จรูญ กุวานนท์ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551[1]) อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี 4 สมัย

จรูญ กุวานนท์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
เสียชีวิต26 มีนาคม พ.ศ. 2551 (83 ปี)

ประวัติ แก้

จรูญ กุวานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 จบการศึกษา ระดับเตรียมปริญญา จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [2]

งานการเมือง แก้

อดีตเคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ และเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ ช่วงปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2516[3]

จรูญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 เขาได้ลาออกจากพรรคสังคมชาตินิยมโดยให้เหตุผลว่าอุดมการณ์ไม่ตรงกัน และได้รับเลือกตั้งรวม 4 ครั้ง

จรูญ ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว) ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36)[5][6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

จรูญ กุวานนท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคประชากรไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคประชากรไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

จรูญ กุวานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สมุดภาพปทุมธานี โดย เอนก นาวิกมูล #7277380". www.khunmaebook.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. จรูญ กุวานนท์[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
  5. ตำนานโฆษกรัฐบาลไทย เผด็จการ-ประชาธิปไตย-ปฏิรูป
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 36 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙