ตำนานเก็นจิ
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ตำนานเก็นจิ (ญี่ปุ่น: 源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก [1] และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น [2] โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน ค ศ.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) [3] บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี ค ศ. 1004 [4]
ตำนานเก็นจิ | |
---|---|
ม้วนภาพเรื่องตำนานเก็นจิ ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น ราวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 | |
ผู้ประพันธ์ | มุราซากิ ชิคิบุ |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 源氏物語 ( Genji Monogatari ) |
ผู้แปล | จำนวนมาก |
ผู้วาดภาพประกอบ | ไม่ปรากฏนาม |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่ |
ประเภท | วรรณกรรมญี่ปุ่นคลาสสิก |
สำนักพิมพ์ | จำนวนมาก |
วันที่พิมพ์ | ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 |
ชนิดสื่อ | ม้วนภาพ , หนังสือ |
หน้า | ม้วนภาพราว 10 ม้วน หนังสือฉบับแปลภาษาอังกฤษกว่า 1000 หน้า |
เกี่ยวกับผู้ประพันธ์ มุราซากิ ชิคิบุ
แก้มุราซากิ ชิคิบุ เกิดในปี เทนเอน ที่ 1 ( Ten-en 1 ) หรือราว ค ศ. 973 ในตระกูลขุนนางสาย ฟุจิวาระ ในระดับชั้นกลาง บิดาชื่อว่า ฟุจิวาระ ทะเมะโตะคิ ไม่มีใครทราบชื่อจริงของเธอ สันนิษฐานว่า ที่เธอรับการเรียกขานว่า มุราซากิ ชิคิบุ นั้น เนื่องจาก หญิงที่เป็นชนชั้นสูงในสังคมยุคนั้นจะไม่เปิดเผยชื่อจริงๆ ของตัวเอง มุราซากิ มาจากชื่อของ ตัวละครนำหญิงในตำนานเก็นจิ หรือไม่ก็ มุราซากิ ที่แปลว่าสีม่วง พ้องกับชื่อตระกูลฟุจิวาระของเธอ ที่ ดอกฟุจิ ก็เป็นดอกไม้สีม่วงเช่นกัน ส่วน ชิคิบุ นั้น มาจากการที่ บิดา และ พี่ชายของเธอ ทำงานในกรมราชพิธี ( ชิคิบุ ) นั่นเอง [5]
ปีโจโตคุที่ 4 ( Chotoku 4 ) หรือราวปี ค ศ.998 มุราซากิได้แต่งงานกับ ฟุจิวาระ โนะ โนะบุทะกะ ( Fujiwara no Nobutaka ) มีบุตรสาว 1 คน เรียกขานนามกันว่า ไดนิ โนะ ซัมมิ ( Daini no Sammi) ซึ่งไม่ใช่ชื่อจริง แต่เป็นการเรียกแทนตัวจากตำแหน่งเช่นกัน ต่อมา 3 ปี สามีของเธอเสียชีวิต ในช่วงนี้เองที่เธอเริ่มประพันธ์ ตำนานเก็นจิ
ราวปีคันโคที่ 2 ( Kanko 2 ) หรือ ราวปี ค ศ.1005 มุราซากิรับตำแหน่งในหน้าที่ผู้ติดตามของ โชชิ (Soshi) บุตรสาวของ ฟุจิวาระ มิจินางะ ( Fujiwara Michinaga ) ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมา โซชิ ขึ้นเป็นจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิอิจิโจ ( Ichicho )
มุราซากิ ชิคิบุ บันทึกใน บันทึกของ มุราซากิ ชิคิบุ ( Murasaki Shikibu Nikki) ว่า ตำนานเก็นจิ เป็นของขวัญแทนการแสดงความยินดีต่อจักรพรรดินีในโอกาสที่ให้กำเนิดองค์ชาย อัทสึฮิระ (Atsuhira)
รายละเอียดทั่วไป
แก้ตำนานเก็นจิเป็นเรื่องราวชีวิตในราชสำนักของขุนนางและเจ้านายชั้นสูงในสมัย เฮอัน โดยมีตัวเอกชื่อ ฮิคารุ เก็นจิ ในเรื่องกล่าวถึงความสัมพันธ์ของฮิคารุ เก็นจิ กับผู้หญิงมากมายต่างลักษณะกันไป เป็นเรื่องราวที่ทำให้รู้ถึงการดำเนินชีวิต แนวคิด วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ การเมือง ของชนชั้นสูงในสมัยเฮอัง โดยเขียนแบ่งออกมาเป็น 54 บท และแบ่งเป็น 3 ช่วง
- ช่วงที่ 1 ความรุ่งเรืองและล่มสลายของเก็นจิ
บทที่ 1-33 กล่าวถึงเรื่องราวตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงการถูกเนรเทศ
บทที่ 34-41 กล่าวถึงการกลับมาเรืองอำนาจจนถึงการตายของมุราซากิ ชายาสุดที่รัก
- ช่วงที่ 2 ช่วงเปลี่ยนผ่าน
บทที่ 42-44 เป็นช่วงสั้นๆกล่าวถึงการตายของเก็นจิ
- ช่วงที่ 3 อุจิจูโจ ( อุจิ 10 บท ) UJI JUUJOU 宇治十帖 (The Ten Books of Uji)
บทที่ 45-54 กล่าวถึงเรื่องราวของลูกหลาน หลังจากที่เก็นจิได้ตายไปแล้ว
บทร้อยกรองกับตำนานเก็นจิ
แก้ในตำนานเก็นจิ มุราซากิ ชิคิบุ ยังสอดแทรกบทร้อยกรองจากบทประชุมร้อยกรองต่างๆ เช่น โคะคินวะกะชู (Kokinwakashuu) [1]หรือโคะคินชู ( Kokinshuu ) โกะเซนชู ( Gosenshuu ) โคะคินโรคุโจ ( Kokinrokujou ) ชุยชู ( Shuishuu ) ฯลฯ โดยใช้ในรูปการดัดแปลงบทร้อยกรองดั้งเดิมให้สอดคล้องสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เนื่องจากในสมัยนั้น กวีโคลงกลอนต่างๆ ถือเป็นสุดยอดของศิลปะ และสุดยอดของรูปแบบการสนทนาที่มีวัฒนธรรม ข้าราชสำนักและขุนนางที่มีความรู้ดีและมีรสนิยมจึงสาวารถจดจำโคลงกลอนต่างๆได้เป็นจำนวนมาก และจะดัดแปลงโคลงกลอนต่างๆให้เข้ากับการพูด การสนทนา ของตนออกมาได้อย่างอัตโนมัตินั่นเอง ในตำนานเก็นจินั้น นอกจากประชุมโคลงกลอนข้างต้นแล้ว มุราซากิ ชิคิบุ ยังยืมบทร้อยกรองจีนมาใช้ในเรื่องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทร้อยกรองของกวีเอกแห่งราชวงศ์ถังไป๋จวีอี้ [2](白居易 Bai Juyi ค ศ.772-846 )
เพลงไซบาระ
แก้นอกจากบทร้อยกรองแล้ว มุราซากิ ชิคิบุ ยังใช้ เพลงไซบาระ[3] ( 催馬楽 Saibara ) ประกอบในเนื้อเรื่องด้วย เพลงไซบาระนั้น ตามตัวอักษรหมายถึง เพลงที่ร้องในขณะขี่ม้า เป็นเพลงที่ใช้ร้องคู่หรือประสานกัน นักร้องมีทั้งหญิงและชาย เป็นที่นิยมมากในราชสำนักญี่ปุ่นยุคเฮอัน โดยดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้าน ในบทเพลงขนาดสั้นนี้ จะมีเนื้อร้องสั้นๆที่ใช่คำที่เรียบง่ายประกอบดนตรีที่รับอิทธิพลมาจากราชวงค์ถังประเทศจีน หรือ โทงะคุ ( 唐樂 Togaku) และ โคะมะงาคุ (Komagaku)
รายชื่อตอนทั้งหมด
แก้- คิริตสึโบะ (桐壺, Kiritsubo) "Paulownia Court" "Paulownia Pavilion"
- ฮาฮากิงิ (帚木, Hahakigi) "Broom Tree"
- อุตสึเซมิ (空蝉, Utsusemi) "Shell of the Locust" "Cicada Shell"
- ยูงาโอะ (夕顔, Yūgao) "Evening Faces" "Twilight Beauty"
- วากามูราซากิ (若紫, Wakamurasaki) "Lavander" "Young Murasaki"
- ซูเอ็ตสึมูฮานะ (末摘花, Suetsumuhana) "Safflower"
- โมมิจิโนะกะ (紅葉賀, Momiji no Ga) "Autumn Excursion" "Beneath the Autumn Leaves"
- ฮานะโนะเอ็ง (花宴, Hana no En) "Festival of the Cherry Blossoms" "Under the Cherry bossoms"
- อาโออิ (葵, Aoi) "Heartvine" "Heart-to-Heart"
- ซากากิ (榊, Sakaki) "Sacred Tree" "Green Branch"
- ฮานะชิรุซาโตะ (花散里, Hana Chiru Sato) "Orange Blossoms" "Falling Flowers"
- ซูมะ (須磨, Suma ) "Suma"
- อากาชิ (明石, Akashi) "Akashi"
- มิอตสึกูชิ (澪標, Miotsukushi) "Channel Buoys" "Pilgrimage to Sumiyoshi"
- โยโมงิอุ (蓬生, Yomogiu) "Wormwood Patch" "Waste of Weeds"
- เซกิยะ (関屋, Sekiya) "Gatehouse" "At The Pass"
- เอะอาวาเซะ (絵合, E Awase) "Picture Contest"
- มัตสึกาเซะ (松風, Matsukaze) "Wind in the Pines"
- อูซูงูโมะ (薄雲, Usugumo ) "Rack of Clouds" "Wisps of Cloud"
- อาซางาโอะ (朝顔, Asagao ) "Morning Glory" "Bluebell"
- โอโตเมะ (乙女, Otome ) "Maiden" "Maidens"
- ทามากาซูระ (玉鬘, Tamakazura ) "Jeweled Chaplet" "Tendril Wreath"
- ฮัตสึเนะ (初音, Hatsune ) "First Warbler" "Warbler's First Song"
- โคโจ (胡蝶, Kochō ) "Butterflies"
- โฮตารุ (螢, Hotaru) "Fireflies"
- โทโกนัตสึ (常夏, Tokonatsu) "Wild Carnation" "Pink"
- คางาริบิ (篝火, Kagaribi) "Flares" "Cressets"
- โนวากิ (野分, Nowaki) "Typhoon"
- มิยูกิ (行幸, Miyuki) "Royal Outing" "Imperial Progress"
- ฟูจิบากามะ (藤袴, Fujibakama) "Purple Trousers" "Thoroughwort Flowers"
- มากิบาชิระ (真木柱, Makibashira) "Cypress Pillar" "Handsome Pillar"
- อุเมะ กะ เอะ (梅枝, ume ga E) "Branch of Plum" "Plum Tree Branch"
- ฟูจิ โนะ อูราบะ ( 藤裏葉, Fuji no Uraba) "Wisteria Leaves" "New Wisteria Leaves"
- วากานะ ภาคต้น ( 若菜上, Wakana: Jō) "New Herbs, Part I" "Spring Shoots I"
- วากานะ ภาคปลาย (若菜下, Wakana: Ge) "New Herbs, Part II" "Spring Shoots II"
- คาชิวางิ (柏木, Kashiwagi) "Oak Tree"
- โยโกบูเอะ (横笛, Yokobue) "Flute"
- ซูซูมูชิ (鈴虫, Suzumushi) "Bell Cricket"
- ยูงิริ (夕霧, Yūgiri) "Evening Mist"
- มิโนริ (御法, Minori) "Rites" "Law"
- มาโบโรชิ (幻, Maboroshi) "Wizard" "Seer"
- คูโมงากูเระ (雲隠, Kumogakure) "Vanished into the Clouds" ----- (บทนี้มีเพียงชื่อบทเท่านั้น เป็นเพียงหน้าว่างเปล่า ไม่มีเนื้อหาภายใน แสดงถึงความตายของ ฮิคารุ เก็นจิ)
- นิโอ มิยะ (匂宮, Niō Miya) "His Perfumed Highness" "Perfumed Prince"
- โคไบ (紅梅, Kōbai) "Rose Plum" "Red Plum Blossoms"
- ทาเกกาวา (竹河, Takekawa) "Bamboo River"
- ฮาชิฮิเมะ (橋姫, Hashihime) "Lady at the Bridge" "Maiden of the Bridge"
- ชี กะ โมโตะ (椎本, Shī ga Moto) "Beneath the Oak"
- อาเงมากิ (総角, Agemaki) "Trefoil Knots"
- ซาวาราบิ (早蕨, Sawarabi) "Early Ferns" "Bracken Shoots"
- ยาโดริงิ (宿木, Yadorigi) "Ivy"
- อาซูมายะ (東屋, Azumaya) "Eastern Cottage"
- อูกิฟูเนะ (浮舟, Ukifune) "Boat upon the Waters" "A Drifting Boat"
- คาเงโร (蜻蛉, Kagerō) "Drake Fly" "Mayfly"
- เทนาไร (手習, Tenarai) "Writing Practice"
- ยูเมะ โนะ อูกิฮาชิ (夢浮橋, Yume no Ukihashi) "Floating Bridge of Dreams"
เรื่องย่อ
แก้ในรัชสมัยของจักรพรรดิพระองค์หนึ่งได้รับการเรียกขานกันว่า จักรพรรดิคิริสึโบะ พระองค์ทรงสนิทเสน่หานางสนมผู้ต่ำศักดิ์ผู้ถูกเรียกขานว่า คิริสึโบะโนะโคอิ (Kiritsubo no Koi) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้กับพระชายาสนมกำนัลในทั้งหลาย โดยเฉพาะ พระชายาตำหนักโคคิ (Kokiden) ผู้เป็นบุตรีของ ท่านอุไดจิน (เสนาบดีฝ่ายขวา) ผู้ทรงอำนาจยิ่งในราชสำนักและพระชายาตำหนักโคคินั้นยังให้กำเนิดพระโอรสองค์โตซึ่งดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารด้วย
เพราะความอิจฉาริษยาทำให้ทั้งพระชายาและสนมกำนัลในพากันกลั่นแกล้ง นางสนมคิริสึโบะ อย่างโหดร้ายอีกเหล่าเสนาอำมาตย์ยังกริ่งเกรงว่าจักรพรรดิของพวกเขาจะหลุ่มหลงสตรีจนชาติล่มจมเช่นจักรพรรดิจีนลุ่มหลงพระสนมหยางกุ้ยเฟย
ต่อมานางสนมคิริสึโบะผู้บอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจตั้งครรภ์และคลอดพระโอรสน้อยที่มีรูปโฉมงดงามอย่างที่มิเคยมีมาก่อนยิ่งทำให้ จักรพรรดิคิริสึโบะ ยิ่งรักใคร่นางมากเท่าทบทวีคูณความอาฆาตมาดร้ายต่างๆยิ่งเพิ่มเป็นเงาตามตัว นางสนมคิริสึโบะ ถูกกลั่นแกล้งจนล้มป่วยอาการทรุดหนักและเสียชีวิต ยังซึ่งความโทมนัสแก่ จักรพรรดิคิริสึโบะ เหลือประมาณ จึงทุ่มเทความรักทั้งมวลให้แก่พระโอรสองค์น้อยจนหมดสิ้น
เมื่อพระโอรสน้อยเจริญวัยโหรชาวเกาหลีทำนายดวงชะตาของพระโอรสว่าหากเป็นเชื้อพระวงศ์จะยังความล่มจมมาสู่ประเทศแต่หากเป็นขุนนางค้ำจุนราชบัลลังก์จะยังความสุขสงบร่มเย็นให้เกิดขึ้น จักรพรรดิคิริสึโบะจึงจำต้องถอดพระโอรสน้อยออกจากการเป็นเชื้อพระวงศ์ลดชั้นเป็นสามัญชนพระราชทานนามสกุล มินะโมโตะ หรืออ่านได้อีกอย่างว่า เก็นจิ ด้วยเป็นเด็กชายที่งดงามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจึงได้รับการขนานนามว่า ฮิคารุ เก็นจิ หรือ เก็นจิผู้เจิดจรัสนั่นเอง
ต่อมา จักรพรรดิคิริสึโบะ ได้รับพระชายาองค์ใหม่ผู้มีหน้าตาคล้าย คิริสึโบะโนะโคอิ อย่างมากนางได้รับการขนานนามว่า พระชายาฟุจิทสึโบะ (Fujitsubo) ตามชื่อตำหนักที่นางพำนักอยู่ในวัง แม้เก็นจิจะถูกลดชั้นเป็นสามัญชน แต่พระจักรพรรดิคิริสึโบะ ยังคงเอ็นดูและดูแลเขาอยู่ในวัง ด้วยได้รับการบอกเล่าว่า พระชายา ฟุจิทสึโบะ มีใบหน้าละม้ายมารดาของเขา เก็นจิจึงสนิทสนมกับนางมาก จนกลายเป็นความรัก
เมื่อเก็นจิเข้าพิธี เก็มปุกุ (บรรลุนิติภาวะ) เมื่ออายุ 12 ปี และแต่งงานกับ ท่านหญิงอาโออิ ธิดาของสะไดจิง (เสนาบดีฝ่ายซ้าย) ผู้มีอายุมากกว่าโดยการจัดการของพระจักรพรรดิเพียงหวังให้สะไดจินผู้เรืองอำนาจสนับสนุนค้ำชูให้เก็นจิและคานอำนาจกับ อุไดจิง การแต่งงานครั้งนี้ ความสัมพันธ์ของเก็นจิและภรรยาไม่ใคร่ราบรื่นเขาจึงมักจะหาข้ออ้างไม่ไปหาภรรยาแต่จะใช่เวลาส่วนมากอยู่ในวัง เกนจิมีสหายสนิทคนหนึ่งซึ่งได้รับการเรียกขานว่า โทโนะจูโจ เขาเป็นพี่ชายของท่านหญิงอาโออิและเป็นบุตรชายคนโตของสะไดจิง
เก็นจิมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงมากหน้าหลายตาหนึ่งในนั้นคือ อดีตพระชายาโรคุโจ ผู้เป็นพระชายาขององค์มกุฎราชกุมารที่ล่วงลับไปแล้วนางเป็นหม้ายมีบุตรสาวหนึ่งคนชื่อ อากิโคโนมุ ด้วยความที่นางอายุมากกว่าและถือตัวเก็นจิจึงรู้สึกอัดอัดกับความสัมพันธ์
เย็นวันหนึ่งขณะที่เก็นจิกำลังเดินทางไปเยี่ยมแม่นมของเขาซึ่งเป็นมารดาของ โคเรมิตสึ คนสนิทของเขา เขาบังเอิญมีโอกาสแลกเปลี่ยนสาส์นและต่อมามีความสัมพันธ์กับสตรีที่เขาเรียกว่า ยูงะโอะ (Yugao) อยู่มาคืนหนึ่งเขาพายูงะโอะไปพักค้างคืนที่คฤหาสน์รกร้าง ยูงะโอถูกวิญญาณคนเป็นที่เกิดจากความอาฆาตแค้นของอดีตพระชายาโรคุโจฆ่าตาย เก็นจิล้มป่วยเดินทางไปรักษาตัวกับพระธุดงค์ที่ คิตะยะมะ ระหว่างรักษาตัวจนหายเขาพบกับเด็กหญิงน้อย ๆ ผู้มีใบหน้าคล้ายคลึงกับพระชายาฟุจิทสึโบะเป็นอันมาก เนื่องจากนางเป็นบุตรีของ เฮียวบุเคียวโนะมิยะ พี่ชายของพระชายา ฟุจิทสึโบะ ดังนั้นนางจึงมีศักดิ์เป็นหลานสาวของพระชายาฟุจิทสึโบะ เก็นจิตั้งชื่อเด็กหญิงน้อยคนนั้นว่า มุราซากิ นางอาศัยอยู่กับยายซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่คิตะยะมะ มารดาของนางเสียชีวิตไปแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ภรรยาเอกบิดาของนางจึงไม่ใคร่ใส่ใจเท่าไรนัก
ระหว่างห้วงเวลานั้น พระชายาฟุจิทสึโบะ ล้มป่วยเล็กน้อย จึงลาราชการมาพักผ่อนที่บ้านเดิมของนางชั่วระยะเวลาหนึ่ง เก็นจิรู้ข่าว จึงลักลอบไปหานางและมีความสัมพันธ์กันเป็นคืนแรกและคืนเดียว พระชายาฟุจิทสึโบะตั้งครรภ์คลอดบุตรชายของเก็นจิ โดยพรางว่าเป็นพระโอรสของจักรพรรดิคิริสึโบะ เด็กชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามนี้ ต่อมาได้ขึ้นเป็น จักรพรรดิเรเซ
ต่อมายายของมุราซากิตาย เก็นจิจึงรับตัวนางไปอุปการะที่ คฤหาสน์นิโจ เขาเลี้ยงดูอบรมนางให้เติบโตขึ้นเป็นสาวงามตามอุดมคติของเขาเอง
ในที่สุดท่านหญิงอาโออิก็ตั้งครรภ์ลูกของเก็นจิในงานเทศกาลคาโมะ นางมาชมเทศกาลที่มีเก็นจิอยู่ในขบวนแห่ด้วย แต่บังเอิญบ่าวของนางลบหลู่หมิ่นเกียรติ และทะเลาะแบะแว้งกับบ่าวของอดีตพระชายาโรคุโจ เรื่องที่จอดรถเทียมวัวเพื่อชมเทศกาล อดีตพระชายาโรคุโจเสียหน้าและเจ็บแค้นเป็นอันมาก จนกลายเป็นวิญญาณคนเป็นสิงสู่หลอกหลอน จนอาโออิตายหลังคลอดบุตรชายนาม ยูงิริ ได้ไม่นาน ในเวลาต่อมาเก็นจิสมรสกับมุราซากิผู้เติบโตขึ้นมาเป็นหญิงสาวผู้งดงามเฉลียวฉลาดมีรสนิยม
ต่อมา จักรพรรดิคิริสึโบะ สวรรคต พี่ชายต่างมารดาของเก็นจิ บุตรชายของพระชายาโคคิเด็งขึ้นเป็นพระ จักรพรรดิซุซะกุ อำนาจทางการเมืองของเก็นจิเสื่อมถอยลง และด้วยความเจ้าชู้เก็นจิลอบมีความสัมพันธ์กับ โอะโบะโระสึกิโยะ น้องสาวของพระชายาโคคิเด็ง ผู้เข้าถวายตัวเป็นไนชิโนะคามิผู้ที่จักรพรรดิซุซะกุสนิทเสหา เมื่อความแตกเก็นจิเนรเทศตัวเองไปยัง สุมะ เมืองชายทะเลอันรกร้าง โดยให้มุราซากิช่วยดูแลคฤหาสน์และทรัพย์สมบัติทั้งหลายให้
เก็นจิเดินทางไปอะคะชิตามคำเชิญของนักบวชแห่งอะคะชิ และมีความสัมพันธ์กับบุตรีของนักบวชแห่งอะคะชิจนนางตั้งครรภ์
จักรพรรดิซุซะกุอภัยโทษและเรียกตัวเกนจิกลับเมืองหลวง เนื่องจากเกิดภัยพิบัติขึ้นพระองค์และพระราชมารดาประชวรโดยไร้ทางรักษา ท่านอุไดจิง บิดาของพระราชมารดาก็เกิดเสียชีวิต เก็นจิขึ้นมาเรืองอำนาจอีกครั้ง จักรพรรดิซุซะกุสละราชสมบัติ บุตรชายของเก็นจิที่เกิดกับฟุจิทโบะอย่างลับ ๆ ขึ้นเป็นจักรพรรดิเรเซ เก็นจิสร้างคฤหาสน์ที่โรคุโจเพื่อพาภรรยาทั้งหลายมอยู่ด้วยกัน และยังรับอุปการะสตรีไร้ที่พึ่งพิงทั้งหลายที่เขาเคยรู้จักอีกด้วย
เมื่อเก็นจิอายุได้ 40 ปีได้อภิเษกกับพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ พระธิดาองค์ที่ 3 ของ จักรพรรดิซุซะกุซึ่งออกผนวช และฝากฝังพระธิดาให้เก็นจิ นางมีอายุเพียง 13 -14 ปีด้วยความกระทบกระเทือนจิตใจจากความเจ้าชู้ของเก็นจิ มุราซากิก็ล้มป่วยมาเรื่อย ๆ ขณะที่เก็นจิย้ายมุราซากิไปพักฟื้นที่คฤหาสน์นิโจ คะชิวะงิเพื่อนของยูงิริบุตรชายของเก็นจิ พบเห็นพระธิดาอนนะซังโนะมิยะโดยบังเอิญจนหลงรักนางมาก ฉวยโอกาสในคืนวันหนึ่งที่เก็นจิไม่อยู่ ลอบเข้าหานางและมีความสัมพันธ์กับนางจนนางตั้งครรภ์ เก็นจิล่วงรู้ความสัมพันธ์นี้เขากดดันจนคะชิวะงิล้มป่วยด้วยความรู้สึกผิด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ เมื่อคลอดบุตรชายของคะชิวะงินาม คาโอรุ ออกมานางก็ออกบวชเป็นชี
มุราซากิล้มป่วยหนักขออนุญาตเก็นจิออกบวชเป็นชี แต่ด้วยความรักใคร่ผูกพันในตัวนางอย่างมาก เก็นจิจึงไม่อนุญาตและมุราซากิก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้เก็นจิเสียใจมากเขาสะสางเรื่องราวทุกอย่าง และออกบวชเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
ลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง
แก้บทที่ | ช่วงอายุของเก็นจิ | เหตุการณ์ |
---|---|---|
1 .คิริสึโบะ ตำหนักคิริ | เกิด |
|
3 ปี |
| |
4 ปี |
| |
6 ปี |
| |
7 ปี |
| |
8-11 ปี |
| |
12 ปี |
| |
2 . ฮะฮะคิงิ พฤกษาฮะฮะคิงิ | 17 ปี |
|
3 . อุทสึเซมิ คราบเรไร | 17 ปี | *เก็นจิ ลอบเข้าหา อุทสึเซมิ เป็นครั้งที่ 3 อุทสึเซมิ แอบหนีไปเมื่อรู้สึกตัวว่าเก็นจิลอบเข้าหา โดยทิ้งไว้เพียงเสื้อคลุมบางเบา ด้วยความผิดพลาด เก็นจิ มีความสัมพันธ์กับ โนะคิบะโนะโอกิ ลูกเลี้ยงของอุทสึเซมิ แทน |
4 .ยูงะโอะ พักตราแห่งสนธยา | 17 ปี |
เดือนตุลาคม อุทสึเซมิ ติดตามสามีที่ไปรับราชการที่จังหวัด อิโยะ |
6 .สุเอทสึมุฮานะ มาลีสีชาด | 18 ปี |
|
5 .วะกะมุราซากิ เยาวมาลีสีม่วง | 18 ปี |
|
6 .สุเอทสึมุฮานะ มาลีสีชาด | 18 ปี |
|
5 .วะกะมุราซากิ เยาวมาลีสีม่วง | 18 ปี |
|
7 .โมมิจิ โนะ งะ ชมใบไม้แดง | 19 ปี |
|
8 .ฮานะ โนะ เอน วสันต์สังสรรค์ | 20 ปี |
|
8-9 | 21 ปี |
|
9 .อาโออิ | 22 ปี |
|
9 .อาโออิ | 23 ปี |
|
10.ซะคะคิ กิ่งไม้ศักดิสิทธิ์ | 23 ปี |
|
24 ปี |
| |
25 ปี |
| |
11.ฮานะ จิรุ ซาโตะ ท่านหญิงดอกส้ม | 26 ปี |
|
12.สุมะ สู่สุมะ | 26 ปี |
|
27 ปี |
| |
13. อะคะชิ |
| |
28 ปี |
| |
14-15 |
| |
14.มิโอะซึคุชิ แสวงบุญ ณ สุมิโยชิ | 29 ปี |
|
15.โยะโมะงิอุ คฤหาสน์หญ้าคา |
| |
14.มิโอะซึคุชิ แสวงบุญ ณ สุมิโยชิ |
| |
16.เซะกิยะ ด่านแห่งการพานพบ |
| |
17.เอะ อะวะเสะ แข่งขันประชันภาพ | 31 ปี |
|
18.มัตสึคะเสะ สายลมแผ่วผิวทิวสน |
| |
19.อุสุงุโมะ ดั่งเมฆาจางบางเบา |
| |
19.อุสุงุโมะ ดั่งเมฆาจางบางเบา | 32 ปี |
|
20.อะสะงะโอะ พักตรายามทิวา |
| |
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ | 33 ปี |
|
34 ปี |
| |
35 ปี |
| |
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ |
| |
22.ทามะคะซึระ มาลัยแก้วประดับเกล้า |
| |
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ |
| |
22.ทามะคะซึระ มาลัยแก้วประดับเกล้า |
| |
23.ฮัตสึเนะ แรกสำเนียงนกน้อย | 36 ปี |
|
24.โคะโจ ระบำผีเสื้อ |
| |
25.โฮะตะรุ แสงหิ่งห้อย |
| |
26.โทะโคะนัทสึ รังรัก |
| |
27.คะงะริบิ ร้อนรุ่ม |
| |
28.โนะวะกิพายุ |
| |
29.มิยุกิ ทรงประพาท |
| |
37 ปี |
| |
30.ฟุจิบะกะมะ ฮะกะมะสีม่วง |
| |
31.มะคิบะชิระ เสาเอก |
| |
38 ปี |
| |
32.อุเมะ งะ เอะ กิ่งเหมย | 39 ปี |
|
33.ฟุจิโนะอุระบะ ใบฟุจิอ่อนเยาว์ |
| |
34.วะกะนะ ภาคต้น ยอดอ่อน ภาคต้น |
| |
40 ปี |
| |
41 ปี |
| |
35.วะกะนะ ภาคปลาย ยอดอ่อน ภาคปลาย |
| |
42-45 ปี |
เป็นช่วงที่ไม่ได้กล่าวถึงในท้องเรื่อง | |
46 ปี |
| |
47 ปี |
| |
36.คะชิวะงิ | 48 ปี |
|
37.โยะโคะบุเอะ ขลุ่ยแทนตัว | 49 ปี |
|
38.สุซุมุชิ จักจั่นเรไรร้อง | 50 ปี |
|
39.ยูงิริ หมอกยามสนธยา |
| |
40.มิโนะริ วัฏสงสาร | 51 ปี |
|
41.มะโบะโระชิ ผ่านภพ | 52 ปี |
|
คุโมะกะคุเระ (雲隠, Kumogakure ) "Vanished into the Clouds" ลับหายไปในม่านเมฆ
ช่วงนี้เป็นเพียงหน้าว่างระหว่างการเชื่อมต่อไปสู่ภาค อุจิจูโจ เป็นช่วงเวลาห่างกัน 8 ปี ดูเหมือนว่าเก็นจิได้ใช้ชีวิตเป็นพระถือศีลจำวัดในวัดของเขาใน ซางะ เป็นเวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะเสียชีวิต และในช่วง 8 ปีนี้ ทั้ง ของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ ,องค์ชายโฮะตะรุ , โทโนะ จูโจ และ ฮิเงะคุโระ ได้สิ้นชีวิตไปทั้งหมดแล้ว
ภาคอุจิจูโจ
แก้อุจิจูโจ ( 宇治十帖 : Uji JuuJou : The Ten Books of Uji)
- ดูรายละเอียด อุจิจูโจ เพิ่มเติมได้ที่ อุจิจูโจ
เป็นเหตุการณ์หลังจากที่เก็นจิตายไปแล้ว ตัวเอกของเรื่องในภาค อุจิ นี้คือ คาโอรุ ผู้เป็นบุตรชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง คะชิวะงิ ( บุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ และเพื่อนสนิทของ ยูงิริ ) กับ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ( พระธิดาองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดสุซาคุ และเป็นภรรยาเอกของเก็นจิ ) ได้รับการเลี้ยงดูและใช้ชีวิตในฐานะลูกชายคนสุดท้องของเก็นจิ ตัวคาโอรุเองไม่ล่วงรู้ความลับนี้ แต่ก็สงสัยในชาติกำเนิดตัวเอง เพราะมารดา ( พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ) ออกบวชชีตั้งแต่ยังสาว และที่เขาได้รับการขนานนามว่า คาโอรุ เป็นเพราะเขามีกลิ่นกายหอมติดตัวมาแต่กำเนิดนั่นเอง
ลำดับเหตุการณ์ในเรื่องช่วงเปลี่ยนผ่านและภาคอุจิจูโจ
บทที่ | ช่วงอายุของ คาโอรุ | เหตุการณ์ |
---|---|---|
42.นิโออุ มิยะ องค์ชายนิโออุ พระสุคนธ์กรุ่นกำจาย | 14 ปี |
|
44.ทาเคะคาวา ทิวไผ่สายน้ำ |
| |
15 ปี |
| |
16 ปี |
| |
42.นิโออุ มิยะ องค์ชายนิโออุ พระสุคนธ์กรุ่นกำจาย |
| |
19 ปี |
| |
20 ปี |
| |
45.ฮะชิฮิเมะ เทพธิดาแห่งสะพานอุจิ | 22 ปี |
|
46.ชิอิ งะ โมะโตะ ไม้ใหญ่ตายจาก | 23 ปี |
|
43.โควไบ เหมยแดง | 24 ปี |
|
46.ชิอิ งะ โมะโตะ ไม้ใหญ่ตายจาก |
| |
49.ยะโดะริงิ เถาไม้เลื้อย |
| |
47.อะเงะมะกิ ปมรัก |
| |
48.สะวะระบิ ยอดเฟิร์น | 25 ปี |
|
26 ปี |
| |
50.อะซุมะยะ กระท่อมน้อย |
| |
51.อุกิฟุเนะ เรือน้อยลอยเคว้งบนเกลียวคลื่น | 27 ปี |
|
52.คะเงะโรว ชีวิตแสนสั้น |
| |
53.เทะนะไร ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน |
| |
52.คะเงะโรว ชีวิตแสนสั้น |
| |
53.เทะนะไร ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน |
| |
28 ปี |
| |
54.ยุเมะ โนะ อุกิฮะชิ สะพานผ่านฝัน |
| |
จบบริบรูณ์ |
แผนภูมิความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องตำนานเก็นจิตั้งแต่บทที่ 1 ถึง 41
แก้โดย john.r.wallace[6]
ปัจจุบันไม่มีต้นฉบับที่เขียนด้วยมือของ มุราซากิ ชิคิบุ หลงเหลืออยู่แล้ว ตำนานเกนจิ เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ข้าราชสำนักในพระราชวังของเฮอันเคียวในเวลาที่มุราซากิ ชิคิบุ เขียนอยู่ และมีการคัดลอกต้นฉบับออกมาอย่างกว้างขวาง
ราว 200 ปีต่อมา ต้นยุคคะมะคุระ ( Kamakura ) ศตวรรษที่ 13 กวีชื่อ ฟุจิวาระ โนะ เทย์กะ ( Fukiwara no Teika ) ได้จัดรวบรวมเนื้อหาทั้ง 54 บทจากต้นฉบับที่กระจัดกระจายหลายชิ้น แล้วเรียกว่า อะโอะเบียวชิ-บอง ( Aobyoshi-Bon หนังสือปกสีฟ้า) โดยเรียกชื่อจากสีของปกหนังสือ
ตำนานเกนจิ ที่เราอ่านกันในปัจจุบันมาจากต้นฉบับที่ชื่อว่า โอะชิมะ-บอง ( Oshima-Bon) ซึ่งเป็นสายหนึ่งของ อะโอะเบียวชิ-บอง
กลางสมัยคามาคุระ ( กลางศตวรรษที่ 13 ) มินาโมโตะ โนะ มิทสึยุกิ ( Minamoto no Mitsuyuki ) และบุตรชายทำการสะสางต้นฉบับใหม่ รู้จักกันในนาม คะวะจิ-บอง ( Kawachi-Bon ตำราคะวะจิ ) ต้นฉบับที่ทำใหม่นี้ นิยมอ่านกันอย่างกว้างขวางจนถึงกลางสมัยยุคมุโระมะจิ ( Muromachi ปลายศตวรรษที่ 15 ) แต่ในที่สุดก็ค่อยๆสูญหายไป
ม้วนภาพตำนานเก็นจิ
แก้ม้วนภาพ หรือ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เอะมะกิ (絵巻 emaki) ของตำนานเกนจินั้น เริ่มวาดกันขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคเฮอัน ( ราว ต้นคตวรรษที่ 12 ) เป็นม้วนภาพตำนานเก็นจิที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในญี่ปุ่น ปัจจุบัน 15 ภาพ และมีหน้าต้นฉบับตัวหนังสือ 28 แผ่น ประกอบด้วยร้อยแก้วจาก จากบท โยะโมะงิอุ เซะกิยะ เอะอะวะเสะ คะชิวะงิ โยโคบุเอะ ทาเคะคะวา ฮะชิฮิเมะ สะวะระบิ ยะโดะริงิ และ อะซุมะยะ เก็บรักษาอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ศิลปะโตคุกาวะ ( Tokugawa Art Museum ) และอีก 4 ภาพ และมีหน้าต้นฉบับตัวหนังสือ 9 แผ่น ประกอบด้วยร้อยแก้วจาก จากบท สุซุมุชิ ยูงิริ และ มิโนะริ เก็บรักษาอยู่ใน คลังพิพิธภัณฑ์โกโต ( Gotoh Museum House ) แต่ละชิ้นล้วนแต่ถือเป็นสมบัติแห่งชาติของญี่ปุ่น คาดกันว่าม้วนภาพตำนานเก็นจิที่สมบรูณ์จะประกอบด้วยม้วนภาพราว 10 ม้วนจึงจะครอบคลุมทั้ง 54 บท
ตำนานเก็นจิกับสื่อต่างๆ
แก้หนังสือฉบับแปลภาษาอังกฤษ
แก้1. Tale of Genji (PAP) -US- Shikibu, Lady Murasaki / Suematsu, Kencho (TRN) / Publisher:Tuttle Pub Published 2006/11
2. The Tale of Genji (HRD) -US- Amano, Yoshitaka / Publisher:Dh Pr Published 2006/08
3. Tale of Genji (Seidensticker) ( ) -KI- Shikibu, Murasaki / Publisher:Tuttle Publishing Published 1976/01 SGD80.25
4. Murasaki Shikibu : The Tale of Genji (Landmarks of World Literature) (PAP) 2ND Edition -US- Bowring, Richard / Publisher:Cambridge Univ Pr Published 2003/12
5. Tale of Genji (PAP) -US- Murasaki Shikibu / Publisher:Random House Published 1978/08
ภาพยนตร์
แก้- Genji monogatari (1966) [4]กำกับโดย Kon Ichikawa
- Sennen no koi - Hikaru Genji monogatari ( 2001 ) [5]
ละครเพลง
แก้แสดงโดยคณะละครเพลงหญิงล้วน TakarazukaRevue ในประเทศญี่ปุ่น
- Wonderful Sundays / The Tale of Genji 「素晴らしき日曜日」「源氏物語」 (1957) (Moon,+1957)
- Lived in A Dream: The Tale of Genji / The Beauties! ( あさきゆめみし -源氏物語- / ザ・ビューティーズ!) Year: 2000 (Flower,+2000)
- The Tale of Genji - Lived in a Dream II - ( 源氏物語 あさきゆめみしII ) Year: 2007
- Floating Bridge of Dreams / Apasionado!! ( 夢の浮橋 / Apasionado!!) Year: 2008-2009
ภาพยนตร์การ์ตูน
แก้- Murasaki Shikibu's Tale of Genji ( movie 1987-12-19 ) [7]
running time: 110 minutes
- Genji Monogatari Sennenki (TV 2009-01-15) [8]
Fuji television
หนังสือการ์ตูน
แก้- ฉบับแปลไทย
- ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ( 1-13 ) แปลเป็นภาษาไทยจาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง asakiyumemishi[9] เขียนโดย ยามาโตะ วากิ (Yamato Waki ) โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน )
- ตำนานรัก GENJI ( 1 ) [10] แปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์ทรีย์ จาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง Genji Monogatari เขียนโดย MIOU Serina โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ จัดพิมพ์โดย บริษัท บงกช พับลิชชิ่ง จำกัด
อ้างอิง
แก้- ↑ "Unesco Global Heritage Pavilion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.
- ↑ "The thousand year anniversary of TALE OF GENJI"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
- ↑ "" GENJI MLLENIUM Projects "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
- ↑ "เวปไซด์เป็นทางการของวัดอิชิยะมะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
- ↑ Edward G.Seidensticker, Introduction, Everyman's library, 1992, หน้า 7
- ↑ "Basic Relationships in The Tale of Genji though chapter 41". john.r.wallace.
- ↑ [Genji Monogatari Museum , Uji ,Japan]
ศึกษาเพิ่มเติม
แก้- Genji Monogatari E-Text ตำนานเก็นจิ ในรูปแบบภาษาญี่ปุ่น Original , Modernized และ ภาษาอังกฤษ
- Murasaki Shikibu-The Tale of Genji The Intelligence & Database on GENJI-MONOGATARI Revised by Fujiwara Teika Japanese and Roman Letters เก็บถาวร 2009-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนรวบรวมโดย ศจ. เอย์อิชิ ชิบุยะ แห่งมหาวิทยาลัยทะกะจิโฮะ
- UNESCO - Tale of Genji เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรื่องย่อเป็นภาษาอังกฤษพร้อมภาพประกอบ
- Oxford Text Archives: The Tale of Genji เก็บถาวร 2008-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ดาวน์โหลดคำแปลภาษาอังกฤษของ Seidensticker แบบเต็มรูปแบบฟรี
- ใครที่รออ่าน ฮิคะรุเงนจิ เชิญค่ะ เก็บถาวร 2009-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนศ.ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์
- สถานที่ต่างๆในตำนานเก็นจิ
- GENJI MILLENIUM เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tokugawa Art Museum เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยุคเฮอัง
- Wakogenji เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รวมภาพประกอบและแปลวะกะเป็นภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่
- Welcome to the web pages เอกสารประกอบการศึกษาตำนานเก็นจิ โดย john.r.wallace
- Life and Culture เก็บถาวร 2009-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนชั้นสูงในยุคเฮอัน โดย ลิซ่า ดัลบี
- historical characters เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บุคคลสำคัญในยุคเฮอัน โดย ลิซ่า ดัลบี
ดูเพิ่ม
แก้- มุระซะกิ ชิคิบุ
- อุจิจูโจ
- ตำแหน่งและโครงสร้างของขุนนางในสมัยโบราณของญี่ปุ่น บทความภาษาอังกฤษ
- Saibara: Japanese court songs of the Heian period
- โน้ตเพลงไซบาระ เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนบทความภาษาญี่ปุ่น
- เพลงไซบาระ [ลิงก์เสีย]บทความภาษาอังกฤษ
- A Song of Unending Sorrow เก็บถาวร 2008-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนบทกวี ฉางเฮิ้นเกอ โดย ไป๋จวีอี้
- ฟุจิวาระ โนะ เทย์กะ เก็บถาวร 2009-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโดย ศ.ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์