ซีแอตเทิล

(เปลี่ยนทางจาก ซีแอตเติล)

ซีแอตเทิล (อังกฤษ: Seattle) เป็นเมืองท่าบนชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ตั้งอยู่ในคิงเคาน์ตี รัฐวอชิงตัน ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐวอชิงตันและภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ การสำมะโนครัวใน ค.ศ. 2019 เปิดเผยว่าเขตมหานครซีแอตเทิลมีประชากร 3.98 ล้านคน นับเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 15 ของสหรัฐ[9] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ซีแอตเทิลเป็นเมืองหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐ[10] และยังคงอยู่ในห้าอันดับแรกจากการจัดอันดับในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 2.1 ต่อปี[11] เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 ซีแอตเทิลกลับมาเป็นเมืองหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 3.1 ต่อปี[12]

ซีแอตเทิล
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพถ่ายทางอากาศของย่านใจกลางเมืองโดยมีภูเขาเรเนียร์เป็นฉากหลัง, ทีโมไบล์พาร์ก, ไพก์เพลสมาร์เก็ต, สเปซนีดเดิล, ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ซีแอตเทิล, ลานจัตุรัสในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และอะเมซอนสเฟียส์.
สมญา: 
นครมรกต นครแห่งเรือ นครแห่งสายฝน
คำขวัญ: 
นครแห่งดอกไม้ นครแห่งความปรารถนาดี
ที่ตั้งในคิงเคาน์ตี
ที่ตั้งในคิงเคาน์ตี
ซีแอตเทิลตั้งอยู่ในสหรัฐ
ซีแอตเทิล
ซีแอตเทิล
ที่ตั้งในสหรัฐ
พิกัด: 47°36′35″N 122°19′59″W / 47.60972°N 122.33306°W / 47.60972; -122.33306
ประเทศสหรัฐ
รัฐวอชิงตัน
เคาน์ตีคิง
สถาปนาค.ศ. 1851
เริ่มปกครองแบบเทศบาล2 ธันวาคม ค.ศ. 1869
ตั้งชื่อจากChief Si'ahl
การปกครอง
 • ประเภทสภา–นายกเทศมนตรี
 • องค์กรสภานครซีแอตเทิล
 • นายกเทศมนตรีบรูซ ฮาร์เรลล์ (เดโมแครต)
 • รองนายกเทศมนตรีไมเคิล ฟอง และเชฟาลี แรนกานาทัน
พื้นที่[1]
 • นคร142.07 ตร.ไมล์ (367.97 ตร.กม.)
 • พื้นดิน83.99 ตร.ไมล์ (217.54 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ58.08 ตร.ไมล์ (150.43 ตร.กม.)
 • รวมปริมณฑล8,186 ตร.ไมล์ (21,202 ตร.กม.)
ความสูง175 ฟุต (53 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด520 ฟุต (158 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด0 ฟุต (0 เมตร)
ประชากร
 (2010)[2]
 • นคร608,660 คน
 • ประมาณ 
(2019)[3]
753,675 คน
 • อันดับอันดับที่ 18 ในสหรัฐ
 • ความหนาแน่น8,973.18 คน/ตร.ไมล์ (3,464.55 คน/ตร.กม.)
 • เขตเมือง3,059,393 (อันดับที่ 14 ในสหรัฐ) คน
 • รวมปริมณฑล3,979,845 (อันดับที่ 15 ในสหรัฐ) คน
 • CSA4,903,675 (อันดับที่ 14 ในสหรัฐ)
เดมะนิมSeattleite[4] or Seattlite[5]
เขตเวลาUTC−8 (PST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−7 (PDT)
รหัสไปรษณีย์
รหัสไปรษณีย์[6][7]
รหัสพื้นที่206
รหัสมาตรฐานในการแปรข้อมูลสู่รัฐบาลกลาง53-63000
รหัสระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์1512650[8]
เว็บไซต์Seattle.gov Edit this at Wikidata

ซีแอตเทิลตั้งอยู่บนคอคอดระหว่างพิวเจ็ตซาวนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลสาบวอชิงตัน เป็นนครใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของสหรัฐ อยู่ห่างจากชายแดนแคนาดาไปทางทิศใต้ประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) ซีแอตเทิลนับเป็นประตูการค้าหลักสู่เอเชีย โดยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในอเมริกาเหนือในแง่ของการรองรับตู้บรรจุสินค้าใน ค.ศ. 2015[13]

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของซีแอตเทิลเมื่อ 4,000 ปีก่อนที่จะมีผู้ตั้งถิ่นฐานจากยุโรปเข้ามา[14] อาร์เทอร์ เดนนี พร้อมด้วยคณะเดินทางของเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อพรรคพวกเดนนี เดินทางด้วยเรือใบ เอ็กแซ็กต์ จากรัฐอิลลินอย ผ่านพอร์ตแลนด์ และมาถึงอัลไคพอยต์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851[15] ต่อมาได้มีการย้ายนิคมไปยังชายฝั่งทิศตะวันออกของอ่าวเอลเลียต และตั้งชื่อนิคมใหม่นี้ว่า "ซีแอตเทิล" ใน ค.ศ. 1852 เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านซีแอตเทิลซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่าดูวามิชและซูควอมิช ปัจจุบัน ซีแอตเทิลมีประชากรเป็นจำนวนมากทั้งชาวพื้นเมือง ชาวสแกนดิเนเวีย ชาวเอเชีย และชาวแอฟริกันอเมริกัน นอกจากนี่ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ[16]

การทำไม้เคยเป็นอุตสาหกรรมหลักลำดับแรก ๆ ของเมือง แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เมืองกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและการต่อเรือ และเป็นประตูสู่อะแลสกาในช่วงยุคการตื่นทองคลอนไดก์ ซีแอตเทิลเติบโตขึ้นอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยมีส่วนจากการที่บริษัทโบอิงใช้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางในการสร้างเครื่องบิน ต่อมาซีแอตเทิลพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลนีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 โดยมีการก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ในพื้นที่นี้ บิลล์ เกตส์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ เป็นชาวซีแอตเทิลโดยกำเนิด บริษัทค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต แอมะซอนก่อตั้งที่ซีแอตเทิลใน ค.ศ. 1994 และสายการบินหลักอย่างอะลาสกาแอร์ไลน์ ให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติซีแอตเทิล–ทาโคมาซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของเมือง การสตรีมของระบบซอฟต์แวร์ใหม่ นาโนเทคโนโลยี และบริษัทอินเทอร์เน็ต มีส่วนช่วยให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ประชากรของเมืองเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 คนในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง 2000

ซีแอตเทิลมีประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่โดดเด่น โดยในช่วง ค.ศ. 1918 ถึง 1951 มีวงแจ๊สที่เล่นดนตรีกลางคืนบนถนนแจ็กสัน ตั้งแต่เขตไชนาทาวน์/นานาชาติไปจนถึงเขตเซ็นทรัล การเล่นดนตรีแจ๊สทำให้หลายคนมีเส้นทางอาชีพที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรย์ ชาลส์, ควินซี โจนส์ และเออร์เนสไตน์ แอนเดอร์สัน ซีแอตเทิลยังเป็นบ้านเกิดของนักดนตรีร็อก จิมิ เฮนดริกซ์ และเป็นถิ่นกำเนิดของวงเนอร์วานา, เพิร์ลแจม, ซาวด์การ์เดน, อลิซอินเชนส์, ฟูไฟเตอส์ และดนตรีแนวกรันจ์[17]

เมืองพี่น้อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "2019 U.S. Gazetteer Files". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ August 7, 2020.
  2. "U.S. Census website". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ December 19, 2012.
  3. "Annual Estimates of the Resident Population for Incorporated Places in Washington: April 1, 2010 to July 1, 2019". United States Census Bureau. May 2020. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  4. Balk, Gene (October 2, 2012). "When can you call yourself a Seattleite?". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
  5. Wilson-Codega, Lily. "About Seattle Sister Cities – Sister Cities | seattle.gov". City of Seattle. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
  6. "Zip Code Lookup". USPS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2015.
  7. "Zip Code Lookup". USPS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2015.
  8. "Seattle". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey.
  9. Balk, Gene (March 26, 2018). "Seattle just one of 5 big metros last year that had more people move here than leave, census data show". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ May 7, 2018.
  10. Balk, Gene (May 22, 2014). "Census: Seattle is the fastest-growing big city in the U.S." The Seattle Times. FYI Guy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2018. สืบค้นเมื่อ May 27, 2014.
  11. Balk, Gene (May 21, 2015). "Seattle no longer America's fastest-growing big city". The Seattle Times. FYI Guy. สืบค้นเมื่อ November 20, 2015.
  12. Balk, Gene (May 25, 2017). "Seattle once again nation's fastest-growing big city; population exceeds 700,000". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ May 30, 2017.
  13. "Seaport Statistics". Port of Seattle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ January 28, 2016.
  14. Doree Armstrong (October 4, 2007). "Feel the beat of history in the park and concert hall at two family-friendly events". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ November 1, 2007.
  15. Andrew Craig Magnuson (July 20, 2014). "In Search of the Schooner Exact". Andrew Craig Magnuson. สืบค้นเมื่อ September 27, 2014.
  16. Gene Balk (March 20, 2015). "Survey ranks Seattle area 5th for LGBT population – so many people is that?". The Seattle Times.
  17. Heylin, Clinton (2007). Babylon's Burning: From Punk to Grunge. Conongate. p. 606. ISBN 978-1-84195-879-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้