จักรพรรดิโกะ-เรเซ
จักรพรรดิโกะ-เรเซ (ญี่ปุ่น: 後冷泉天皇; โรมาจิ: Go-Reizei-tennō; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1025[1] – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 70[2] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบทอด[3]
| |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1045 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 | ||||
ญี่ปุ่น | 27 เมษายน ค.ศ. 1045 | ||||
ก่อนหน้า | โกะ-ซูซากุ | ||||
ถัดไป | โกะ-ซังโจ | ||||
ประสูติ | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1025 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 คายะ โนะ อิง (高陽院) เฮอังเกียว (เกียวโต) | (42 ปี)||||
ฝังพระศพ | เอ็นเกียวจิ โนะ มิซาซางิ (円教寺陵) (เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-ซูซากุ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ คิชิ [ja] |
พระนามของจักรพรรดิโกะ-เรเซนำมาจากพระนามของจักรพรรดิเรเซจักรพรรดิองค์ที่ 63 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยเมื่อใส่คำว่าโกะที่แปลว่า ที่สอง เข้าไปหน้าพระนามทำให้พระนามของจักรพรรดิโกะ-เรเซมีความหมายว่า จักรพรรดิเรเซที่สอง หรือ จักรพรรดิเรเซยุคหลัง
พระราชประวัติ
แก้ก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโกะ-เรเซมีพระนามเดิม[4]ว่า เจ้าชายชิกาฮิโตะ (親仁親王)[5] ประสูติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1025 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิโกะ-ซุซะกุ เมื่อพระราชบิดาประกาศสละราชบัลลังก์ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1045 เจ้าชายชิกะฮิโตะที่รัชทายาทพระชนมายุ 19 พรรษาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ในวันเดียวกันโดยได้เปลี่ยนปีรัชศกในปีต่อมาหลังจากนั้นอีก 2 วันอดีตจักรพรรดิโกะ-ซุซะกุก็เสด็จสวรรคต
พระราชวงศ์
แก้- ชูงู : เจ้าหญิงโชชิ (1027 – 1105) – พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิโกะ-อิชิโจ
- โคโง : ฟุจิวะระ โนะ ฮิโระโกะ (1036 –1127) – ธิดาของ ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ
- โคโง : ฟุจิวะระ โนะ คังชิ (1021 – 1102) – ธิดาคนที่ 3 ของ ฟุจิวะระ โนะ โนะริมิชิ
อ้างอิง
แก้- ↑ Reischauer, Robert Karl (1967). Early Japanese History. Vol. A. Peter Smith. p. 330 – โดยทาง OpenLibrary.
- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後冷泉天皇 (70)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 76.
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Titsingh, p. 162; Brown, p. 311, Varley, p. 197.
ข้อมูล
แก้- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Moscher, Gouverneur. (1978). Kyoto: A Contemplative Guide. ISBN 9780804812948; OCLC 4589403
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842