ยูดาสอิสคาริโอท
ยูดาสอิสคาริโอท (อังกฤษ: Judas Iscariot; ฮีบรู: יהודה איש־קריות Yəhûḏāh ʾΚ-qəriyyôṯ) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซูผู้กล่าวว่ามีหน้าที่ถือ “ถุงเงิน” (ภาษากรีก: γλωσσόκομον) [1] และเป็นผู้ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซูโดยการบอกทหารประจำพระวิหารว่าใครคือพระเยซูซึ่งเป็นผลให้พระเยซูถูกจับ[2]
รากคำ
แก้ในภาษากรีกในพันธสัญญาใหม่ ยูดาสอิสคาริโอทเรียกว่า “Ιούδας Ισκάριωθ” (Ioúdas Iskáriōth) และ “Ισκαριώτης” (Iskariṓtēs)
“Judas” สะกด “Ioudas” ในภาษากรีกโบราณ และ “Iudas” ในภาษาละตินซึ่งออกเสียง “ยูดาส” ทั้งสองภาษา และเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วไป “Judah” (יהודה, Yehûdâh, ภาษาฮิบรูสำหรับ “พระเจ้าทรงเป็นที่สรรเสริญ” (God is praised) การสะกดเช่นนี้เป็นพื้นฐานของการสะกดชื่อในพันธสัญญาใหม่ที่มาเป็นภาษาอังกฤษว่า “จูดาส” (Judas) หรือ “จูด” (Jude) หรือ (Judh)
ความสำคัญของ “อิสคาริโอท” ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน การสันนิษฐานมีสองสมมติฐาน
- ที่น่าเป็นไปได้ที่สุดก็คือคำว่า “อิสคาริโอท” มาจากภาษาฮีบรูสำหรับ “איש־קריות” (Κ-Qrîyôth) ซึ่งหมายความว่า “ผู้มาจากเคริออท” (Kerioth) พระวรสารนักบุญยอห์นกล่าวถึงยูดาสว่าเป็น “บุตรของไซมอน อิสคาริโอท” (ยอห์น 6:71
) ซึ่งเป็นนัยว่าผู้ที่มาจากเคริโอทคือพ่อของยูดาสไม่ใช่ตัวยูดาสเอง[3] บางท่านก็กล่าวว่า “เคริออท” หมายถึงบริเวณหนึ่งในแคว้นยูเดีย แต่ “เคริออท” ก็เป็นชื่อของเมืองสองเมืองของแคว้นยูเดียด้วย[4]
- สมมติฐานที่สองกล่าวว่า “อิสคาริโอท” เป็นการบอกว่ายูดาสเป็นชาวยิวไซคารีอิ (Sicarii) [5] ซึ่งเป็นกลุ่มนักลอบสังหารในบรรดาชาวยิวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการยึดครองของชาวโรมันในแคว้นยูเดีย ซึ่งต้องการขับไล่โรมันออกจากยูเดีย แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่าชาวไซคารีมิได้ก่อตัวขึ้น กระทั่งราวคริสต์ทศวรรษ 40's หรือ 50's ของคริสต์ศตวรรษที่ 1 จึงเป็นไปไม่ได้ที่ยูดาสจะเป็นชาวยิวไซคารีอิ[6]
เพราะการที่ยูดาสมีบทในการเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซู ทำให้ชื่อ “ยูดาส” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันแพร่หลายในสมัยคริสตกาล หลังจากยูดาสทรยศพระเยซูแล้ว ความนิยมในการตั้งชื่อบุตรชาย "ยูดาส" จึงเสื่อมถอยลงไป เกือบหายไปในบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสเตียน แต่ชื่อ “ยูดาส” (Yudas) หรือ "ยูดาสดา" (Yudasdah) หรือ "จูดาสดา" (Judasdah) หรือ “เยฮูดา” (Yehuda) ในภาษาฮิบรู ยังเป็นชื่อที่ใช้กันในหมู่ชาวยิว หรือบางทีก็ใช้ “จูด” (Jude) หรือ (Judh) ในบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสต์
อ้างอิง
แก้- ↑ ยอห์น 12:6 , ยอห์น 13:29
- ↑ มัทธิว 26:14 , มัทธิว 26:47 , มาระโก 14:10 , มาระโก 14:42 , ลูกา 22:1 , ลูกา 22:47 , ยอห์น 13:18 , ยอห์น 18:1
- ↑ Richard Bauckham, Jesus and the Eyewitnesses: The Gospels as Eyewitness Testimony, Eerdmans (2006), page 106.
- ↑ New English Translation Bible, n. 11 in Matthew 11
- ↑ Bastiaan van Iersel, Mark: A Reader-Response Commentary, Continuum International (1998), page 167.
- ↑ Brown, Raymond E. (1994). The Death of the Messiah: From Gethsemane to the Grave: A Commentary on the Passion Narratives in the Four Gospels v.1 pp. 688-92. New York: Doubledays/The Anchor Bible Reference Library. ISBN 0-385-49448-3; Meier, John P. A Marginal Jew: Rethinking the Historical Jesus (2001). v. 3, p. 210. New York: Doubledays/The Anchor Bible Reference Library. ISBN 0-385-46993-4.