โบสถ์น้อยสโกรเวญญี

(เปลี่ยนทางจาก ชาเปลสโครเวนยี)

ชาเปลสโครเวนยี หรือ ชาเปลอารีนา (อิตาลี: Cappella degli Scrovegni, อังกฤษ: Scrovegni Chapel หรือ Arena Chapel) เป็นชาเปลของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก

ชาเปลสโครเวนยี
Cappella degli Scrovegni
สโครเวนยี
แผนที่
43°46′13″N 11°15′03″E / 43.77028°N 11.25083°E / 43.77028; 11.25083
ที่ตั้งปาดัว
ประเทศ ประเทศอิตาลี
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์สโครเวนยี
สถานะชาเปล
รูปแบบสถาปัตย์โรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก
ปีสร้างค.ศ. 1305
ที่ตั้งของจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเน

ชาเปลสโครเวนยีมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1305 ที่เป็นงานศิลปะชิ้นเอกที่มีความสำคัญที่สุดในศิลปะตะวันตก ชาเปลอุทิศให้ “พระแม่มารีคาริตา” (Santa Maria della Carità) ในโอกาสการสมโภชน์การประกาศของเทพในปี ค.ศ. 1305 จิตรกรรมฝาผนังของจอตโตเป็นภาพชีวิตของพระแม่มารีเพื่อฉลองบทบาทในการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติของพระองค์ ชาเปลรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาเปลอารีนา” เพราะก่อตั้งบนที่ดินที่ซื้อโดยเอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีที่ติดกับโรงละครโรมัน (Amphitheatre) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการแห่ฉลองการสมโภชน์การประกาศของเทพมาเป็นเวลานานก่อนที่จะมาสร้างชาเปลแล้ว ในโอกาสวันอุทิศมาร์เคตโตดาปาโดวาก็ประพันธ์บทสรรเสริญ (Motet) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1305[1]

เอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีผู้มีอาชีพให้ยืมเงินเป็นผู้สั่งให้สร้างชาเปลส่วนตัวนี้ติดกับคฤหาสน์ของครอบครัวในบริเวณที่ดินที่กว้างขวาง กล่าวกันว่าเอ็นริโคสร้างชาเปลนี้เพื่อแก้บาปให้บิดา เรจินาลโด เดกลิ สโครเวนยีบิดาของสโครเวนยีเป็นคนขูดเลือด (usurer) ที่ดานเตกล่าวถึงว่าเป็นลำดับหนึ่งในเจ็ดลำดับของ “โทษภูมิ” ในมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าเอ็นริโคเองก็คิดดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อ ฉะนั้นการสร้างชาเปลจึงอาจจะเป็นการแก้บาปของตนเองก็เป็นได้[2] อนุสรณ์ของเอ็นริโคอยู่ในบริเวณมุขตะวันออกของชาเปล และภาพของเอ็นริโคปรากฏในภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ในการถวายชาเปลจำลองแก่พระแม่มารี

แม้ว่าจะเป็นชาเปลส่วนตัวของตระกูลแต่ก็ใช้ในโอกาสการฉลองการประกาศของเทพสำหรับสาธารณชนด้วย[3]

นอกจากจะมีงานจิตรกรรมของจอตโตแล้วชาเปลก็ไม่มีสิ่งตกแต่งอื่นใด มีเพดานเป็นแบบเพดานโค้งประทุน ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” เขียนบนผนังด้านในเหนือประตูทางเข้าทั้งผนัง แต่ละผนังจัดเป็นสามระดับของกลุ่มจิตรกรรม แต่ละระดับมีที่กว้างพอสำหรับภาพสี่ภาพที่แต่ละภาพกว้างสองตารางเมตร ด้านที่หันไปทางแท่นบูชาเริ่มเรื่องจากตอนบนขวาของผนังที่เป็นฉากชีวิตของพระแม่มารีที่รวมทั้งการประกาศของเทพแก่พระมารดาถึงการกำเนิดของพระองค์ และการนำพระองค์เข้าวัดเป็นครั้งแรก เรื่องดำเนินต่อไปจนถึงการประสูติของพระเยซู, ความทุกข์ทรมานของพระเยซู และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขน สิ่งที่มีลักษณะเด่นของจิตรกรรมชุดนี้คือการแสดงอารมณ์อันรุนแรงของภาพ, ลักษณะตัวแบบ และ ความเป็นธรรมชาติ จอตโตแยกภาพจากกันโดยการวาดสิ่งตกแต่งทางสถาปัตยกรรมเป็นภาพหินอ่อนและคูหา

ลำดับภาพ แก้

 
โยฮาคิมถูกขับจากวัด
 
พระเยซูล้างเท้าให้สาวก
 
การจูบของจูดาส์
 
สโครเวนยีมอบชาเปลจำลองแก่พระแม่มารี

ภาพที่เขียนในชาเปลเป็นภาพ “ชีวิตของพระแม่มารี” และต่อด้วย “ชีวิตของพระเยซู” ตามลำดับข้างล่างนี้

อ้างอิง แก้

  1. An acrostic in the motet's text suggests Marchetto was the composer.
  2. Anne Derbes and Mark Sandona, The Usurer's Heart: Giotto, Enrico Scrovegni, and the Arena Chapel in Padua. Pennsylvania State University Press, 2008.
  3. The connection of the Annunciation of the fresco cycles and the feast is explored by Laura Jacobus, "Giotto's Annunciation in the Arena Chapel, Padua" The Art Bulletin 81.1 (March 1999), pp. 93-107.

บรรณานุกรม แก้

  • Giuliano Pisani, L’ispirazione filosofico-teologica nella sequenza Vizi-Virtù della Cappella degli Scrovegni, «Bollettino del Museo Civico di Padova», XCIII, 2004, Milano 2005, pp. 61–97.
  • Giuliano Pisani, Terapia umana e divina nella Cappella degli Scrovegni, in «Il Governo delle cose», dir. Franco Cardini, Firenze, n. 51, anno VI, 2006, pp. 97–106.
  • Giuliano Pisani, L’iconologia di Cristo Giudice nella Cappella degli Scrovegni di Giotto, in «Bollettino del Museo Civico di Padova», XCV, 2006, pp. 45–65.
  • Giuliano Pisani, Le allegorie della sovrapporta laterale d’accesso alla Cappella degli Scrovegni di Giotto, in «Bollettino del Museo Civico di Padova», XCV, 2006, pp. 67–77.
  • Giuliano Pisani, Il miracolo della Cappella degli Scrovegni di Giotto, in ModernitasFestival della modernità (Milano 22-25 giugno 2006), Spirali, Milano 2006, pp. 329–57.
  • Giuliano Pisani, Una nuova interpretazione del ciclo giottesco agli Scrovegni, in «Padova e il suo territorio», XXII, 125, 2007, pp. 4–8.
  • Giuliano Pisani, I volti segreti di Giotto. Le rivelazioni della Cappella degli Scrovegni, Rizzoli, Milano 2008 (ISBN 978-88-17-02722-9).
  • Giuliano Pisani, Il programma della Cappella degli Scrovegni, in Giotto e il Trecento, catalogo a cura di A. Tomei, Skira, Milano 2009, I – I saggi, pp. 113–127.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ชาเปลสโครเวนยี

ระเบียงภาพ แก้