ดาวบริวารของดาวเสาร์

(เปลี่ยนทางจาก ดวงจันทร์ของดาวเสาร์)

ดาวบริวารของดาวเสาร์มีจำนวนมากและหลากหลาย ตั้งแต่ดวงขนาดเล็กที่มีความยาวเพียงสิบเมตร ไปจนถึงดาวบริวารไททันขนาดมหึมาที่ใหญ่กว่าดาวพุธ นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม)
วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่

ปัจจุบัน ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนทั้งสิ้น 83 ดวง[1] ในจำนวนนี้มีเพียง 13 ดวงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 กิโลเมตร, เจ็ดดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่สามารถคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลม และสองดวง ได้แก่ ดาวไททันและรีอาที่มีสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ดาวบริวารที่เด่นเป็นพิเศษในหมู่ดาวบริวาร คือ ไททัน ซึ่งเป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในระบบสุริยะ (รองจากแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี) ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายโลกที่อุดมด้วยไนโตรเจนและภูมิประเทศที่มีเครือข่ายแม่น้ำและทะเลสาบไฮโดรคาร์บอน[2] เอนเซลาดัสซึ่งปล่อยไอพ่นของก๊าซและฝุ่นจากบริเวณขั้วโลกใต้[3] และไอแอพิตัสที่มีซีกโลกขาวดำตัดกัน

ดาวบริวาร 24 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)

ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 59 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินุอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่

วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น

ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อน ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร

ตารางรายชื่อดาวบริวาร

แก้
ลำดับ ชื่อ (ตัวหนาคือดาวบริวารที่มีลักษณะทรงกลม) ภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง
(กม.)
กึ่งแกนเอก
(กม.)
คาบดาราคติ
(วัน)
ความเอียงของวงโคจร
(°)
ตำแหน่ง ปีที่ค้นพบ
0 (ดาวบริวารเล็ก ๆ) moonlets
 
0.04 ถึง 0.5 ~130 000 ภายในวงแหวนเอ 2006[4][5][6]
1 XVIII แพน Pan
 
30 (35 × 35 × 23) [7] 133 584 [8] +0.575 05 [8] 0.001° ในช่องแบ่งเองเคอ 1990
2 XXXV แดฟนิส Daphnis
 
6 − 8 136 505 [8] +0.594 08 [8] ≈ 0° ในช่องว่างคีลเลอร์ 2005
3 XV แอตลัส Atlas
 
31 (46 × 38 × 19) [7] 137 670 [8] +0.601 69 [8] 0.003° ควบคุมวงแหวนเอด้านนอก 1980
4 XVI โพรมีเทียส Prometheus
 
86 (119 × 87 × 61) [7] 139 380 [8] +0.612 99 [8] 0.008° ควบคุมวงแหวนเอฟด้านใน 1980
5 XVII แพนดอรา Pandora
 
81 (103 × 80 × 64) [7] 141 720 [8] +0.628 50 [8] 0.050° ควบคุมวงแหวนเอฟด้านนอก 1980
6 XI เอพิมีเทียส Epimetheus   113 (135 × 108 × 105) [7] 151 422 [8] +0.694 33 [8] 0.335° มีวงโคจรร่วมกัน 1980
7 X เจนัส Janus
 
179 (193 × 173 × 137) [7] 151 472 [8] +0.694 66 [8] 0.165° 1966
8 I ไมมัส Mimas
 
397 (415 × 394 × 381) [9] 185 404 [10] +0.942 422 [11] 1.566°   1789
9 XXXII มีโทนี Methone
 
3 194 440 [8] +1.009 57 [8] 0.007° (แอลไคโอนีเดส) 2004
10 XLIX แอนที Anthe
 
~2 197 700 +1.036 50 0.1° 2007
11 XXXIII พาลลีนี Pallene
 
4 212 280 [8] +1.153 75 [8] 0.181° 2004
12 II เอนเซลาดัส Enceladus 504 (513 × 503 × 497) [9] 237 950 [10] +1.370 218 [11] 0.010° ควบคุมวงแหวนอี 1789
13 III ทีทิส Tethys
 
1066 (1081 × 1062 × 1055) [9] 294 619 [10] +1.887 802 [11] 0.168°   1684
13a XIII เทเลสโต Telesto
 
24 (29 × 22 × 20) [7] 1.158° โทรจันที่โคจรนำหน้าทีทิส 1980
13b XIV คาลิปโซ Calypso
 
21 (30 × 23 × 14) [7] 1.473° โทรจันที่โคจรตามหลังทีทิส 1980
16 IV ไดโอนี Dione
 
1123 (1128 × 1122 × 1121) [9] 377 396 [10] +2.736 915 [11] 0.002°   1684
16a XII เฮเลนี Helene
 
33 (36 × 32 × 30) 0.212° โทรจันที่โคจรนำหน้าไดโอนี 1980
16b XXXIV พอลีดีวซีส Polydeuces
 
3.5 [12] 0.177° โทรจันที่โคจรตามหลังไดโอนี 2004
19 V รีอา Rhea
 
1529 (1535 × 1525 × 1526) [9] 527 108 [13] +4.518 212 [13] 0.327°   1672
20 VI ไททัน Titan
 
5151 1 221 930 [10] +15.945 42 0.3485°   1655
21 VII ไฮพีเรียน Hyperion
 
292 (360 × 280 × 225) 1 481 010 [10] +21.276 61 0.568°   1848
22 VIII ไอแอพิตัส Iapetus 1472 (1494 × 1498 × 1425) [9] 3 560 820 +79.321 5 [14] 7.570°   1671
23 XXIV คีเวียก Kiviuq ~16 11 294 800 [13] +448.16 [13] 49.087° กลุ่มอินุอิต 2000
24 XXII อีเยราก Ijiraq ~12 11 355 316 [13] +451.77 [13] 50.212° 2000
25 IX ฟีบี Phoebe
 
220 (230 × 220 × 210) 12 869 700 −545.09[14][15] 173.047° กลุ่มนอร์ส 1899
26 XX พอเลียก Paaliaq ~22 15 103 400 [13] +692.98 [13] 46.151° กลุ่มอินุอิต 2000
27 XXVII สกาที Skathi ~8 15 672 500 [13] −732.52 [11][15] 149.084° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2000
28 XXVI แอลบีออริกซ์ Albiorix ~32 16 266 700 [13] +774.58 [13] 38.042° กลุ่มแกลิก 2000
29   S/2007 S 2 ~6 16 560 000 −792.96 176.68° กลุ่มนอร์ส 2007
30 XXXVII เบวีนน์ Bebhionn ~6 17 153 520 [13] +838.77 [13] 40.484° กลุ่มแกลิก 2004
31 XXVIII แอร์รีแอปัส Erriapus ~10 17 236 900 [13] +844.89 [13] 38.109° 2000
32 XLVII สกอลล์ Skoll ~6 17 473 800 [10] −862.37 [13] 155.624° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
33 XXIX ซีอาร์นาก Siarnaq ~40 17 776 600 [13] +884.88 [13] 45.798° กลุ่มอินุอิต 2000
34 LII ทาร์เคก Tarqeq ~7 17 910 600 [16] +894.86 [13] 49.904° 2007
35   S/2004 S 13 ~6 18 056 300 [13] −905.85 [11][15] 167.379° กลุ่มนอร์ส 2004
36 LI เกรป Greip ~6 18 065 700 [10] −906.56 [13] 172.666° 2006
37 XLIV ฮีร็อกคิน Hyrrokkin ~8 18 168 300 [10] −914.29 [13] 153.272° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
38 L ยาร์นแซกซา Jarnsaxa ~6 18 556 900 [10] −943.78 [13] 162.861° กลุ่มนอร์ส 2006
39 XXI ทาร์วัส Tarvos ~15 18 562 800 [13] +944.23 [13] 34.679° กลุ่มแกลิก 2000
40 XXV มูนดิลแฟรี Mundilfari ~7 18 725 800 [13] −956.70 [11][15] 169.378° กลุ่มนอร์ส 2000
41   S/2006 S 1 ~6 18 930 200 [10] −972.41 [13] 154.232° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
42   S/2004 S 17 ~4 19 099 200 [13] −985.45 [11][15] 166.881° กลุ่มนอร์ส 2004
43 XXXVIII แบร์เยลมีร์ Bergelmir ~6 19 104 000 [13] −985.83 [11][15] 157.384° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
44 XXXI นาร์วี Narvi ~7 19 395 200 [13] −1008.45 [11][15] 137.292° กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2003
45 XXIII ซูตทุงการ์ Suttungr ~7 19 579 000 [13] −1022.82 [11][15] 174.321° กลุ่มนอร์ส 2000
46 XLIII ฮาตี Hati ~6 19 709 300 [13] −1033.05 [11][15] 163.131° 2004
47   S/2004 S 12 ~5 19 905 900 [13] −1048.54 [11][15] 164.042° 2004
48 XL ฟาร์เบาตี Farbauti ~5 19 984 800 [13] −1054.78 [11][15] 158.361° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
49 XXX ทริมาร์ Thrymr ~7 20 278 100 [13] −1078.09 [11][15] 174.524° กลุ่มนอร์ส 2000
50 XXXVI ไอเออร์ Aegir ~6 20 482 900 [13] −1094.46 [11][15] 167.425° 2004
51   S/2007 S 3 ~5 20 518 500 ~ −1100 177.22° 2007
52 XXXIX เบสต์ลา Bestla ~7 20 570 000 [13] −1101.45 [11][15] 147.395° กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2004
53   S/2004 S 7 ~6 20 576 700 [13] −1101.99 [11][15] 165.596° กลุ่มนอร์ส 2004
54   S/2006 S 3 ~6 21 076 300 [10] −1142.37 [13] 150.817° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
55 XLI เฟนรีร์ Fenrir ~4 21 930 644 [13] −1212.53 [11][15] 162.832° กลุ่มนอร์ส 2004
56 XLVIII ซัวร์เตอร์ Surtur ~6 22 288 916 [10] −1242.36 [13] 166.918° 2006
57 XLV คารี Kari ~7 22 321 200 [10] −1245.06 [13] 148.384° กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
58 XIX อีมีร์ Ymir ~18 22 429 673 [13] −1254.15 [11][15] 172.143° กลุ่มนอร์ส 2000
59 XLVI ลอยเอ Loge ~6 22 984 322 [10] −1300.95 [13] 166.539° 2006
60 XLII ฟอร์นยอต Fornjot ~6 24 504 879 [13] −1432.16 [11][15] 167.886° 2004

อ้างอิง

แก้
  1. Rincon, Paul (7 October 2019). "Saturn overtakes Jupiter as planet with most moons". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019.
  2. Redd, Nola Taylor (27 March 2018). "Titan: Facts About Saturn's Largest Moon". Space.com. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019.
  3. "Enceladus - Overview - Planets - NASA Solar System Exploration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17.
  4. Matthew S. Tiscareno; และคณะ (2006). "100-metre-diameter moonlets in Saturn's A ring from observations of 'propeller' structures". Nature. 440: 648–650. doi:10.1038/nature04581.
  5. Miodrag Sremčević; และคณะ (2007). "A belt of moonlets in Saturn's A ring". Nature. 449: 1019–1021. doi:10.1038/nature06224.
  6. Matthew S. Tiscareno; และคณะ (2008). "The population of propellers in Saturn's A Ring". Astronomical Journal. 135: 1083–1091. doi:10.1088/0004-6256/135/3/1083.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 C.C. Porco; และคณะ (2006). "Physical characteristics and possible accretionary origins for Saturn's small satellites" (PDF). Bulletin of the American Astronomical Society. 37: 768.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 J.N. Spitale; และคณะ (2006). "The orbits of Saturn's small satellites derived from combined historic and Cassini imaging observations" (PDF). The Astronomical Journal. 132: 692.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Source: Thomas et al. 2006
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 Computed from the period using the IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service µ value
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 11.13 11.14 11.15 11.16 11.17 11.18 11.19 11.20 Source: NASA เก็บถาวร 2005-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Source: Porco et al. 2005
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 13.23 13.24 13.25 13.26 13.27 13.28 13.29 13.30 13.31 13.32 13.33 13.34 13.35 13.36 13.37 13.38 13.39 13.40 13.41 13.42 13.43 13.44 Source: IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service
  14. 14.0 14.1 Computed from the semi-major axis using the IAU-MPC Natural Satellites Ephemeris Service µ value
  15. 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 15.12 15.13 15.14 15.15 15.16 15.17 คาบการโคจรที่เป็นลบ แสดงว่าดาวนั้นโคจรทวนกับดาวดวงอื่นที่มีคาบเป็นบวก
  16. MPEC 2007-G38

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้