ดรีมเวิลด์ (อังกฤษ: Dream World) เป็นสวนสนุกกลางแจ้งขนาดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 7 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 (รังสิต-นครนายก) ในตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และสวนสนุกแห่งนี้มีเนื้อที่กว่า 160 ไร่

ดรีมเวิลด์
ที่ตั้งอำเภอธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี, ประเทศไทย
พิกัด13°59′15″N 100°40′30″E / 13.98750°N 100.67500°E / 13.98750; 100.67500
เปิดกิจการ12 พฤศจิกายน 1993; 30 ปีก่อน (1993-11-12)
เจ้าของตระกูลกิติพราภรณ์
ผู้ดำเนินการบริษัท อะมิวส์เม้นท์ ครีเอชั่น จำกัด
คำขวัญ"สุข สนุก...ทั้งครอบครัว" (The World of Happiness)
ฤดูกาลดำเนินงานYear-round
ผู้เข้าชม2 ล้านคน (พ.ศ. 2557)[1]
พื้นที่160 ไร่
เว็บไซต์dreamworld.co.th

สวนสนุกดรีมเวิลด์มีจุดเริ่มต้นจากการที่ตระกูลกิติพราภรณ์เห็นว่าสวนสนุกแดนเนรมิตของตนกำลังจะหมดสัญญาเช่าที่ดิน จึงได้ซื้อที่ดินขนาดใหญ่แถบชานเมืองเพื่อสร้างสวนสนุกแห่งที่ 2 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท สวนสนุกดรีมเวิลด์เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536

สวนสนุกดรีมเวิลด์มีพื้นที่ 4 ส่วน ได้แก่ "ดรีมเวิลด์พลาซ่า" ดินแดนหมู่บ้านทรงแปลกตา, "ดรีมการ์เด้น" ดินแดนแห่งสวนพันธ์ไม้และทะเลสาบขนาดใหญ่, "แฟนตาซีแลนด์" ดินแดนแห่งโลกเทพนิยาย และ "แอดเวนเจอร์แลนด์" ดินแดนแห่งการผจญภัย

การพัฒนาการ

แก้
  • พ.ศ. 2536: ติดตั้ง ‘’เคเบิล คาร์’’ ติดตัง "รถไฟเหินเวหา" ติดตั้ง "สเปซเมาเทน" ติดตั้ง “รถไฟดรีมเวิลด์“ ติดตั้ง “รถคุณปู่“ ติดตั้ง “เรือบั้ม“ ติดตั้ง “จักรยานน้ำ“ ติดตัง “พิพิธภัณฑ์“ ติดตั้ง’’รถบัสชมสวนสนุก’’ *หมายเหตุ*รถบัสชมสวนสนุกถูกยกเลิกในช่วงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2538: ติดตั้ง “ซูเปอร์สแปลช” (Super Splash) จากสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2539: ติดตั้ง “พรมวิเศษ” (Magic Carpet) จากประเทศอิตาลี, ติดตั้ง “แร๊พเตอร์” (Raptor) จากประเทศเยอรมนี, ติดตั้ง “โกคาร์ท” (Go Kart) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2540: เปิด “เมืองหิมะ” (Snow Town) เมืองหิมะแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ติดตั้ง “สกีหิมะเหินฟ้า” (Snow Ski Flying) จากสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2543: ติดตั้ง “เฮอริเคน” (Hurricane) จากประเทศเยอรมัน, ติดตั้ง “ปลาหมึกยักษ์” (Giant Octopus) จากประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2545: ติดตั้ง “แกรนด์แคนยอน” (Grand Canyon) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2547: ฉลองครบรอบ 10 ปีดรีมเวิลด์
  • พ.ศ. 2550: ติดตั้ง “สกายโคสเตอร์” (Sky Coaster) จากประเทศเนเธอร์แลนด์, เปิดให้บริการ “สวนสี่ทวีป”
  • พ.ศ. 2552: ฉลองครบรอบ 15 ปีดรีมเวิลด์, ติดตั้ง เครื่องเล่น “4D แอดเวนเจอร์” (4D Adventure)
  • พ.ศ. 2553: ติดตั้ง "เอเลี่ยน" (Alien)
  • พ.ศ. 2554: สวนสนุกปิดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากเกิดปัญหามหาอุทกภัย
  • พ.ศ. 2555: สวนสนุกกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555, ติดตั้งเครื่องเล่น “ทอร์นาโด” (Tornado) จากประเทศอิตาลี
  • พ.ศ. 2556: ติดตั้ง เครื่องเล่น "วอเตอร์ฟัน" (Water Fun)
  • พ.ศ. 2557: ติดตั้ง โซนพักผ่อน, "แอนนิมอลฟาร์ม" (Animal Farm)
  • พ.ศ. 2559: ติดตั้ง โซนโฟโตเปีย (Photopia)

ประเภทบัตรเข้าสวนสนุก

แก้

ปัจจุบัน สวนสนุกดรีมเวิลด์ มีบัตรผ่านประตูจำหน่ายทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

  • บัตรผ่านประตู แบ่งเป็น ราคาสำหรับผู้ใหญ่ 250 บาท และราคาสำหรับเด็ก 200 บาท ซึ่งสามารถใช้กับการผ่านประตูเข้าสวนสนุก เข้าชมการแสดง และเลือกเล่นเครื่องเล่นได้หนึ่งรายการ
  • บัตรรวมเครื่องเล่น ใช้กับการผ่านประตู เข้าชมการแสดง และเล่นเครื่องเล่นที่ระบุในบัตรอย่างละ 1 รอบ (ปัจจุบันงดจำหน่ายบัตรชนิดนี้ชั่วคราว)
  • บัตรดรีมเวิลด์วีซ่า ใช้สำหรับผ่านประตู เข้าชมการแสดง และเล่นเครื่อเล่นที่ระบุได้ไม่จำกัดรอบ (ยกเว้น เอเลี่ยน ประสาทผีสิง และรถบั๊ม เล่นได้อย่างละ 1 รอบ)
  • บัตรซุปเปอร์วีซ่า ใช้สำหรับผ่านประตู เข้าชมการแสดง และเล่นเครื่องเล่นทุกรายการในสวนสนุก ไม่จำกัดรอบ

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ดรีมเวิลด์ครบ 20 ปี ทุ่มงบ 230 ล้านบาทเปิดโซนใหม่". Voice TV. 24 เมษายน พ.ศ. 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

13°59′15″N 100°40′30″E / 13.98750°N 100.67500°E / 13.98750; 100.67500