ซุน หลู่-ยฺวี่
ซุน หลู่-ยฺวี่ (จีน: 孫魯育; พินอิน: Sūn Lǔyù; สิ้นพระชนม์สิงหาคมหรือกันยายน ค.ศ. 255)[1] ชื่อรอง เสียวหู่ (จีน: 小虎; พินอิน: Xiǎohǔ) เป็นเจ้าหญิงแห่งรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นพระธิดาองค์เล็กของซุนกวน จักรพรรดิผู้ก่อตั้งง่อก๊กและพนะสนมปู้ เลี่ยนชือ พระองค์ยังทรงได้รับการเรียกว่า เจ้าหญิงจู หรือ จูกงจู่ (朱公主) / จูจู่ (朱主)[1] เพราะสมรสกับจู จฺวี้ (朱據)
ซุน หลู่-ยฺวี่ 孫魯育 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จูกงจู่ / เจ้าหญิงจู (朱公主) | |||||
ประสูติ | ไม่ทราบ[a] | ||||
สวรรคต | สิงหาคมหรือกันยายน ค.ศ. 255[1] นครหนานจิง มณฑลเจียงซู | ||||
คู่อภิเษก |
| ||||
พระราชบุตร | จักรพรรดินีจู | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ซุน | ||||
พระราชบิดา | ซุนกวน | ||||
พระราชมารดา | ปู้ เลี่ยนชือ |
ประวัติ
แก้ซุน หลู่-ยฺวี่เป็นพระธิดาองค์เล็กของซุนกวน จักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊กกับพระสนมปู้ เลี่ยนชือ ซุน หลู่-ยฺวี่มีพระเชษฐภคนีคือกิมก๋งจู๋ (全公主 เฉฺวียนกงจู่) หรือซุน หลู่ปาน (孫魯班) ชื่อรองของซุน หลู่ปานและซุน หลู่-ยฺวี่คือต้าหู่ (大虎) และเสียวหู่ (小虎) มีความหมาย "เสือใหญ่" และ "เสือเล็ก" ตามลำดับ ซุน หลู่-ยฺวี่สมรสครั้งแรกกับจู จฺวี้ (朱據) ขุนพลผู้ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีลำดับที่ 5 ของง่อก๊กเป็นเวลาสั้น ๆ[2] ซุน หลู่-ยฺวี่และจู จฺวี้มีบุตรสาวที่สมรสกับซุนฮิวพระโอรสองค์ที่ 6 ของซุนกวน ซุนฮิวยังเป็นพระอนุชาต่างมารดาของซุน หลู่-ยฺวี่[3][4]
ในช่วงทศวรรษ 240 เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างพระโอรส 2 องค์ของซุนกวนคือซุนโฮ (孫和 ซุน เหอ) ผู้เป็นรัชทายาทและซุน ป้า (孫霸) ที่เป็นอ๋องแห่งหลู่ (魯王 หลู่หวาง) ทั้งคู่ต่อสู้เพื่อชิงตำแหน่งรัชทายาท การต่อสู้แย่งชิงอำนาจส่งให้เกิดการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายในหมู่ข้าราชบริพารของซุนกวน สองฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนซุนโฮ อีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนซุน ป้า ในช่วงเวลานี้จู จฺวี้ที่เป็นพระสวามีของซุน หลู่-ยฺวี่สนับสนุนซุนโฮ[5] ส่วนกิมก๋งจู๋ (ซุน หลู่ปาน) พระเชษฐภคินีของซุน หลู่-ยฺวี่ และจวนจ๋องพระสวามีของกิมก๋งจู๋สนับสนุนซุน ป้า กิมก๋งจู๋พยายามเกลี้ยกล่อมให้งซุน หลู่-ยฺวี่สนับสนุนซุนป้า แต่งซุน หลู่-ยฺวี่ปฏิเสธ ทำให้ซุน หลู่-ยฺวี่เริ่มเหินห่างจากพระเชษฐภคินี[6][7]
ในปี ค.ศ. 250 การต่อสู้แย่งชิงอำนาจยุติลงเมื่อซุนกวนทรงบังคับซุน ป้าให้กระทำอัตวินิบาตกรรมและปลดซุนโฮจากตำแหน่งรัชทายาท ขุนนางหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจถูกประหารชีวิต ถูกเนรเทศ หรือถูกปลดจากราชการ[8] จู จฺวี้ที่เป็นพระสวามีของซุน หลู่-ยฺวี่ถูกลดขั้นลงไปรับตำแหน่งใหม่ในเมืองซินตู (新都郡 ซินตูจฺวิ้น; อยู่บริเวณอำเภอฉุนอาน มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน) ระหว่างที่จู จฺวี้เดินทางไปเมืองซินตู ซุน หง (孫弘) หนึ่งในผู้สนับสุนของซุน ป้า ใช้ประโยชน์จากการที่ซุนกวนทรงพระประชวรเพื่อออกราชโองการปลอมสั่งให้จู จฺวี้ฆ่าตัวตาย จู จฺวี้เชื่อว่าพระราชโองการเป็นของจริงจึงฆ่าตัวตายตามรับสั่ง[9] ขุนพลหลิว จฺว่าน (劉纂) ก่อนหน้านี้สมรสกับพระธิดาองค์รองของซุนกวน (พระเชษฐภคินีต่างมารดาของซุน หลู่-ยฺวี่และพระขนิษฐาต่างมารดาของกิมก๋งจู๋) แต่พระธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนเวลาอันควร ซุนกวนจึงให้หลิว จฺว่านได้สมรสใหม่กับซุน หลู่-ยฺวี่ที่ทรงเป็๋นม่าย[10][11]
ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ค.ศ. 255 ในรัชสมัยของซุนเหลียง ซุน อี๋ (孫儀) วางแผนโค่นล้มซุนจุ๋นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่แผนการรั่วไหล ซุน อี๋และคนอื่น ๆ จึงถูกประหารชีวิตก่อนที่จะได้ดำเนินแผนการ กิมก๋งจู๋นั้นลอบมีความสัมพันธ์กับซุนจุ๋นหลังจวนจ๋องพระสวามีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 249 พระองค์ฉวยโอกาสนี้กล่าวหาเท็จว่าซุน หลู่-ยฺวี่พระขนิษฐาที่เหินห่างไปเข้าร่วมสมคบคิดในแผนการ ซุนจุ๋นเชื่อกิมก๋งจู๋จึงออกคำสั่งให้จัมกุมซุน หลู่-ยฺวี่มาสำเร็จโทษ[12][1] พระศพได้รับการฝังที่ฉือจื๋อก่าง (石子崗; แปลว่า "เนินศิลา")[13] เนินเขาซึ่งอยู่ในเขตยฺหวี่ฮฺวาไถ นครหนานจิง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน
เหตุการณ์หลังมรณกรรม
แก้หลังซุนจุ๋นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 256 ซุนหลิมลูกพี่ลูกน้องสืบทอดตำแหน่งในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของซุนเหลียงจักรพรรดิง่อก๊ก ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 256 และ ค.ศ. 258 ซุนเหลียงทรงสงสัยว่ากิมก๋งจู๋มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสิ้นพระชนม์ของซุน หลู่-ยฺวี่ ซุนเหลียงจึงทรงเรียกกิมก๋งจู๋ที่เป็นพระเชษฐภคินีต่างมารดามาตรัสถาม กิมก๋งจู๋ทรงรู้สึกหวาดกลัวจึงทูลปดไปว่า "หม่อมฉันไม่ทราบจริง ๆ หม่อมฉันได้ยินจากบุตรชายของจู จฺวี้ (朱據) คือจู สฺยง (朱熊) และจู สุ่น (朱損)[b]" ซุนเหลียงทรงเห็นว่าจู สฺยงและจู สุ่นทรยศซุน หลู่-ยฺวี่ไปเข้าด้วยซุนจุ๋น โดยเฉพาะจู สุ่นได้สมรสกับน้องสาวของซุนจุ๋น ซุนเหลียงจึงทรงมีรับสั่งถึงเตงฮองให้ประหารชีวิตจู สฺยงและจู สุ่น[15][16]
ในปี ค.ศ. 258 ซุนหลิมปลดซุนเหลียงจากการเป็นจักรพรรดิและตั้งซุนฮิวขึ้นเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กลำดับที่ 3 จูหฺวางโฮ่ว (朱皇后) พระมเหสีของซุนฮิวเป็นบุตรสาวของจู จฺวี้และซุน หลู่-ยฺวี่[3] ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 259 ซุนฮิวทรงก่อการรัฐประหารโค่นล้มซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถอดซุนหลิมจากอำนาจและมีรับสั่งให้ประหารชีวิตซุนหลิมและครอบครัวทั้งหมด ซุนฮิวยังทรงให้ขุดนำศพซุนจุ๋นขึ้นมาและถอดอิสริยาภรณ์ทั้งหมดที่ซุนจุ๋นเคยได้รับ และฟื้นฟูเกียรติให้บุคคลที่ถูกประหารชีวิตในช่วงที่ซุนจุ๋นและซุนหลิมเป็นผู้สำเร็จราชการ ซึ่งซุน หลู่-ยฺวี่ก็เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น[17]
ในช่วงระหว่างวันที่ 6 พฤศจิยายนถึง 5 ธันวาคม ค.ศ. 264 ซุนโฮ[c] (孫皓 ซุน เฮ่า) จักรพรรดิแห่งง่อก๊กลำดับที่ 4 มีรับสั่งให้ขุดพระศพของซุน หลู่-ยฺวี่ขึ้นมาและฝังใหม่ด้วยเกียรติยศสมฐานะเจ้าหญิง[18] โซวเฉินจี้ (搜神记) บันทึกเรื่องราวไว้ดังนี้:
[ซุนโฮ]ทรงมีพระประสงค์จะขุดพระศพ[ของซุน หลู่-ยฺวี่]ขึ้นมาและฝังใหม่อย่างสมพระเกียรติ แต่หลุมศพล้วนดูเหมือนกันหมดจึงไม่สามารถบอกได้ว่าพระศพอยู่ที่หลุมศพใด ข้าราชบริพารบางคนอ้างว่าพวกตนจำฉลองพระองค์ที่พระนางทรงขณะสิ้นพระชนม์ได้ [ซุนโฮ]จึงทรงมีรับสั่งให้หมอผีสองคนแยกวิญญาณของพระนางออกมาและสังเกตอย่างถี่ถ้วน หลังจากนั้นไม่นาน หมอผีเห็นสตรีนางหนึ่งในวัยประมาณสามสิบปี แต่งกายด้วยเสื้อสีม่วงและขาว สวมเครื่องประดับศีรษะที่มีลวดลายสีน้ำเงินและรองเท้าผ้าไหมสีแดง นางเดินขึ้นเนินไปอยู่ตรงกลาง วางมือบนเข่าและถอนหายใจ หยุดอยู่ที่นั่นครู่หนึ่งก่อนจะเดินกลับลงมาที่หลุมศพ นางเดินรอบ ๆ หลุมศพและหายตัวไปทันที คำอธิบายที่หมอดูทั้งสองต่างให้มานั้นคล้ายคลึงกันมาก เมื่อเปิดฝาโลงศพออก ก็เห็นว่าลักษณะของนางนั้นเป็นไปตามที่อธิบายไว้ทุกประการ[19]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ปีที่ซุน หลู่-ยฺวี่เกิดไม่มีการบันทึกไว้ ส่วนมารดาของซุน หลู่-ยฺวี่มาเป็นอนุภรรยาของซุนกวนหลังปี ค.ศ. 199 (การบุกโลกั๋งของซุนเซ็ก) นอกจากนั้นซุน หลู่-ยฺวี่เข้าสู่วัยที่เหมาะแก่การสมรสในปี ค.ศ. 229 ปีเกิดของซุน หลู่-ยฺวี่จึงควรอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 199 และ ค.ศ. 220
- ↑ แม้ว่าจู สฺยง (朱熊) และจู สุ่น (朱損) เป็นบุตรชายของจู จฺวี้[14] แต่ไม่ทราบแน่ชัดมารดาของทั้งสองคนคือใคร เป็นไปได้ว่าทั้งสองคนเป็นบุตรที่เกิดจากอนุภรรยาของจู จฺวี้ ดังนั้นซุน หลู่-ยฺวี่ที่เป็นภรรยาของจู จฺวี้จึงอาจเป็นแม่เลี้ยงของทั้งคู่
- ↑ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกชื่อซุน เฮ่าที่เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กและเป็นบุตรชายของซุนโฮ (ซุน เหอ) ด้วยชื่อว่า "ซุนโฮ" เช่นเดียวกับบิดา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ([高貴鄉公正元二年(乙亥、二五五年)]秋,七月,吳將軍孫儀、張怡、林恂謀殺孫峻,不克,死者數十人。全公主譖朱公主於峻,曰「與儀同謀」。峻遂殺朱公主。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76. บันทึกนี้ระบุวันที่ซุน หลู่-ยฺวี่สิ้นพระชนม์ว่าเป็นเดือน 7 ของปีนั้น เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 สิงหาคมถึง 18 กันยายน ค.ศ. 255 ในปฏิทินจูเลียน
- ↑ (魯育公主字小虎,大帝次女,步後所生,適朱據。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4.
- ↑ 3.0 3.1 (孫休朱夫人,朱據女,休姊公主所生也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (吳主權步夫人, ... 生二女,長曰魯班,字大虎,前配周瑜子循,後配全琮;少曰魯育,字小虎,前配朱據, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (殷基通語曰:初權旣立和為太子,而封霸為魯王,初拜猶同宮室,禮秩未分。 ... 自侍御賔客造為二端,仇黨疑貳,滋延大臣。丞相陸遜、大將軍諸葛恪、太常顧譚、驃騎將軍朱據、會稽太守滕胤、大都督施績、尚書丁密等奉禮而行,宗事太子,驃騎將軍步隲、鎮南將軍呂岱、大司馬全琮、左將軍呂據、中書令孫弘等附魯王,中外官僚將軍大臣舉國中分。) อรรถาธิบายขากทง-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 59.
- ↑ (初,孫和為太子時,全主譖害王夫人,欲廢太子,立魯王,朱主不聽,由是有隙。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (初,全主譖王夫人並廢太子和,欲立魯肅王霸為嗣。朱主不聽,全主恨之。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4.
- ↑ (時全寄、吳安、孫奇、楊笁等陰共附霸,圖危太子。譖毀旣行,太子以敗,霸亦賜死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 59.
- ↑ (... 遂左遷新都郡丞。未到,中書令孫弘譖潤據,因權寢疾,弘為昭書追賜死,時年五十七。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 57.
- ↑ (... 後配劉纂。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (吳歷曰:纂先尚權中女,早卒,故又以小虎為繼室。) อรรถาธิบายจากอู๋ลี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (五鳳中,孫儀謀殺峻,事覺被誅。全主因言朱主與儀同謀,峻枉殺朱主。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (及少帝即位,孫儀謀殺孫峻事覺,伏誅。全主因譖朱主,埋於石子崗。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4.
- ↑ (孫亮時,二子熊、損各復領兵,為全公主所譖,皆死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 57.
- ↑ (太平中,孫亮知朱主為全主所害,問朱主死意?全主懼曰:「我實不知,皆據二子熊、損所白。」亮殺熊、損。損妻是峻妹也,) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
- ↑ (亮內嫌綝,乃推魯育見殺本末,責怒虎林督朱熊、熊弟外部督朱損不匡正孫峻,乃令丁奉殺熊於虎林,殺損於建業。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 64.
- ↑ (永安元年十二月丁卯, ... 闓乘船欲北降,追殺之。夷三族。發孫峻棺,取其印綬,斲其木而埋之,以殺魯育等故也。綝死時年二十八。休恥與峻、綝同族。特除其屬籍,稱之曰故峻、故綝云。休又下詔曰:「諸葛恪、滕胤、呂據蓋以無罪為峻、綝兄弟所見殘害,可為痛心,促皆改葬,各為祭奠。其罹恪等事見遠徙者,一切召還。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 64.
- ↑ ([元興元年]冬十月, ... 以禮葬魯育公主。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4.
- ↑ (案,《搜神記》:後主欲改葬主,塚瘞相亞,不可識別,而宮人頗有識主亡時衣服,乃使兩巫各住一處以伺其靈,使察戰監之,不得相近。久之,二巫各見一女,年三十餘,上著青錦束頭,紫白夾裳,丹綈絲屨,從石子崗上半崗,而以手抑膝長息,小住須臾,進一塚上便止,徘徊,奄然不見。二巫不謀而言同,遂開棺,衣服與所言同爾。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- สฺวี่ ซง (ป. ศตวรรษที่ 8). เจี้ยนคางฉือลู่ (建康實錄).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.