เสกศักดิ์ ภู่กันทอง
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เสกศักดิ์ ภู่กันทอง (22 มกราคม พ.ศ. 2488 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) มีชื่อจริงว่า เสน่ห์ จันทร์ทอง ชื่อเล่นว่าแดง เป็นชาวตำบลไผ่ดำพัฒนา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
เสกศักดิ์ ภู่กันทอง | |
---|---|
ชื่อเกิด | เสน่ห์ จันทร์ทอง |
รู้จักในชื่อ | แดง |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2488 |
ที่เกิด | อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง |
เสียชีวิต | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 (39 ปี) |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักร้อง |
ประวัติ
แก้เกิดที่หมู่ 3 ตำบลไผ่ดำพัฒนา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายสำเภา จันทร์ทอง(หมอทำขวัญนาค) และนางหนูเล็ก จันทร์ทอง ก่อนที่จะมาเป็นนักร้องดัง เคยบวชเรียนมาตั้งแต่เด็ก จึงชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติด โดยเมื่อเรียนจบ ป.4 เขาก็ไปบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโบสถ์วรดิตถ์ อ.ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง บวชเป็นสามเณรได้ 5 ปี เป็นพระอีก 3 ปี รวมเป็น 8 ปี และได้ศึกษาธรรมะ จนจบนักธรรมเอก ในระหว่างบวชเขาเป็นนักเทศน์นักแหล่ที่ถูกอกถูกใจญาติโยมพอสมควร เนื่องจากเสียงดี [1] [2]ช่วงปี 2518-2519 คือช่วงเวลาทองของชีวิต ชื่อเสียงของเขาเรียกว่าดังระเบิด เพราะมีเพลงดังมากๆติดๆ กันถึง 3 เพลงรวด เริ่มจาก โสภาใจดำ , ขันหมากเศรษฐีเป็นผลงานการประพันธ์ของครูฉลอง ภู่สว่าง และ ทหารอากาศขาดรัก หลายคนแนะนำให้เขาตั้งวงดนตรีและขึ้นเป็นหัวหน้าวงเอง แต่เขาปฏิเสธไปด้วยความถ่อมตน ว่าเพลงดังยังมีน้อย กลัวไม่มีอะไรไปร้องให้แฟนเพลงฟัง แต่พอผ่านพ้นช่วงสองสามปีของความดัง ชื่อเสียงของเขาก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง ชีวิตช่วงนั้นเขาจึงตระเวนร้องเพลงกับวงลูกทุ่งดัง รวมทั้งวงจีระพันธ์ วีระพงษ์ และ ศรชัย เมฆวิเชียร รวมทั้งรับงานเชิญทั่วไปด้วย [3]
การเสียชีวิต
แก้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่จังหวัดเพชรบุรี กับเพชร โพธาราม มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย ทำให้ตัวเขา และมนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย เสียชีวิตคาที่ทันที ส่วนเพชร โพธาราม และลูกเมีย ปลอดภัย
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ญาติและ เพื่อน ๆ ในวงการ นำศพของนักร้องทั้ง 2 มาตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดอัมพวา กรุงเทพมหานคร เป็นวันเดียวกับที่วัดยางพรานนก ทำการฌาปนกิจศพ สังข์ทอง สีใส ซึ่งเสียชีวิตมาก่อนหน้านี้ไม่ถึง 10 วัน ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เช่นกัน [4]
ผลงานเพลงดัง
แก้- ทหารอากาศขาดรัก
- ขันหมากเศรษฐี
- โสภาใจดำ
- ไม่ตายจะกลับมาแต่ง
- กลิ่นฟางนางลืม
- ปัตตานีที่รัก
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 2014-03-19.
- ↑ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง - ตำนานทหารอากาศขาดรัก [ลิงก์เสีย]
- ↑ ตำนานลูกทุ่งไทย เสกศักดิ์ ภู่กันทอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "1 ก.พ.2527 เป็นวันเสียชีวิตของ "เสกศักดิ์ ภู่กันทอง" - "มนต์รัก ขวัญโพธ์ไทย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ 2014-03-19.