ธฤต จรุงวัฒน์ (Tharit Charungvat) เลขาธิการมูลนิธิไทย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562) เป็นนักการทูตกว่า 30 ปี ตำแหน่งสำคัญในกระทรวงการต่างประเทศ เช่น อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสาธารณรัฐตุรกี ปัจจุบัน ยังดำรงตำแหน่งกรรมการในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงการต่างประเทศ กรรมการยกร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power

ธฤต จรุงวัฒน์
เลขาธิการมูลนิธิไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
ธันวาคม 2562
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
มกราคม 2563
คณะกรรมการร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
กันยายน 2560
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารในอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงการต่างประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พฤศจิกายน 2561
คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พฤศจิกายน 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดกรุงเทพมหานคร
คู่สมรสวิธู จรุงวัฒน์
บุตรบุตรี 1 คน

ประวัติ

แก้

ธฤต จรุงวัฒน์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ระดับปริญญาตรี แผนกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 27) ระดับปริญญาโท ด้านการระหว่างประเทศ (เอเชียศึกษาและการพัฒนาระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) พ.ศ. 2547

ประวัติการทำงาน

แก้

ธฤต จรุงวัฒน์ เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ 2523 ที่กองคมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย ต่อมา ย้ายไปสังกัดกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวง ออกประจำการครั้งแรกในตำแหน่งเลขานุการเอกที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - 2537 และกลับมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กรมสารนิเทศ และผู้อำนวยการ กองเอเชียตะวันออก 3 กรมเอเชียตะวันออก ก่อนจะออกประจำการอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ในปี พ.ศ. 2542 และดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2546

ในปี พ.ศ. 2547 กลับมารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ในช่วงดังกล่าว ได้วางรากฐานระบบบริหารจัดการข้อมูลและสร้างระบบการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ทั้งกระทรวง ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาในปี พ.ศ. 2549 และอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2550 [1]

ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นกรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย [2] เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลียในปี พ.ศ. 2554 [3] เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ในปี พ.ศ. 2556 [4] และเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2559 โดยตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศข้างต้นในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทยในทุกมิติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนภายใต้นโยบายการทูตสาธารณะ (public diplomacy) ของไทย [5][6][7]

ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังคงได้รับมอบหมายภารกิจจากกระทรวงการต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่ปรึกษากระทรวงด้านการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมิติต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านการปฏิรูปกระทรวง และหัวหน้าคณะทำงานจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนปี พ.ศ. 2562 [8]

ปัจจุบัน ธฤตดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิไทย (2562) [9] [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   บราซิล : พ.ศ. 2556 -   Order of Rio Branco, Class Grand Cross (Ordem de Rio Branco Gra Cruz)

อ้างอิง

แก้
  1. "ศักดิ์ศรีท่านทูต (2)". www.thairath.co.th. 2013-10-17.
  2. "รายชื่อเอกอัคราราชทูต". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย.
  3. "สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย". web.archive.org. 2012-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "สาธารณรัฐตุรกี". กระทรวงการต่างประเทศ.
  5. "Ambassador of Thailand gives donation to support the work of the Nelson Mandela Centre of Memory – Nelson Mandela Foundation". www.nelsonmandela.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Thailand wants partnership with Petrobras in gas | Royal Thai Embassy". www.thaiembassy.sg.
  7. "ทูตไทยในตุรกีลั่นอนาคตไทยเพิ่มการค้าไปอาเซอร์ไบจาน". www.sanook.com/news.
  8. "สัมภาษณ์ คุยกับ ธฤต จรุงวัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูต หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอาเซียน 2019 | THE MOMENTUM" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-30.
  9. "สัมภาษณ์พิเศษ : ธฤต จรุงวัฒน์ เลขาธิการมูลนิธิไทย". มติชนออนไลน์. 2020-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Raksaseri, Kornchanok. "Exercising Thailand's 'soft power'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๙๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้