จรัสศรี ทีปิรัช

คุณหญิง จรัสศรี ทีปิรัช (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2482) สตรีคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาเมืองในประเทศไทย[1]

จรัสศรี ทีปิรัช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มีนาคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสากล ทีปิรัช

ประวัติ

แก้

ดร.คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช (สกุลเดิม อัตถากร) เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2482 (85 ปี) ที่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรของนายบุญช่วย กับนางอารีรัตน์ อัตถากร สมรสกับสากล ทีปิรัช (เสียชีวิต) มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน คุณหญิงจรัสศรี ได้เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2506 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2511 ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านการปกครอง จากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาการผังเมืองดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

แก้

คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช รับราชการในสังกัดกรมการผังเมือง[2][ต้องการอ้างอิง] จนได้รับตำแหน่งสูงสุดในสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (กรมการผังเมือง) คือ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักผังเมือง (ระดับ 10) ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก[3] นับว่าเป็นสตรีคนแรกที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย และได้รับรางวัลครุฑทองคำ ในปี พ.ศ. 2540 จากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี[4] ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2541

หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2544[5] ได้รับการเลื่อนขึ้นมาแทนนายพรเสก กาญจนจารี[6] และเป็นนายกสภาสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[7]

ปัจจุบัน คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ดำรงตำแหน่ง รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร และผู้อำนวยการ สำนักองค์ประธาน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจาปีการศึกษา 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  2. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช โดย นายสงวน ธีระกุล และนายปิ่นสกุล มุสิกาวัน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานีสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นางจรัสศรี ทีปิรัช ให้ดำรงตำแหน่ง ผวจ.นครนายก, นายประกิต เทพชนะ ให้ดำรงตำแหน่ง ผวจ.สระบุรี, นายปริญญา นาคฉัตรีย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักผังเมือง)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายสมศักดิ์ ศรีวรรธณะ, คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช , นายพีรพล ไตรทศาวิทย์, นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา, นายไพโรจน์ พรหมสาสน์)
  5. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 28 ง วันที่ 10 มีนาคม 2547
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏ (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว, ศาสตราจารย์ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, ศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓๔, ๗ มิถุนายน ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗