asia (3rd ed.), Taylor & Francis, p. 199, ISBN 0415238757
- ↑ Elinor Bartak (1993). The Student Movement in Thailand, 1970-1976. Centre of Southeast Asian Studies, Monash University. p. 27.
- ↑ Alan Klima (2002). The Funeral Casino: Meditation, Massacre, and Exchange with the Dead in Thailand. Princeton University Press. p. 26.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Ungphakorn, Puey (1977). "Violence and the Military Coup in Thailand". Bulletin of Concerned Asian Scholars. 9 (3): 11. doi:10.1080/14672715.1977.10406422. สืบค้นเมื่อ 2019-04-03.
- ↑ Politics and Religion Mix for Asia's Activist Monks, USC Annenberg School for Communications, Reuters, 11 September 2007
- ↑ 10.0 10.1 กลุ่มนวพล จาก บันทึก 6 ตุลา
- ↑ Winichakul, Thongchai (2020). Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok. University of Hawaiʻi Press. pp. 43–44. ISBN 9780824889999.
- ↑ "ไม่มีนวพลใน 6 ตุลา: องค์กรผีของ กอ.รมน. - waymagazine.org | นิตยสาร WAY". waymagazine.org. 5 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- ลีเฟอร์, ไมเคิล. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
- Prajak Kongkirati. “Counter-Movement in Democratic Transition: Thai Right-Wing Movements after the 1973 Popular Uprising.” Asian Review 19 (2006): 101-135.