ชีอะฮ์สิบสองอิหม่าม
สิบสองอิหม่าม (อาหรับ: ٱثْنَا عَشَرِيَّة; ʾIthnā ʿAšarīyah เปอร์เซีย: شیعه دوازدهامامی, Šī'eh-ye Davâzdah-Emâmī) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิมามียะฮ์ (อาหรับ: إِمَامِيَّة) เป็นสาขาของชีอะฮ์ที่นับถือมากที่สุด คำว่า สิบสองอิหม่าม อิงถึงหัวหน้าทั้งสิบสองที่รู้จักในชื่อสิบสองอิหม่าม และความเชื่อว่า อิหม่ามมะฮ์ดี อิมามคนสุดท้ายที่ลึกลับ จะปรากฏอีกครั้งพร้อมกับการมาของอีซา เพื่อฆ่า ดัจญาล
ชีอะฮ์สิบสองอิหม่ามเป็นสาขาที่มีคนนับถือมากที่สุด โดยนับถือไป 85% ของชีอะฮ์ทั้งหมด หรือประมาณ 150 ถึง 200 ล้านคน[1][2][3][4]
สิบสองอิหม่ามเป็นที่นับถือส่วนใหญ่ในประเทศอิหร่าน, อาเซอร์ไบจาน, อิรัก, เลบานอน, บาห์เรน และส่วนน้อยในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ซาอุดีอาระเบีย, บังกลาเทศ, คูเวต, โอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กาตาร์, ไนจีเรีย, ชาด และแทนซาเนีย[5][6][7][8][9][10]
คำศัพท์แก้ไข
สิบสองอิหม่าม เป็นฐานความเชื่อถึงลูกหลานชายทั้งสิบสองคนในพงศาวลีของมุฮัมมัด เริ่มด้วยอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ และสิ้นสุดที่มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี เป็นอิมามที่มีอำนาจทางศาสนาและการเมือง[11]
สิบสองอิหม่ามถูกเรียกอีกหลายชื่อ ได้แก่:
- ชีอะฮ์ อิงถึงกลุ่มของมุสลิมที่เชื่อว่าผู้สืบทอดของมุฮัมมัดต้องเป็นสมาชิกครอบครัวของท่านเท่านั้น[12] ตาบะตาบัยกล่าวว่าคำนี้สื่อถึงพรรคพวกของอะลีในสมัยของมุฮัมมัด[13]
- ญะอ์ฟารี อิงถึงโรงเรียนกฎหมายของสิบสองอิหม่าม โดยมีต้นตอจากชื่อ ญะอ์ฟัร อัศศอดิก ผู้เป็นอิมามคนที่ 6 ที่ได้ฉายา "ผู้เรียบเรียงกฎหมาย"[14] ญะอ์ฟัร อัศศอดิก เป็นที่ให้เกียรติและอิงโดยผู้ก่อตั้งมัซฮับฮะนะฟีและมาลิกีของซุนนี[15]
- อิมามี หรือ อิมามียะฮ์ อิงถึงความเชื่อของสิบสองอิหม่ามว่าเหล่าอิมามไม่เคยผิดพลาด ถึงแม้ว่าสาขาอิสมาอิลีจะมีความเชื่อหมือนกัน แต่ฝ่ายสิบสองอิหม่ามเชื่อว่าผู้นำทางสังคมหลังจากมุฮัมมัดที่สืบเชื้อสายจากอะลีและผู้สืบทอดทั้ง 11 คน มีคุณสมบัติความไม่ผิดพลาดทั้งสิบสี่[16]
ชะรีอะฮ์ (ฟุรูอุดดีน)แก้ไข
รายงานจากนัสร์ รากศัพท์ของชะรีอะฮ์คือชัรอ์ ซึ่งหมายถึงเส้นทางที่ชายและหญิงคนติดตาม เขาเขียนเพิ่มเติมว่า มุสลิมควรตามชะรีอะฮ์ควบคู่กับกฎหมายทางการ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ คือ: จำเป็น (วาญิบ), แนะนำ (มันดูบ), น่าตำหนิ หรือ น่ารังเกียจ (มักรูฮ), ต้องห้าม (ฮะรอม) และทำในสิ่งที่กฎหมายของพระเจ้าไม่ได้แตกต่าง (มุบาฮ์) รากของชะรีอะฮ์คืออัลกุรอาน ส่วนฮะดีษและซุนนะฮ์เป็นหลักฐานชั้นรองของชะรีอะฮ์และเป็นส่วนประกอบของอัลกุรอาน ชะรีอะฮ์มีข้อกฎหมายที่แปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ยังคงใช้ได้กับสถานการณ์ใหม่[17]
- ละหมาด – เป็นการละหมาดประจำวัน 5 ครั้ง ในภาษาเปอร์เซียกับภาษาอุรดูเรียกว่า นมาซ
- ศีลอด – ถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอน ภาษาเปอร์เซียเรียกว่า รูเซะฮ์
- ซะกาต
- คุมส์ ("หนึ่งส่วนห้า" ของเงินเก็บ) – ภาษี
- ฮัจญ์ – ดำเนินการแสวงบุญที่มักกะฮ์
- ญิฮาด (ดิ้นรน) – การดิ้นรนเพื่อให้พระเจ้าพอใจ การญิฮาดต่อความชั่วร้ายของวิญญาณในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ญิฮาดอัตบาร ส่วนญิฮาดภายนอกต่อสภาพแวดล้อมอันชั่วร้ายในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ญิฮาดอัสฆ็อร อย่าเข้าใจผิดกับความหมายในปัจจุบัน ซึ่งเข้าใจผิดเป็น "สงครามศักดิ์สิทธิ์" การเขียนความจริง (ญิฮาดบิลเกาะลัม "การดิ้นรนด้วยปากกา") และพูดความจริงต่อหน้าผู้กดขี่เป็นรูปแบบหนึ่งของญิฮาดด้วย
- ทำในสิ่งที่สั่ง
- ละทิ้งในสิ่งชั่วร้าย
- ตะวัลลา – รักอะฮ์ลุลบัยต์กับผู้ติดตามของพวกท่าน
- ตะบัรรอ – ละทิ้งจากศัตรูของอะฮ์ลุลบัยต์[18]
ความแตกต่างแก้ไข
การอำพราง (ตะกียะฮ์)แก้ไข
ตามชีอะฮ์ การกระทำในด้านศาสนาเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน แต่ถ้าการแสดงความศรัทธาอาจทำให้ชีวิต, เกียรติยศ และทรัพย์สมบัติของคนหนึ่งตกอยู่ในอันตราย เขาสามารถปกปิดความศรัทธาตามอายะฮ์ 16: 106 ว่า เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอต่อหน้าทรราช[19] เป็นเรื่องต้องห้ามถ้าการปกปิดทำให้ศาสนาหรืออุดมการณ์ของศาสนาหายไป แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฆ่า ก็ไม่ต้องอำพราง เพราะไม่มีที่ใดอำพรางต่อการสอนศาสนา[20] บริเวณที่ชีอะฮ์เป็นชนส่วนน้อยภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่ต่อต้านความเชื่อของพวกเขา พวกเขาเลือกที่จะอยู่อย่างระมัดระวังเพื่อเลี่ยงการสูญเสีย[21]
มุตอะฮ์: การแต่งงานชั่วคราวแก้ไข
นิกาฮ์อัลมุตอะฮ์ (อาหรับ: نكاح المتعة แปลตรงตัว "แต่งงานเพื่อความสุข")[22] หรือ ซิเฆาะฮ์ เป็นการแต่งงานตามกลุ่มอุศูลีชะรีอะฮ์ของชีอะฮ์ ซึ่งเป็นการแต่งงานจำกัดเวลา แล้วค่อยหย่าเมื่อหมดเวลา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายซุนนีถือว่าเป็น ฮะรอม (ต้องห้าม) และเป็นหัวข้อ ฟิกฮ์ ที่โต้แย้งกันมากที่สุด ทั้งฝ่ายซุนนีกับชีอะฮ์มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ตงข้ามกัน ซุนนีบางกลุ่มยอมรับนิกาฮ์มิซยาร[23]
มีการอ้างว่ามุตอะฮ์มีมาตั้งแต่สมัยของมุฮัมมัด และในช่วงนั้นยังไม่เป็นที่ต้องห้าม ชีอะฮ์เชื่อว่า สิ่งที่อนุญาตในสมัยมุฮัมมัด ยังคงได้รับการอนุญาตในภายหลัง มุตอะฮ์ถูกปฏิบัติมาในช่วงที่มุฮัมมัดได้รับวะฮ์ยู จนกระทั่งสมัยอุมัรที่นำอายะฮ์ 70: 29 มาโต้แย้ง[24]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ worldatlas.com
- ↑ worldometers.info
- ↑ Atlas of the Middle East (Second ed.). Washington D.C: National Geographic 2008
- ↑ The World Factbook 2010 & Retrieved 2010-08-25.
- ↑ "Shia women too can initiate divorce". The Times of India. November 6, 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
- ↑ "Talaq rights proposed for Shia women". Daily News and Analysis, www. dnaindia.com. 5 November 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
- ↑ "Obama's Overtures". The Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
- ↑ "Imperialism and Divide & Rule Policy". Boloji. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
- ↑ "Ahmadinejad on way, NSA says India to be impacted if Iran 'wronged by others'". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
- ↑ http://merln.ndu.edu/archive/icg/shiitequestion.pdf เก็บถาวร 2008-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Crisis Group. The Shiite Question in Saudi Arabia, Middle East Report No. 45, 19 Sep
- ↑ Campo 2009, p. 676
- ↑ Nasr, pp. 143–144
- ↑ Tabataba'ei 1975, p. 34
- ↑ Kahlmeyer, André; Janin, Hunt (9 January 2015). Islamic Law: The Sharia from Muhammad's Time to the Present. McFarland. p. 25. ISBN 9781476608815.
- ↑ Momen 2015, p. chapter 2
- ↑ Wynbrandt, James (14 May 2014). A Brief History of Saudi Arabia. Infobase Publishing. p. 64. ISBN 9781438108308.
- ↑ Nasr 2007, pp. 75–80
- ↑ Momen, Moojan. An Introduction to Shi'i Islam: The History and Doctrines of Twelver Shi'ism. 1987. pp. 176 – 181. Yale University Press. ISBN 978-0-300-03531-5.
- ↑ Sobhani 2001, p. 150
- ↑ Sobhani 2001, p. 153
- ↑ Nasr, Dabashi & Nasr 1988, p. 206
- ↑ Mut'ah from Encyclopædia Britannica.
- ↑ Mahmood, Shabnam; Nye, Catrin (13 May 2013). "I do... for now. UK Muslims revive temporary marriages". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 May 2013.
- ↑ Nasr, Dabashi & Nasr 1988, p. 215
สารานุกรมแก้ไข
- Black, Antony (2011). The history of Islamic political thought from the prophet to the present. Edinburgh: Edinburgh University Press. ISBN 978-0-7486-3987-8.
- Corbin, Henry (1993). History of Islamic Philosophy, Translated by Liadain Sherrard, Philip Sherrard. London; Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 0-7103-0416-1.
- Cornell, Vincent J. (2007). Voices of Islam. Westport, Conn.: Praeger Publishers. ISBN 978-0-275-98732-9.
- Dabashi, Hamid (1989). Authority in Islam: from the rise of Muhammad to the establishment of the Umayyads. New Brunswick, U.S.A.: Transaction Publishers. ISBN 978-0-88738-288-8.
- Daftary, Farhad (2013). A history of Shi'i Islam. ISBN 978-0-85773-524-9.
- Faruki, Kemal (1965). "Tawhid and the doctrine of Ismah". Islamic Studies. 4 (1): 31–43. JSTOR 20832784.
- Halm, Heinz; translated from the German by Allison (1997). Shi'a Islam: from religion to revolution (2. printing ed.). Princeton, NJ: Markus Wiener Publishers. ISBN 978-1-55876-134-6.
- Kraemer, Joel L. (1992). Humanism in the Renaissance of Islam: The Cultural Revival During the Buyid Age. BRILL. ISBN 978-90-04-09736-0.
- Lakhani, M. Ali; Shah Kazemi, Reza; Lewisohn, Leonard (2006). The Sacred Foundations of Justice in Islam: The Teachings of ʻAlī Ibn Abī Ṭālib. World Wisdom, Inc. ISBN 978-1-933316-26-0.
- Momen, Moojan (1985). An Introduction to Shi'i Islam: the History and Doctrines of Twelver Shi'ism. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-03531-5.
- Motahari, Morteza (1985). Fundamentals of Islamic thought: God, man, and the universe. Mizan Press. OCLC 909092922.
- Murata, Sachiko; Chittick, William (1994). Vision of Islam: reflecting on the Hadith of Gabriel (1st ed.). New York, NY: Paragon House. ISBN 978-1-55778-516-9.
- Nasr, Hossein; Dabashi, Hamid; Nasr, Vali (1988). Shiʻism doctrines, thought, and spirituality. Albany: SUNY. ISBN 978-0-585-08860-0.
- Nasr, Seyyed Hossein; Leaman, Oliver (2001). History of Islamic Philosophy. London: Routledge. ISBN 978-0-415-25934-7.
- Nasr, Seyyed Hossein (2002). The heart of Islam enduring values for humanity. Pymble, NSW: PerfectBound. ISBN 0-06-051665-8.
- Nasr, Seyyed Hossein (2006). Islamic Philosophy from Its Origin to the Present. SUNY Press. ISBN 978-0-7914-6799-2.
- Nasr, Seyyed Hossein (2000). Ideals and realities of Islam (New rev. ed.). Chicago, IL: ABC International Group. ISBN 978-1-930637-11-5.
- Nasr; Dabashi; Nasr (1989). Expectation of the Millennium Shiʻism in History. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-0-585-07849-6.
- Nasr, Seyyed Hossein (2007). Islam religion, history, and civilization. Pymble, NSW: HarperCollins e-books. ISBN 978-0-06-155642-5.
- Nasr, Seyyed Hossein (2008). Islamic spirituality : foundations. London: Routledge. ISBN 978-0-415-44262-6.
- Rizvi, Sayyid Muhammad (1992). Khums, An Islamic Tax. Ansaryan.
- Rizvi, Sayyid Muhammad (2004). Islam: Faith, Practice & History. Ansariyan Publications. ISBN 978-964-438-620-6.
- Sachedina, Abdulaziz Abdulhussein (1988). The Just Ruler (al-sultān Al-ʻādil) in Shī'ite Islam: The Comprehensive Authority of the Jurist in Imamite Jurisprudence. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-511915-2.
- Sobhani, Ja'far; Shah-Kazemi, Reza (2001). The Doctrines of Shi'ism: A Compendium of Imami Beliefs and Practices. I. B. Tauris. ISBN 978-1-86064-780-2.
- Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1979). Shi'ite Islam. Hossein Nasr (translator). SUNY press. ISBN 0-87395-272-3.
- Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1983). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 1. WOFIS. OCLC 311256759.
- Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1984). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 2. WOFIS.
- Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1982). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 3. WOFIS.
- Tabataba'ei, Sayyid Mohammad Hosayn (1986). Al-Mīzān: an exegesis of the Qurʼān. Vol. 6. WOFIS.
- Vaezi, Ahmad (2004). Shia political thought. London: Islamic Centre of England. ISBN 978-1-904934-01-1.
- Weiss, Bernard G. (2006). The Spirit of Islamic Law. University of Georgia Press. ISBN 978-0-8203-2827-0.
อ่านเพิ่มแก้ไข
- The book "Durr-e-Mansoor dar Halaat-e-Ulama-e-Zangipur"
- The book "MATLA-e-ANWAR" (By Maulana Murtaza Husain Sadrul-Afazil)
- The book "KHURSHEED-e-KHAWAR" (By Maulan Saeed Akhtar Gopalpuri)
- The thesis on "Life of Jawad-ul-Ulama" research work of Dr. Inayet Ali (Aligarh Muslim University)
- The booklet "Haqnuma" published Jamia-Imania, Banaras.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ชีอะฮ์สิบสองอิหม่าม |
- A brief introduction of Twelve Imams
- A Brief History Of The Lives Of The Twelve Imams a chapter of Shi'a Islam (book) by Muhammad Husayn Tabatabaei
- A Short History of the Lives of The Twelve Imams
- Ithna 'Ashariyah An article by Encyclopædia Britannica online
- Twelver Media Source เก็บถาวร 2018-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน