ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ BlueJAck สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello BlueJAck! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 17:47, 5 กรกฎาคม 2557 (ICT)

งานวิจัยวิกิพีเดียภาษาไทย แก้

  1. เรายินดีและเปิดกว้างให้ทุกคนมาทำการศึกษาวิจัยในวิกิพีเดียภาษาไทยได้
  2. เราเคยมีประสบการณ์มาก่อนในกรณีที่นักศึกษาทำวิจัยไปแล้ว แต่ไม่แบ่งปัน/เผยแพร่ผลการศึกษากลับมาให้กลุ่มตัวอย่างหรือสาธารณชน กลับบอกว่าให้ไปค้นเอาในฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย
  3. ขอเสนอให้คุณ BlueJAck เขียนในหน้าผู้ใช้ user:BlueJAck ว่าท่านเป็นใคร ? ประสงค์จะทำวิจัยในหัวข้อใด ? ประกอบการศึกษาระดับใด ? ใครเป็นผู้ควบคุมการศึกษาวิจัยนี้ ? มีขั้นตอนเกี่ยวกับ human subject อย่างไร ? ผ่าน ethical review committee หรือยัง ? เมื่อได้ผลการวิจัยแล้วจะเปิดเผยต่อกลุ่มตัวอย่างหรือต่อสาธารณชนอย่างไร ? กระบวนการของท่านสอดคล้องกับนโยบายคุ้มครอง privacy ของมูลนิธิวิกิมีเดียหรือไม่ ?

--Taweethaも (พูดคุย) 10:02, 9 มกราคม 2558 (ICT)

ครับ ขอโทษที่ตอบกลับช้านะครับ ก่อนอื่นขอชี้แจงตามที่คุณ Taweetham แนะนำมาดังนี้นะครับ

  1. เรื่องการเผยแพร่ ผมได้สอบถามกลับไปยังอาจารย์และเจ้าหน้าที่อยู่น่ะครับ แต่เท่าที่คิดเอาไว้ก็คือ ผมคิดว่าสามารถเผยแพร่ผลการศึกษาโดยจัดทำเป็นเอกสารแยกนำเสนอโดยเน้นผลที่ได้จากการศึกษาได้นะครับ อาจเป็นเอกสารสั้นๆที่ไม่ยาวมากนักและให้รายละเอียดไว้พอสมควร เนื่องจากงานฉบับเต็มน่าจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยครับ (เข้าใจว่างานศึกษาอื่นๆโดยนักศึกษาส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในเงื่อนไขนี้เหมือนกัน) แต่ตรงนี้ขอสอบถามทางอาจารย์และเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมไว้ก่อนนะครับ
  2. อันที่จริงผมสมัครวิกิพีเดียภาษาไทยไว้ภายใต้ยูสเซอร์เนมนี้โดยไม่ได้หวังจะใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้น่ะครับ จึงจะขอสอบถามว่าในกรณีนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยผมจะขอเข้ามาเป็นผู้ใช้แบบไม่ล๊อกอินได้หรือไม่น่ะครับ? และจะนำเสนอและแสดงรายละเอียดไว้ในตอนนั้นอีกทีหนึ่ง(แต่แบบนี้ก็ไม่รู้จะมีประโยชน์แล้วไหมนะครับ? คือกรณีที่ผมไม่ได้อยากใช้ยูสเซอร์เนมนี้ภายใต้เฉพาะการศึกษาวิจัยครั้งนี้)
  3. การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยประกอบการศึกษาในระดับปริญญาโทครับ ส่วนคำถามเกี่ยวกับ human subject หรือ ethical review committee รวมถึง นโยบายคุ้มครอง privacy ของมูลนิธิวิกิมีเดีย ผมขอชี้แจงแบบนี้แล้วกันครับ การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับชาววิกิพีเดียในที่นี้ น่าจะมีเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม สำหรับแบบสอบถามอาจมีข้อมูลที่เกี่ยวกับประชากรอยู่บ้าง เป็นข้อมูลทั่วๆไป เช่น อายุ อาชีพ รายได้ เวลาในการใช้อินเตอร์เนตต่อวัน ประสบการในการใช้วิกิพีเดีย ฯลฯ แต่คงไม่ได้บังคับให้ระบุชื่อหรือยูสเซอร์เนมครับ ส่วนในการสัมภาษณ์ เต็มที่คืออาจขอนำคำพูดหรือข้อความบางข้อความไปประกอบในงานเท่านั้น โดยผู้ให้สัมภาษณ์สามารถกำนหนดการเปิดเผยตัวตนได้ครับ เช่น เปิดเผยแค่ยูสเซอร์เนมในวิกิพีเดีย หรือจะให้ระบุเพียงแค่ ชาววิกิพีเดียท่านหนึ่ง ลักษณะนี้ก็ได้ครับ ส่วนถ้าจะมีประเด็นอื่นที่ยังน่ากังวลเกี่ยวกับ นโยบายคุ้มครอง privacy ของมูลนิธิวิกิมีเดีย ผมขอคำแนะนำเพิ่มเติมไว้ด้วยละกันครับ

ในขั้นตอนนี้เป็นการขอสัมภาษณ์สมาชิกวิกิพีเดียที่มีประสบการณ์หรือมีการเพิ่มเติม/แก้ไขเนื้อหาค่อนข้างมากหรือยาวนานประมาณหนึ่ง ประมาณ 2-3 ท่าน เพื่อความเห็นเกี่ยวกับตัวโมเดลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม และจะใช้ศึกษาต่อไปน่ะครับ และจะมีสัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้วิกิพีเดีย เช่น การใช้งาน ชุมชน เป็นต้น ก่อนที่จะปรับโมเดลเพื่อทำแบบสอบถาม และจะขอนำแบบสอบถามมาขอความเห็นก่อนนำไปใช้งานจริงอีกครั้งครับ โดยหลังจากได้ผลการศึกษาจากแบบสอบถาม อาจมีการนำผลการศึกษามาสอบถามความเห็นเพิ่มเติมอีกครั้งครับ

เนื่องจากการสัมภาษณ์น่าจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงขอใช้เป็นการสัมภาษณ์ผ่านทางโปรแกรมอย่าง skype (โดยขอบันทึกเสียงสนทนา) หรือ e-mail เป็นต้นครับ (จะใช้โปรแกรมรับส่งข้อความอื่นๆก็ได้ แต่เนื่องจากมีรายละเอียดมาก จึงอาจลำบากบ้างครับ แต่กรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์โอเค ก็น่าจะลองดูได้ครับ)

ที่ผ่านมามีผู้ใช้ท่านหนึ่งยินดีให้สัมภาษณ์ทาง e-mail ครับ โดยได้ดำเนินการไประยะเวลาหนึ่งด้วยคำถามจำนวนหนึ่งแล้ว (ก่อนนี้จึงยุ่งๆอยู่ครับ ประกอบกับทั้งเรื่องงาน และยังรอคำถามที่ผมถามไปทาง ม.และอาจารย์ จึงไม่ได้ตอบกลับ ต้องขอโทษที่ตอบกลับช้าครับ) และผมได้สอบถามสมาชิกบางท่านไว้อีกจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่มีท่านอื่นตอบรับให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมครับ ซึ่งกรณีที่คุณ Taweetham ยินดีให้สัมภาษณ์ ผมก็จะยินดีมากเช่นกันครับ :)(แต่เวลาก็ค่อนข้างงวด ตอนนี้จึงกังวลอยู่เหมือนกันครับ)

หวังว่าจะตอบคำถามได้ประมาณหนึ่งครับ กรณีที่มีประเด็นยังไม่ชัดเจนยินดีตอบคำถามในประเด็นนั้นเพิ่มเติมครับ และถ้ามีประเด็นอื่นๆที่ควรทราบก็ยินดีรับคำแนะนำเพิ่มเติมครับ ขอบคุณครับ :) BlueJAck (พูดคุย) 17:17, 31 มกราคม 2558 (ICT)

ผมขอยกตัวอย่างจดหมายของผู้วิจัยที่เพิ่งได้รับเร็วๆ นี้นะครับ

Dear Professor .......,

In partnership with the Wiki Education Foundation, our research group at Carnegie Mellon University is conducting a survey about fall 2014 course writing assignments in the Wikipedia Education Program. We are interested in how the organization of this assignment influences experiences and educational value, and will be happy to share the results of our research with you.


We will be sending out surveys soon. If you would like to participate, let us know if you or anyone else who served as an instructor for this assignment would be willing to:

Complete an instructor survey (approx. 20 min) Forward a student survey (approx. 20 min) to your students who participated in the Wikipedia writing assignment this fall semester

All participants must be age 18 or older. We are contacting you because we saw that your course .......... is currently listed as part of the Wikipedia Education Program for fall 2014. Thank you very much, and we look forward to hearing from you!


Regards,

Tatiana Vlahovic

คำถามที่ท่านยังไม่ได้ตอบคือ

  1. วิทยานิพนธ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้ออ้างนะครับ อ่านที่ en:Moral rights และสุดท้ายนักศึกษาก็ต้องตีพิมพ์หรือนำเสนองานเพื่อให้จบการศึกษาอยู่ดี เมื่อพิจารณาความชอบธรรมและทางได้ทางเสียของทุกฝ่าย ผลงานที่เกิดขึ้นจากการสละเวลาของอาสาสมัครวิกิพีเดียในการตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยโดยไม่มีค่าตอบแทนควรจะได้รับการเผยแพร่และนำไปใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างน้อยก็นำผลเบื้องต้นที่เป็นตัวเลขและผลเชิงคุณภาพเบื้องต้น ที่ยังไม่รวมข้ออภิปรายหรือข้อสรุปมาส่งกลับมายังวิกิพีเดีย
  2. ก่อนอื่นผู้วิจัยต้องแสดงตนก่อนว่าเป็นใคร ทำวิจัยหัวข้ออะไร สถานบันการศึกษาใด ต้องการจะทำอะไรกับกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลาเท่าใด และให้ข้อมูลการติดต่อเบื้องต้นไว้ อันนี้ถือเป็น protocol เบื้องต้นในการเข้าหา human subject เลยทีเดียว และเป็นหลักประกันว่าจะสามารถติดตามได้ภายหลัง
  3. เรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอ่านเพิ่มเติมที่ en:Aggregate data en:Personally_identifiable_information และ en:De-identification เป็นตัวอย่างนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่ระบุชื่อแล้วจะจบ ไม่ระบุชื่อเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป แต่การวิจัยที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมมองไปมากกว่าการไม่ระบุชื่อ นั่นคือ ต้องทำให้ข้อมูลนั้นไม่อาจระบุย้อนไปถึงตัวตนได้ และมีมาตรฐานการเก็บรักษาข้อมูลมาเกี่ยวข้องด้วย

ความจริงผมก็ค่อนข้างยุ่งอยู่เหมือนกัน แต่เห็นว่ายังมีจุดที่ต้องทำความเข้าใจกันอีกมาทีเดียว สนใจให้ผมหรืออาสาสมัครวิกิพีเดียท่านอื่นช่วยเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์นี้ไหมครับ งานก่อนหน้านี้เคยมีคนจากวิกิพีเดียเป็นกรรมการมาแล้ว [1] ไม่แน่ใจว่าคุณเคยอ่านหรือยัง --Taweethaも (พูดคุย) 21:40, 2 กุมภาพันธ์ 2558 (ICT)

สุขสันต์วันส้วมโลก แก้

ไฟล์:Wtd-th.jpg

สุขสันต์วันส้วมโลกให่แก่คุณ BlueJAck ขอให้คุณใช้ส้วมอย่างเพลิดเพลินตลอดไป --ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 18:28, 20 พฤศจิกายน 2560 (ICT)