Lephill
ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย
ยินดีต้อนรับคุณ Lephill สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:
และ
(ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)
อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว
- ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
- หรือ หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด
อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา
Hello Lephill! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.
-- New user message (พูดคุย) 18:55, 16 มิถุนายน 2558 (ICT)
บัญญัติ 10 ประการ
แก้ผมคิดว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าใจศัพท์ศาสนาคริสต์อีกแล้วนะครับ คำว่า "ธรรมบัญญัติ" (the law) ที่ปรากฏในไบเบิลนั้น หมายถึง "โทราห์" โดยรวม ไม่ใช่แค่บัญญัติ 10 ประการเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่คุณลงไว้ยืดยาวในบทความ "บัญญัติ 10 ประการ" จึงถือว่าไม่ตรงกับชื่อบทความ ถ้าอยากลง ควรเอาไปลงในบทความ "โทราห์" แทนนะครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 08:55, 10 เมษายน 2557 (ICT)
สารบบพันธสัญญาเดิม
แก้เรื่องสารบบของคัมภีร์ฮีบรู ผมขออธิบายดังนี้นะครับ
ศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้เป็นผู้เพิ่มคัมภีร์อธิกธรรมเข้ามาในสารบบอย่างที่ฝ่ายโปรเตสแตนต์ (รวมทั้งคุณ DanMTaylor) กล่าวหามาอย่างผิด ๆ แต่ถูกรวมเข้าในคัมภีร์ฮีบรูฉบับเซปตัวจินต์มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช และแพร่หลายในหมู่ชาวยิวพลัดถิ่น คริสตจักรยุคแรกจึงใช้คัมภีร์ฉบับเซปตัวจินต์ตลอดมา แม้จะเกิดแตกแยกเป็นคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แล้วก็ตาม ส่วนสารบบที่มี 36 เล่มนั้นเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ตามมติของสภาแจมเนีย และเป็นที่ยอมรับในศาสนายูดาห์อย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนา ชาวโปรเตสแตนต์ได้หันไปยึดสารบบแจมเนียตามศาสนายูดาห์ จึงเท่ากับตัดอธิกธรรมออกจากไบเบิล
สรุปก็คือ คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ไม่ได้เป็นฝ่ายเพิ่มหนังสือเข้ามาในสารบบพันธสัญญาเดิม แต่เป็นชาวยิวที่เพิ่มหนังสือเองมาตั้งแต่ก่อนพระเยซูเกิด และตัดออกภายหลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ แล้วคริสตชนแต่ละนิกายก็ไปยึดมาต่างฉบับกันครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 20:46, 29 มิถุนายน 2557 (ICT)
บัญญัติ 10 ประการ
แก้ผมเห็นว่าข้อมูลเดิมที่แบ่งเป็นแบบ "ปิตาจารย์กรีก" กับ "ออกัสติน" ไม่ละเอียด และที่มาไม่ชัดเจนครับ ถ้าว่าตามที่นักวิชาการพระคัมภีร์ฝ่ายคาทอลิกอธิบายไว้ในลิงก์นี้ (บทบัญญัติสิบประการ (เชิงอรรถ)) จะพบว่าออร์ทอดอกซ์กับคณะปฏิรูปใช้แบบปิตาจารย์กรีก ส่วนโรมันคาทอลิกกับลูเทอแรนใช้แบบออกัสติน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในวิกิภาษาอังกฤษครับ
การเรียกว่าแบบปิตาจารย์กรีก ไม่รู้ว่าหมายถึงปิตาจารย์ท่านไหน แต่ถ้ายึดตามวิกิภาษาอังกฤษ จะเห็นที่มาชัดเจน เพราะระบุตำราได้เลยว่าการไล่ลำดับนั้นมาจากเล่มไหนครับ ผมยอมรับว่าตารางอาจดูยาก แต่ปรับแก้ได้ครับ แต่อย่าให้เสียเนื้อหาเดิม --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 22:28, 15 กรกฎาคม 2557 (ICT)
ขอโทษด้วยนะครับ ผมจำเป็นต้องใช้เนื้อหาแบบวิกิอังกฤษ เพราะข้อมูลที่คุณ DanMTaylor แก้นั้นคลาดเคลื่อนหลายประเด็น ๑. ลูเทอแรนแท้ ใช้ตามฉบับออกัสตินครับ ๒. ฉบับแปลคาทอลิก ควรยึดตามแหล่งอ้างอิงตรงของคณะกรรมการคาทอลิกฯ แต่ลิงก์ที่คุณ DanMTaylor ลงเป็นอ้างอิงไว้ คือ http://www.kamsonbkk.com/index.php/catholic-catechism/10-commandments/2652-0071957 มาจากหนังสือ หลักธรรมคำสอนคาทอลิก (คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม) ซึ่งสำนวณแปลน่าเชื่อน้อยกว่าฉบับของคณะกรรมการฯ (แม้จะมาจากเว็บสังฆมณฑล แต่ต้องดูด้วยว่าสังฆมณฑล เอามาจากไหน) --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 22:42, 15 กรกฎาคม 2557 (ICT)
การบัญญัติศัพท์จริง ๆ แล้วเป็นหน้าที่ของ "ราชบัณฑิตยสถาน" ครับ หน่วยงานราชการอื่น ๆ จะบัญญัติศัพท์อะไรเพิ่มเติม ต้องมีประกาศทางการออกมา แต่ลิงก์ที่คุณ DanMTaylor ให้ผมดูนั้น [1] ไม่ใช่ประกาศอย่างที่คุณเข้าใจ แต่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งนำมาจากฝ่ายโปรเตสแตนต์ จึงใช้สำนวนโปรเตสแตนต์ ถ้าคุณอ่านตำราของราชบัณฑิตยสถาน จะพบว่าโดยทั่วไปทางการไม่ได้ยึดแต่ศัพท์โปรเตสแตนต์อย่างเดียว แต่รับรองศัพท์บัญญัติทั้งสองนิกาย บางทีก็ยึดศัพท์ของนิกายใดนิกายหนึ่งแล้วแต่กรณ๊ ถ้าคุณมีอ้างอิงจากแบบเรียน ขอให้ระบุไว้นะครับ แล้วผมจะพิจารณาแก้ไขตามที่คุณ DanMTaylor เสนอแนะต่อไป --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 23:43, 23 ตุลาคม 2557 (ICT)
ย้อน
แก้แค่ถามหาหลักฐานถึงกับต้องย้อนเชียวหรือครับ --Horus | พูดคุย 18:31, 4 ธันวาคม 2557 (ICT)
สววรค์
แก้ขอบคุณมากครับที่พยายามเพิ่มข้อมูลในบทความ "สวรรค์" แต่ผมจำเป็นต้องตัดออก เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ควรสรุปใจความมา แล้วลงอ้างอิงประกอบดีกว่าครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 11:55, 20 กุมภาพันธ์ 2558 (ICT)
Canonical scripture ≠ Biblical canon
แก้จากการค้นข้อมูลแล้ว ผมพบว่า Canonical scripture/Canonical books ไม่ใช่ Biblical canon นะครับ
- Biblical canon แปลว่า สารบบคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งได้แก่ เซปทัวจินต์ สภาแจมเนีย ฯลฯ
- Canonical books แปลว่า คัมภีร์ในสารบบ ซึ่งได้แก่ หนังสือต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล ดังนั้น Canonical books จึงมีความหมายเดียวกับ Bible ซึ่งเห็นได้จากเนื้อหาที่คุณลงในบทความ "คัมภีร์ในสารบบ" ไม่ต่างจากบทความ "คัมภีร์ไบเบิล" เลย ลักษณะนี้ขัดกับนโยบายการสร้างบทความในวิกิพีเดีย ที่แต่ละบทความต้องมีความหมายต่างกันชัดเจน หากบทความเหมือนกันจะต้องทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง (ดูรายละเอียดที่ วิธีใช้:การเปลี่ยนทาง)
หากคุณ DanMTaylor ต้องการจะทำบทความ "สารบบคัมภีร์ไบเบิล" (Biblical canon) ขอให้พิจารณาหรือแปลเนื้อหาจากบทความ en:Biblical canon ในวิกิภาษาอังกฤษ ครับ แล้วสร้างบทความอีกครั้งครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 20:38, 16 เมษายน 2558 (ICT)
ขอรบกวนเกี่ยวกับการศึกษาวิกิพีเดียภาษาไทยครับ
แก้มีเรื่องมารบกวนคุณ DanMTaylor ถ้าสะดวกครับ
[รบกวนทำแบบสอบถามครับ] เป็นการศึกษาในหัวข้อ 'ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมเพิ่มเติม/แก้ไขเนื้อหาบนวิกิพีเดียภาษาไทย' ในระดับ ป.โท สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ครับ ทุกท่านที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสามารถทำแบบสอบถามได้ครับ (และท่านใดสะดวกกระจายแบบสอบถามในหมู่คนรู้จัก ก็ขอรบกวนด้วยนะครับ แบบสอบถามจะมี 2 ชุดแยกกัน สำหรับคนที่เคยแก้วิกิพีเดีย และคนทั่วไปครับ ขอขอบคุณมากๆเลยครับ) ท่านที่เป็นชาววิกิพีเดีย หรือเคยเพิ่มหรือแก้เนื้อหาในวิกิพีเดียขอช่วยทำแบบสอบถามที่ตามลิงค์นี้เลยครับ >> https://docs.google.com/forms/d/1V1JfNiLHeQPuA22aw1TfYeWrgL0tWcmRkejJBUJfnIY/viewform
(สำหรับท่านที่เข้ามาอ่าน และเคยใช้วิกิพีเดียเพียงในด้านการค้นหาข้อมูล ขอช่วยทำแบบสอบถามที่ลิงค์นี้แทนนะครับ >> https://docs.google.com/forms/d/1cj_TLFSVd70cuFK9XbLl9-GiwlS16B5HdbprNeZNzhI/viewform )
อาจจะยาวนิดนึง ขอขอบคุณที่สละเวลาช่วยตอบมากๆเลยครับ :) --BlueJAck (พูดคุย) 13:20, 22 พฤษภาคม 2558 (ICT)
ดาวคริสเตียน
แก้ดาวคริสเตียน | ||
มอบให้สำหรับผู้มีส่วนร่วมในบทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ อย่างมีนัยยะสำคัญครับ
--☭ Walker Emp (พูดคุย) 16:52, 2 กรกฎาคม 2558 (ICT) |
พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์
แก้ขอบคุณคุณ Lephill มากครับ ที่ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวมา เมื่อแองกลิคัน ลูเทอแรน ก็ถือเป็นโปรเตสแตนต์ ดังนั้นที่ว่าคริสตจักรโปรเตสแตนต์ไม่กำหนด ก็ไม่สมเหตุผลจริงนะครับ ส่วนจะมีคริสตจักรใดบ้างที่ถือ/ไม่ถือ ควรต้องระบุในรายละเอียดจำแนกไปแต่ละนิกาย ในลิงก์ที่คุณ Lephill แนบมาให้ ที่มาจาก youtube และ facebook นั้น ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ในวิกิพีเดียครับ ส่วนลิงก์ที่ 4 เสีย ไม่พบข้อมูล ส่วนที่อ้างจากไบเบิลนั้น เขาก็ใช้กันทุกนิกายครับ แค่ตีความต่างกันไป ข้อมูลที่นำมาอ้างอิงควรมาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ทางการของคริสตจักรจะเหมาะสมและน่าเชื่อถือมากครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 18:52, 26 ธันวาคม 2558 (ICT)
จำนวนคริสตชน
แก้- การอ้างอิงถึงมูลนิธิอีสตาร์ที่คุณ Lephill ลงไว้มันไม่สมบูรณ์ ยังใช้ไม่ได้นะครับ ถ้าเป็นหนังสือต้องระบุชื่อหนังสือ เลขหน้า ฯลฯ ถ้าเป็นมาจากเว็บไซต์ต้องลง URL ฯลฯ ศึกษารายละเอียดที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา ครับ หากไม่สามารถระบุที่มาให้ชัดเจนได้ตามนโยบาย ถือว่าข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ จำเป็นต้องตัดออกครับ
- ที่ว่าออร์ทอดอกซ์ในไทยมี 900 คน ตัวเลขนี้อยู่ตรงไหนครับ ผมหาไม่เจอในเพจที่คุณลงลิงก์ไว้ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 21:58, 31 พฤษภาคม 2559 (ICT)
- ตอบข้อ 1 ข้อมูลของมูลนิธิอีสตาร์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามวันและเวลาที่ค้นหาครับ URL เว็บไซต์อัพเดทตลอด ตัวเลขจึงไม่นิ่งและไม่แน่นอนตลอด จึงกำกับวันที่ค้นหาไว้เป็นเบื้องต้นแล้วครับ (ไม่รู้ว่าได้ไหม?)
- ตอบข้อ 2 ข้อมูลนี้ได้มาจากการสอบถามบุคคลโดยตรงครับ ทางคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในไทยไม่ได้แสดงไว้เป็นตัวอักษรในหนังสือหรือเว็บไซต์ใดๆ ทั้งสิ้นครับ (อ้างอิงบุคคลหรือผู้ที่ดูแลกิจการโดยตรงได้ไหมอันนี้ผมไม่ทราบครับช่วยชี้แจงให้ด้วยนะครับ) --Lephill (พูดคุย) 21:16, 1 มิถุนายน 2559 (ICT)
- 1. ขอบคุณคุณ Lephill มากครับ กรณีอ้างอิงข้อมูลจากเพจใด ๆ ขอให้ใช้แม่แบบตามนี้ลิงก์นี้นะครับ "แม่แบบ:Cite web/doc" จะได้อ่านง่าย
- 2. ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ถือเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ ซึ่งไม่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่หรืออ้างอิงในวิกิครับ ต้องนำข้อมูลนั้นไปตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในแหล่งใดแหล่งหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงให้บทความวิกิอ้างอิงแหล่งที่มานั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นจำเป็นต้องตัดข้อมูลจำนวนคริสตชนออร์ทอดอกซ์ออกครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 22:17, 1 มิถุนายน 2559 (ICT)
เรียนสมาชิกโครงการวิกิสหรัฐ
แก้
มอบดาวให้ผู้เข้าโครงการวิกิสหรัฐแก้
สุขสันต์วันปีใหม่ ๒๕๖๓แก้
ขาดความสำคัญแก้ได้อ่าน WP:NOTE แล้วหรือยังครับ ปัญหายังอยู่รีบลบป้ายออกทำไม --Horus (พูดคุย) 19:56, 12 มกราคม 2564 (+07) |