ชเวซีนโก้น
พระนางชเวซีนโก้น (พม่า: ရွှေစင်ကုံး, ออกเสียง: [ʃwè.zɪ̀ɰ̃.ɡóʊ̯ɰ̃]) หรือ มี่นชเวโก้น (Min Shwe Gon)[1] เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าบาเยงทเวแห่งแปร (ครองราชย์ราว ค.ศ. 1526–1532) พระนางเป็นเชื้อพระวงศ์อังวะและพระธิดาของมังกะยอชวาแห่งแปร (ดำรงพระยศราว ค.ศ. 1446–1482) อุปราชแห่งเมืองแปร[2] ใน ค.ศ. 1482 เมื่อพระเจ้าตะโดเมงสอแห่งแปร พระปิตุลา (อา) ของพระองค์เข้าครอบครองเมืองแปรและสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์[3] พระเจ้าตะโดเมงเสอก็ได้สถาปนาซอเมียะเล่ พระมารดาของพระนาง เป็นพระอัครมเหสี ส่วนพระนางในภายหลังก็ได้อภิเษกกับพระเจ้าบาเยงทเว ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่ 1 และพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าตะโดเมงสอ พระเจ้านรปติแห่งแปร พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระนาง ได้เป็นกษัตริย์แห่งแปรระหว่าง ค.ศ. 1532–1539[4]
ชเวซีนโก้น ရွှေစင်ကုံး | |
---|---|
อัครมเหสีแห่งแปร | |
ดำรงพระยศ | ค.ศ. 1526–1532 |
ก่อนหน้า | ซอเมียะเล่ |
ถัดไป | พระนางจันทาเทวี |
ประสูติ | ป. คริสต์ทศวรรษ 1470 แปร อาณาจักรอังวะ |
สวรรคต | ? แปร? |
คู่อภิเษก | พระเจ้าบาเยงทเว |
พระราชบุตร | พระเจ้านรปติแห่งแปร Mingyi Saw พระราชธิดาไม่ทราบพระนาม สาลินมิบะยา |
ราชวงศ์ | อังวะ |
พระราชบิดา | มังกะยอชวาแห่งแปร |
พระราชมารดา | ซอเมียะเล่ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
บรรพบุรุษ
แก้พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องจากพระราชโอรสธิดา 11 องค์แด่มังกะยอชวาแห่งแปรกับซอเมียะเล่[5] ตารางด้านล่างเป็นรายงานบรรพบุรุษจากพงศาวดารมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว[note 1]
8. พระเจ้าโม่ญี่นตะโด้ | ||||||||||||||||
4. พระเจ้านรปติที่ 1 แห่งอังวะ | ||||||||||||||||
9. Shin Mi Myat | ||||||||||||||||
2. มังกะยอชวาแห่งแปร | ||||||||||||||||
10. (=12) Thinkhaya of Pagan | ||||||||||||||||
5. พระนางอตุลสิริมหาราชเทวี | ||||||||||||||||
11. (=13) Saw Min Pu | ||||||||||||||||
1. ชเวซีนโก้น | ||||||||||||||||
12. (=10) Thinkhaya of Pagan | ||||||||||||||||
6. ซอ-ชเวแคะแห่งแปร | ||||||||||||||||
13. (=11) Saw Min Pu | ||||||||||||||||
3. ซอเมียะเล่ | ||||||||||||||||
14. มังรายกะยอชวา | ||||||||||||||||
7. ซอมี่น-พยู | ||||||||||||||||
15. ซอมี่นละ | ||||||||||||||||
หมายเหตุ
แก้- ↑ สำหรับพระราชบิดามารดา ดู (Hmannan Vol. 3 2003: 88) สำหรับบรรพบุรุษเพิ่มเติม ดู (Hmannan Vol. 2 2003: 82–84)
อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.