ชลธี ธารทอง มีนามเดิมว่า สมนึก ทองมา เป็นนักประพันธ์ชายเพลงไทยลูกทุ่ง มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก และได้สร้างนักร้องมีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนประดับวงการเพลงในประเทศไทย ชลธี ธารทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักประพันธ์เพลงลูกทุ่ง) ประจำปี 2542

ชลธี ธารทอง
ชลธีธาร.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด31 สิงหาคม พ.ศ. 2480 (85 ปี)
สมนึก ทองมา
คู่สมรสศศิวิมล ทองมา
อาชีพนักประพันธ์เพลง, นักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2511 - ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2542 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์)

ประวัติแก้ไข

ชลธี ธารทอง มีชื่อจริงว่า สมนึก ทองมา[1] เกิดเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2480 [2] ที่ จ.ชลบุรี พ่อมีอาชีพรับจ้างเร่ร่อนไปทั่ว แม่เจ็บท้องคลอดตอนกำลังเกี่ยวข้าว และตกเลือดตายตั้งแต่อายุ 6 เดือน ตอนเขาเกิด แม้แต่ผ้าขี้ริ้วที่จะนำมาทำผ้าอ้อมก็ยังไม่มี ชีวิตในวัยเด็กนั้นยากจน ชลธีเข้าเรียนชั้นประถม 1 ที่โรงเรียนวัดแก้วศิลาราม ที่ชลบุรี มาต่อชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนวัดโคกขี้หนอน ที่ชลบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประชาสงเคราะห์ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จากนั้นก็ย้ายมาอยู่กับญาติที่ราชบุรี เขาเคยผ่านงานมาหลากหลาย ทั้งทำนา ทำไร่ ขุดดิน เผาถ่าน ช่างไม้ ก่อสร้าง นักมวย ลิเกนักพากย์หนัง หางเครื่อง กรรมกร และนักร้อง ปัจจุบันมีถิ่นพำนักอยู่ที่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

เข้าสู่วงการแก้ไข

ชลธีสนใจการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เล็ก และเคยเป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวงของวงดาวทอง เชียร์รำวงชื่อ ดังอีกวงของยุคนั้น ต่อมาสมัครเข้าเป็นนักร้องในวงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ​ ราชาเพลงลูกทุ่งไทย และได้ขึ้นเวที ในวันที่มาสมัคร แต่เนื่องจากไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปกลับต่างจังหวัด (ราชบุรี) ขณะเดียวกันก็ไม่ชำนาญเส้นทางในกรุงเทพ จึงมาเข้าวงสายตลอด 3 วันถัดมา จึงถูกไล่ออก

จากนั้นก็มีผู้ชักชวนให้มาอยู่กับวงลิเก และพากย์หนัง ก่อนจะบวช หลังจากสึกก็มาเป็นหางเครื่องอยู่กับวง เทียนชัย สมญาประเสริฐ ที่มีนักร้องดังอย่าง ผ่องศรี วรนุช ซึ่งเป็นภรรยารวมอยู่ด้วย แต่ลาออกจากวงเพราะถูกกล่าวหาว่าขโมยทองของนักร้องในวงระหว่างที่รถของคณะเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ

ต่อมา ได้สมัครประกวดร้องเพลงที่จัดโดยวงรวมดาวกระจายของครูสำเนียง ม่วงทองโดยใช้เพลงที่เขาแต่งขึ้นเอง ซึ่งเขาก็ชนะ และครูสำเนียงรับให้มาอยู่ร่วมคณะ แต่ไม่ได้ขึ้นร้องเพราะนักร้องเต็ม และครูสำเนียงเป็นคนตั้งชื่อให้เขาว่า ชลธี ธารทอง เพราะเป็นคนเมืองชลฯ หลังจากอยู่มาปีครึ่ง ชลธี จึงได้ขึ้นร้องเพลง และต่อมาได้อัดแผ่นเสียงรวม 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง ระหว่างนั้น ถ้ามีเวลาว่าง เขาก็ ได้ศึกษาวิชาแต่งเพลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากครูสำเนียง และก็ได้นำความรู้ความสามารถในการเขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาใช้ในการแต่งเพลง

ระหว่างที่อยู่วงรวมดาวนี้เองที่เพลง "พอหรือยัง" ของชลธี ถูกศรคีรี ศรีประจวบนำไปร้องจนประสบความสำเร็จ แต่ไม่มีใครเชื่อว่าเขาเป็นคนแต่ง เพราะเพลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาไปหลงรักสาวร่วมคณะรวมดาวกระจาย และก็อกหัก เลยแต่งเพลงนี้นำมาร้องแก้กลุ้ม พอดีมีนักร้องชายในวงอีกคนเกิดชอบ ก็มาขอไปร้องบนเวที ต่อมานักร้องคนนั้นโดนไล่ออก และได้ไปอยู่กับวงศรคีรี และเมื่อศรคีรีได้ยินเพลงนี้จึงถามว่าใครแต่ง นักร้องคนนั้นได้บอกว่าเขาแต่งเอง ศรคีรีจึงขอเอามาอัดแผ่นเสียงโดยใช้ชื่อคนแต่งว่าศรคีรี เมื่อชลธี ธารทอง ออกมา ทักท้วง ศรคีรี ก็ได้มาอธิบายจนเป็นที่เข้าใจกันทุกฝ่าย

ครั้งที่อยู่กับวงรวมดาวกระจาย ชลธีมีโอกาสบันทึกเสียง 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง ต่อมาชลธี ถูกไล่ออกจากวงรวมดาว ในข้อกล่าวหาดังแล้วแยกวง ซึ่งไม่เป็นความจริง จากนั้นก็มีนายทุนออกเงินตั้งวงให้ ชื่อวง "สุรพัฒน์" แต่ก็ไปไม่รอด ขณะที่เพลงของเขาก็ขายไม่ค่อยได้เพราะคนไม่รู้จักชื่อเสียง ก็พอดีกับศรคีรีมาขอให้ช่วยแต่งเพลงให้ แต่พอเขาแต่งเพลงชุดนั้นเสร็จ ศรคีรีก็มาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเสียก่อน ชลธีจึงตัดสินใจหันหลังให้วงการเพลง และหอบครอบครัวไปช่วยพ่อตาแม่ยายทำไร่ข้าวโพดที่แก่งเสือเต้น แต่ก่อนจะไปจากกรุงเทพฯ เขาบังเอิญไปพบกับเด็กล้างรถที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวบุคคโล ซึ่งมีเสียงถูกใจจึงได้มอบเพลง 2 เพลงที่กะจะให้ศรคีรีกับเด็กคนนั้นไปโดยไม่คิดเงิน ต่อมาเด็กคนนั้นก็คือสายัณห์ สัญญา ที่โด่งดังจากเพลง"ลูกสาวผู้การ" และ "แหม่มปลาร้า"ที่เขามอบให้ในวันนั้น

เมื่อสายัณห์โด่งดัง เขาจึงถูกมนต์ เมืองเหนือเรียกตัวกลับกรุงเทพเพื่อให้มาแต่งเพลง ทำให้ลูกศิษย์คนต่อมาของเขาก็คือ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง​ โด่งดังจากเพลง"ทหารอากาศขาดรัก" จากนั้นชลธีก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานและสรรหานักร้องคุณภาพออกมาประดับวงการอยู่เนืองๆ จนประสบความสำเร็จอย่างมาก และในที่สุดก็ได้รับฉายาจาก "ยิ่งยง สะเด็ดยาด" คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ว่า " เทวดาเพลง "

ชลธี ธารทองเคยหันมาจับธุรกิจทำวงดนตรีลูกทุ่ง โดยทำวงให้กับ สุริยัน ส่องแสง แต่ปรากฏว่า นักร้องนำถูกยิงตายเสียก่อน เขาเลยต้องเป็นหนี้ยกใหญ่

บทเพลงของชลธี ธารทองมีจุดเด่นในการเลือกสรรถ้อยคำในลักษณะของกวีนิพนธ์มาใช้ในการแต่งเพลง เนื้อหามีสาระส่งเสริมคุณค่าวิถีชีวิตไทย ท่วงทำนองเพลงมีความไพเราะตรึงใจผู้ฟัง บทเพลงมีความดีเด่นในศิลปะการประพันธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์หลายรูปแบบ เป็นนักแต่งเพลงที่แต่งทั้งคำร้องและทำนองเพลงเอง ผลงานเพลงล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักฟังเพลง สร้างนักร้องลูกทุ่งให้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากอาทิ สายัณห์ สัญญา, ยอดรัก สลักใจ, ก๊อต จักรพันธ์, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สดใส รุ่งโพธิ์ทอง, เสรีย์ รุ่งสว่าง, เอกพจน์ วงศ์นาค, แอ๊ด คาราบาว, มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, ดำรง วงศ์ทอง เป็นต้น

ผลงานการแต่งเพลงแก้ไข

ชลธี ธารทองมีผลงานการประพันธ์เพลงมากกว่า 2,000 เพลงที่เป็นที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น

  • พอหรือยัง (สายัณห์ สัญญา)
  • จำปาลืมต้น (สายัณห์ สัญญา)
  • ไอ้หนุ่มรถไถ (สายัณห์ สัญญา)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (สายัณห์ สัญญา)
  • คาถามัดใจ (สายัณห์ สัญญา)
  • ปิดห้องร้องไห้ (สายัณห์ สัญญา)
  • นางฟ้ายังอาย (สายัณห์ สัญญา)
  • พบรักปากน้ำโพ (สายัณห์ สัญญา)
  • คำสั่งเตรียมพร้อม (สายัณห์ สัญญา)
  • คนซื่อที่ไร้ความหมาย (สายัณห์ สัญญา)
  • ทหารอากาศขาดรัก (สายัณห์ สัญญา)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (สายัณห์ สัญญา)
  • นักเพลงคนจน (สายัณห์ สัญญา)
  • แหม่มปลาร้า (สายัณห์ สัญญา)
  • ยินดีรับเดน (สายัณห์ สัญญา)
  • รักทรมาน (สายัณห์ สัญญา)
  • น้ำตาอีสาน (สายัณห์ สัญญา)
  • ลูกสาวผู้การ (สายัณห์ สัญญา)
  • กินอะไรถึงสวย (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญจากแฟน (สายัณห์ สัญญา)
  • ล่องเรือหารัก (สายัณห์ สัญญา)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญให้แฟน (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญคนจน (สายัณห์ สัญญา)
  • เทพธิดาผ้าซิ่น (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • จดหมายจากแม่ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ร้องเพลงเพื่อแม่ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • คนกล่อมโลก (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • กอดแก้จน (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ยินดีรับเดน (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • รักอันตราย (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ไอ้หนุ่มรถซุง (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • เรียกพี่ได้ไหม (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ปิ๊กบ้านเฮาเต๊อะ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ยอดรัก สลักใจ)
  • จำปาลืมต้น (ยอดรัก สลักใจ)
  • สาวผักไห่ (ยอดรัก สลักใจ)
  • ล่องเรือหารัก (ยอดรัก สลักใจ)
  • กินอะไรถึงสวย (ยอดรัก สลักใจ)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ยอดรัก สลักใจ)
  • ห่มธงนอนตาย (ยอดรัก สลักใจ)
  • นักเพลงคนจน (ยอดรัก สลักใจ)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ยอดรัก สลักใจ)
  • น้ำตาอีสาน (ยอดรัก สลักใจ)
  • พอหรือยัง (ยอดรัก สลักใจ)
  • รักทรมาน (ยอดรัก สลักใจ)
  • เงินใช่ไหม (ยอดรัก สลักใจ)
  • คนบ้านนอก (ยอดรัก สลักใจ)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (ยอดรัก สลักใจ)
  • เลือดสีเดียวกัน (ยอดรัก สลักใจ)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ยอดรัก สลักใจ)
  • หน้าอย่างเธอจะรักใครจริง (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง)
  • สาวผักไห่ (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง)
  • ไอ้ทองร้องไห้ (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • สาวผักไห่ (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • น้ำตาอีสาน (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • นางฟ้ายังอาย (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • กินอะไรถึงสวย (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ไอ้หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (ก๊อต จักรพันธ์)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ล่องเรือหารัก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • สาวผักไห่ (ก๊อต จักรพันธ์)
  • พอหรือยัง (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ลูกสาวผู้การ (ก๊อต จักรพันธ์)
  • เมตตาธรรม (เพลงการกุศล สมทบกองทุนเพื่อเด็กไทย)
  • ยังรักเสมอ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • เดือนครึ่งดวง (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ผู้หญิงคนสุดท้าย (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ทหารก็มีหัวใจ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • หนุ่มราชภัฎ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • พอหรือยัง (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ดำรง วงศ์ทอง)
  • นางฟ้ายังอาย (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ดำรง วงศ์ทอง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ลูกสาวผู้การ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • เรารอเขาลืม (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • ไอ้หนุ่ม ต.ช.ด. (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • แอบฝัน (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • เชื่อผมเถอะน่า (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • สาวโรงงานคนสวย (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • ห่มฝางต่างผ้า (มนต์สิทธิ์ คำสร้อย)
  • เทวดาเพลง (แอ๊ด คาราบาว)
  • นางฟ้ายังอาย (สันติ ดวงสว่าง)
  • กินอะไรถึงสวย (สันติ ดวงสว่าง)
  • ล่องเรือหารัก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จำปาลืมต้น (สันติ ดวงสว่าง)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จดหมายจากแม่ (สันติ ดวงสว่าง)
  • วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (สันติ ดวงสว่าง)
  • ลูกสาวผู้การ (สันติ ดวงสว่าง)
  • พอหรือยัง (สันติ ดวงสว่าง)
  • สาวผักไห่ (สันติ ดวงสว่าง)
  • ยินดีรับเดน (สันติ ดวงสว่าง)
  • เลือดสีเดียวกัน (สันติ ดวงสว่าง)
  • ทหารอากาศขาดรัก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (สันติ ดวงสว่าง)
  • คาถามัดใจ (สันติ ดวงสว่าง)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (สันติ ดวงสว่าง)
  • หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (สนธิ สมมาตร)
  • จดหมายจากแม่ (สนธิ สมมาตร)
  • พอหรือยัง (สนธิ สมมาตร)
  • คืนลาอาลัย (สนธิ สมมาตร)
  • พบรักปากน้ำโพ (หนู มิเตอร์)
  • ล่องเรือหารัก (หนู มิเตอร์)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (รุ่ง สุริยา)
  • จดหมายจากแนวหน้า (กุ้ง สุธิราช)
  • กินอะไรถึงสวย (กุ้ง สุธิราช)
  • พบรักปากน้ำโพ (กุ้ง สุธิราช)
  • ทหารอากาศขาดรัก (กุ้ง สุธิราช)
  • พอหรือยัง (กุ้ง สุธิราช)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (กุ้ง สุธิราช)
  • จำปาลืมต้น (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  • พอหรือยัง (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  • ลูกสาวผู้การ (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • สาวผักไห่ (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • น้ำตาอีสาน (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • ลูกสาวผู้การ (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • ล่องเรือหารัก (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • นางฟ้ายังอาย (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • คนอกหักพักบ้านนี้ (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • วานนี้รัก วันนี้ลืม (รังสี เสรีชัย)
  • จำปาลืมต้น (รังสี เสรีชัย)
  • คนกล่อมโลก (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • เทพธิดาผ้าซิ่น (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • จดหมายจากแม่ (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • ล่องเรือหารัก (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • ฟ้าร้องไห้ (เพลงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

ผลงานแสดงภาพยนตร์แก้ไข

คอนเสิร์ตแก้ไข

  • คอนเสิร์ต 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (16 พฤษภาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต 80 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (2 พฤษภาคม 2560)

งานเขียน

  • หนังสือ "ชลธี ธารทอง เทวดาเพลง" (2547)

ครอบครัวแก้ไข

มีลูกด้วยกัน 2 คนที่เกิดกับภรรยาคนแรก คือ นายเอกรินทร์ ทองมา หรือหนุ่ม กับ นางสาวชลาลัย ทองมา หรือแนน ส่วนภรรยาคนที่ 2 คือนางศศิวิมล ทองมา หรือครูปุ้ม ซึ่งมีอายุห่างกันถึง 28 ปี[3]

เกียรติยศแก้ไข

  • แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน 1 รางวัล จากเพลง“อีสาวทรานซิสเตอร์” ปี 2525
  • รางวัลเสาอากาศทองคำ 3 รางวัล จากเพลง “น้ำตาอีสาน”ปี 2518, “ใต้ถุนธรณี” ปี 2521และ "ห่มธงนอนตาย” ปี 2519
  • รางวัลงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยภาค 1-2 รวมจำนวน 7 รางวัล จากเพลง "ไอ้หนุ่มตังเก", "ไม้เรียวครู", " สาวใต้ไร้คู่" และ "อีสาวทรานซิสเตอร์" ปี 2532 และจากเพลง “ล้นเกล้าเผ่าไทย", "เทพธิดาผ้าซิ่น" และ แรงงานข้าวเหนียว ปี 2534
  • รางวัลชนะเลิศเพลงประเพณีสงกรานต์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 1 รางวัล ปี 2533
  • รางวัลลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย 3 รางวัล จากเพลง" หนาวใจชายแดน", "พบรักนครพนม" และ"จงทำดี”
  • โล่เกียรติคุณงานมหกรรมเพลงอาเซียนที่ประเทศมาเลเซียจากเพลง"อีสาวทรานซิสเตอร์" ปี 2524
  • ได้รับเกียรติให้นำผลงานเพลง "ล้นเกล้าเผ่าไทย" แสดงในงาน 60 ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประวัติ ชลธี ธารทอง ครูเพลงชื่อดัง ศิลปินแห่งชาติ
  2. จากหนังสือ เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0 ระบุว่าเกิดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2480
  3. นัดสืบพยานโจทก์ 'ครูปุ้ม' ยื่นฟ้องแพ่งเรียก3ล้านเลขาคนสนิทสามี 'ชลธี ธารทอง'
  4. ประวัติ...ชลธี ธารทอง...ศิลปินแห่งชาติ