ต๋องจู[a], ต๋องอู่[b] หรือ กึ่งจู[c] (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 225-262) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ถาง จือ (จีน: 唐咨; พินอิน: Táng Zī) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ในปี ค.ศ. 258 ต๋องจูแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊กและกลายเป็นขุนพลของวุยก๊ก

ต๋องจู (ถาง จือ)
唐咨
ขุนพลสงบแดนไกล
(安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 258 (258) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจมอ / โจฮวน
ขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 252 (252) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์ซุนเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอหลินชู่ มณฑลชานตง /
นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนพล

ประวัติ แก้

ต๋องจูเป็นชาวเมืองลี่เฉิง (利城郡 ลี่เฉิงจฺวิ้น; อยู่ระหวางทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหลินชู่ มณฑลชานตงในปัจจุบันและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตก้าน-ยฺหวี นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน)[6]

ในปี ค.ศ. 225 ไช่ ฟาง (蔡方) เริ่มก่อกบฏในเมืองลี่เฉิง สังหารสฺวี จี (徐箕) ผู้เป็นเจ้าเมือง และเสนอให้ต๋องจูเป็นผู้นำของตน[7][8] โจผีจักรพรรดิแห่งวุยก๊กจึงมีรับสั่งให้เริ่น ฝู (任福), ตฺว้าน เจา (段昭), หวาง หลิง (王淩) และ ลิยอย (呂虔 ลฺหวี่ เฉียน) นำกองกำลังไปปราบปรามกบฏ หลังจากทัพวุยก๊กเอาชนะกบฏและชิงเมืองลี่เฉิงคืนมาได้ ต๋องจูก็หนีลงใต้ทางทะเลไปยังง่อก๊กและกลายเป็นนายทหารของง่อก๊ก[9][10]

ระหว่างปี ค.ศ. 235 และ ค.ศ. 236 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายและงอซันขุนพลง่อก๊กในการศึกที่รบกับชนเผ่าชานเยว่ (山越) ที่ก่อการจลาจลในอาณาเขตของง่อก๊ก หลังเสร็จศึก ต๋องจูได้เลื่อนยศขึ้นเป็นขุนพลจากความดีความชอบ[11][12] ภายหลังต๋องจูและงอซันนำกำลังพล 3,000 นายโจมตีชนเผ่าชานเยฺว่ที่นำโดยต่ง ซื่อ (董嗣) แต่ไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้ จนกระทั่งกำลังเสริมนำโดยจิวหองที่เป็นขุนพลง่อก๊กอีกคนยกมาถึง[13]

ในปี ค.ศ. 239 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายในการปราบการก่อการกำเริบที่นำโดยเลี่ยว ชื่อ (廖式)[14]

ในปี ค.ศ. 252 ต๋องจูร่วมกับขุนพลง่อก๊กคนอื่น ๆ อย่างเล่าเบา, ลิกี๋ และเตงฮองเข้าร่วมรบในยุทธการที่ตังหินที่รบกับวุยก๊กรัฐอริของง่อก๊ก[15] ต๋องจูได้เลื่อนยศเป็นขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน) ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ และได้รับบรรดาศักดิ์โหวจากความดีความชอบในยุทธการ

ในปี ค.ศ. 256 ต๋องจูร่วมกับบุนขิม, ลิกี๋, หลิว จฺว่าน (劉纂) และจูอี้ในการต้านการบุกของวุยก๊กในภูมิภาคโดยรอบแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ) และแม่น้ำซื่อ (泗河 ซื่อเหอ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลอานฮุย[16][17] ในปีเดียวนั้น หลังซุนจุ๋นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊กเสียชีวิต ต๋องจูเข้าด้วยฝ่ายซุนหลิมลูกพี่ลูกน้องของซุนจุ๋นในการต่อสู้ชิงอำนาจและสังหารลิกี๋ จึงเป็นการเปิดทางให้ซุนหลิมขึ้นสิบตำแหน่งของซุนจุ๋นในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊ก[18][19]

ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) จูกัดเอี๋ยนส่งจูกัดเจ้งบุตรชายไปง่อก๊กเป็นตัวประกันเพื่อขอแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนจากง่อก๊กในการต้านวุยก๊ก ในปีถัดมาซุนหลิมสั่งให้บุนขิม, ต๋องจู, จวนต๊ก (全懌 เฉฺวียน อี้), จวนต๋วน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน), หวาง จั้ว (王祚) และคนอื่น ๆ ให้นำกำลังพล 30,000 นายไปฉิวฉุนเพื่อช่วยเหลือจูกัดเอี๋ยนในการก่อกบฏต่อต้านทัพวุยก๊กที่นำโดยสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก[20] เมื่อจูกัดเอี๋ยนตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในช่วงต้นปี ค.ศ. 258 จูกัดเอี๋ยนและต๋องจูพยายามตีฝ่าวงล้อมแต่ล้มเหลว หลังจากนั้นทั้งคู่ถูกทัพวุยก๊กจับกุมได้ ต๋องจูยินยอมจำนนและแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก สุมาเจียวแต่งตั้งให้ต๋องจูเป็นขุนพลสงบแดนไกล (安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน) สุมาเจียวปฏิบัติต่อทหารง่อก๊กที่ยอมสวามิภักดิ์เป็นอย่างดี ในด้านหนึ่งราชสำนักง่อก๊กก็ไม่ได้ทำอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวของต๋องจูที่ยังคงอยู่ในง่อก๊กในขณะที่ต๋องจูแปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊ก[21]

ในปี ค.ศ. 262 เมื่อสุมาเจียวกำลังวางแผนการบุกจ๊กก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊ก สุมาเจียวมอบหมายให้ต๋องจูกำกับดูแลการสร้างเรือรบเพื่อใช้ในการรบกับง่อก๊กในภายหลัง[22] ไม่มีการบันทึกถึงต๋องจูอีกในประวัติศาสตร์ช่วงหลังจากนั้น

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[1]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82[2][3]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82[4] และตอนที่ 83[5]

อ้างอิง แก้

  1. ("จูกัดเก๊กจึงว่าท่านว่านี้ชอบนัก ท่านจงเปนแม่ทัพเรือคุมทหารสามพันยกไป ลีกีต๋องจูเล่าเบาทหารสามคนนี้คุมทหารคนละหมื่น เปนแม่ทัพบกยกไปเปนสามกอง ตัวข้าพเจ้าจะยกทัพหลวงหนุนไป เมื่อจะยกเข้าตีนั้นมีประทัดสัญญา ถ้าได้ยินเสียงประทัดก็ให้แม่ทัพแม่กองเร่งยกเข้าตีให้พร้อมกันทั้งบกทั้งเรือ เตงฮองก็ยกทัพเรือสามสิบลำคุมทหารสามพันยกไปเมืองตังหิน ลีกีต๋องจูเล่าเบาคุมทหารคนละหมื่นเปนทัพบกยกไปเมืองตังหิน จูกัดเจ๊กก็ยกทัพหลวงหนุนไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  2. ("ซุนหลิมก็เชื่อจึงให้นายทหารชื่อว่าจวนต๊กจวนต๋วนสองคนเปนแม่ทัพหลวง อิ๋นจวนเปนทัพหนุน ให้จูอี้ต๋องอู่สองคนเปนกองหน้า ให้บุนขิมนำหนทาง ทหารทั้งสามกองนั้นเปนคนเจ็ดหมื่นยกไปช่วยจูกัดเอี๋ยน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  3. ("จูอี้รบกับอองกี๋ไม่ทันถึงสามเพลงเพลี่ยงพลํ้าเสียทีก็หนี ต๋องอู่ขี่ม้าออกมารบแทนยังไม่ทันได้สามเพลงก็หนีไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  4. ("กึ่งจูทหารเอกจึงว่า ข้าพเจ้าสมัคเข้าอยู่กับท่านแล้ว ซึ่งจะกลับไปเมืองกังตั๋งบัดนี้ ซุนหลิมรู้ก็จะคิดสงสัยเอาโทษข้าพเจ้า สุมาเจียวได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี จึงตั้งกึ่งจูเปนขุนนางอยู่ในเมืองชิวฉุน แล้วก็จัดแจงทหารจะยกกลับไปเมือง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  5. ("ฝ่ายซุนหลิมอยู่ณเมืองกังตั๋ง ครั้นรู้ว่ากึ่งจูสมัคเข้ามาอยู่ด้วยสุมาเจียวก็โกรธ ให้ทหารไปจับเอาสมัคพรรคพวกกึ่งจูไปฆ่าเสีย ขณะนั้นพระเจ้าซุนเหลียงพระชนม์สิบเจ็ดขวบ เห็นซุนหลิมฆ่าพี่น้องกึ่งจูเสียดังนั้นก็คิดสังเวชพระทัยนัก") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
  6. (唐咨本利城人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  7. (六月,利成郡兵蔡方等以郡反,殺太守徐質。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
  8. (黃初中,利城郡反,殺太守徐箕,推咨為主。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  9. (遣屯騎校尉任福、步兵校尉段昭與青州刺史討平之;其見脅略及亡命者,皆赦其罪。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
  10. (文帝遣諸軍討破之,咨走入海,遂亡至吳,官至左將軍,封侯、持節。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  11. ([嘉禾]四年,廬陵賊李桓、路合、會稽東冶賊隨春、南海賊羅厲等一時並起。權復詔岱督劉纂、唐咨等分部討擊,春即時首降,岱拜春偏將軍,使領其眾,遂為列將,桓、厲等皆見斬獲,傳首詣都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 60.
  12. ([嘉禾五年]中郎將吾粲獲李桓,將軍唐咨獲羅厲等。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  13. (賊帥董嗣負阻劫鈔,豫章、臨川並受其害。吾粲、唐咨嘗以三千兵攻守,連月不能拔。魴表乞罷兵,得以便宜從事。魴遣間諜,授以方策,誘狙殺嗣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 60.
  14. ([赤烏二年]冬十月,將軍蔣秘南討夷賊。秘所領都督廖式殺臨賀太守嚴綱等,自稱平南將軍,與弟潛共攻零陵、桂陽,及搖動交州、蒼梧,鬱林諸都,眾數萬人。遣將軍呂岱、唐咨討之,歲餘皆破。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  15. (恪以建興元年十月會眾於東興,更作大堤,左右結山俠築兩城,各留千人,使全端、留略守之,引軍而還。……恪興軍四萬,晨夜赴救。遵等敕其諸軍作浮橋度,陳於堤上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。恪遣將軍留贊、呂據、唐諮、丁奉為前部。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  16. ([五鳳三年]八月,先遣欽及驃騎呂據、車騎劉纂、鎮南朱異、前將軍唐咨軍自江都入淮、泗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.
  17. (其明年,文欽說峻徵魏,峻使欽與呂據、車騎劉纂、鎮南朱異、前將軍唐諮自江都人淮、泗,以圖青、徐。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  18. ([太平元年,孫]綝聞之,使中書奉詔,詔文欽、劉纂,唐咨等使取據,又遣從兄慮以都下兵逆據於江都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 56.
  19. (綝聞之,遣從兄慮將兵逆據於江都,使中使敕文欽、劉纂、唐咨等合眾擊據,遣侍中左將軍華融、中書丞丁晏告胤取據) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
  20. (吳人大喜,遣將全懌、全端、唐咨、王祚等,率三萬眾,密與文欽俱來應誕。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  21. (誕、欽屠戮,咨亦生禽,三叛皆獲,天下快焉。拜咨安遠將軍,其餘裨將咸假號位,吳眾悅服。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  22. (文王敕青、徐、兗、豫、荆、扬诸州,并使作船,又令唐咨作浮海大船,外为将伐吴者。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.

บรรณานุกรม แก้