คาน่อน
คาน่อน[1] (ญี่ปุ่น: カノン; โรมาจิ: Kanon) เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววิชวลโนเวลที่สร้างโดยคีย์ ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยเกมเวอร์ชันแรกนี้เป็นเกมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และถูกจัดว่าเป็นเกมสำหรับผู้เล่นอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ต่อมาได้มีการออกเกมเวอร์ชันที่สามารถเล่นได้ทุกวัยมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 และได้มีเวอร์ชันดังกล่าวสำหรับเครื่องเล่นอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ดรีมแคสต์ เพลย์สเตชัน 2 และเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล
แคนอน | |
หน้าปกเกม แคนอน เวอร์ชันแรก | |
カノン | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Kanon |
แนว | ดรามา, แฟนตาซี, ฮาเร็ม, โรมานซ์ |
เกม | |
ผู้พัฒนา | คีย์ |
ผู้จัดจำหน่าย | วิชวลอาร์ตส (PC) NEC อินเตอร์แชนเนล (DC/PS2) โปรโตไทป์ (PSP/FOMA/S3G) |
แนว | วิชวลโนเวล, เอะโระเก |
แพลตฟอร์ม | PC, DC, PS2, PSP, FOMA, S3G |
มังงะ | |
เขียนโดย | มาริโกะ ชิมิซุ |
สำนักพิมพ์ | Paradigm |
มังงะ | |
เขียนโดย | คีย์ |
สำนักพิมพ์ | มีเดียเวิร์กส |
อนิเมะ | |
กำกับโดย | ทาคามิจิ อิโต |
สตูดิโอ | โตเอแอนิเมชัน |
อนิเมะ | |
Kanon Kazahana | |
กำกับโดย | ทาคามิจิ อิโต |
สตูดิโอ | โตเอแอนิเมชัน |
มังงะ | |
Kanon: The Real Feelings of the Other Side of the Smiling Face | |
เขียนโดย | คีย์ |
สำนักพิมพ์ | ฟูจิมิโชโบะ |
อนิเมะ | |
คาน่อน | |
กำกับโดย | ทัตสึยะ อิชิฮาระ |
สตูดิโอ | เกียวโตแอนิเมชัน |
เกม คาน่อน แบบมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ออกจำหน่ายเป็นแผ่นดีวีดีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยเวอร์ชันสำหรับผู้ใหญ่ และเวอร์ชันที่เล่นได้ทุกวัย ทั้งสองเวอร์ชันรองรับในวินโดวส์ 2000 และวินโดวส์เอกซ์พี
เนื้อหาของเกมมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องไปตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ โดยผู้เล่นจะสามารถตัดสินใจเลือกดำเนินเรื่องไปตามตัวเลือกต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอในแต่ละครั้งได้ เนื้อเรื่องในตอนจบจะแยกออกเป็น 5 ฉากหลัก แต่ละฉากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวละครหญิงแต่ละตัว เป็นที่เชื่อกันว่าชื่อของเกมนี้อาจนำมาจากชื่อของเพลงคาน่อน ซึ่งภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่องที่สองที่สร้างขึ้นจากเกมนี้ก็ได้นำเพลง "คาน่อน ในบันไดเสียงดีเมเจอร์" ของพาเคลเบลมาใช้เป็นดนตรีประกอบในเรื่องด้วย
ได้มีการนำเกม คาน่อน มาสร้างเป็นสื่ออื่น ๆ จำนวนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์จำนวน 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกจัดทำโดยโตเอแอนิเมชัน มีทั้งหมด 13 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมพ.ศ. 2545 และรวมถึงโอวีเออีกหนึ่งตอน ซึ่งออกฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 และเรื่องที่สองจัดทำโดยเกียวโตแอนิเมชัน มีทั้งหมด 24 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 และยังได้มีการนำไปสร้างเป็น ไลท์โนเวล ดรามาซีดี และหนังสือการ์ตูนจำนวน 2 เล่ม
ลักษณะของเกม
แก้คาน่อน เป็นเกมดำเนินเรื่องที่เนื้อเรื่องบางส่วนอาศัยการโต้ตอบจากผู้เล่น ในการเล่นเกม ผู้เล่นจะต้องอ่านข้อความที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอในแต่ละฉาก ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครหรือความคิดของตัวเอกของเรื่อง โดยระหว่างในเกม จะมีหลายจุดที่เป็นจุดตัดสินใจ ซึ่งผู้เล่นจะได้เลือกดำเนินเรื่องตามตัวเลือกต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ โดยจุดเหล่านี้จะปรากฏอยู่ทั่วไปในเกม และอาจเว้นช่วงตั้งแต่หนึ่งนาทีหรือนานกว่านั้น เมื่อถึงจุดตัดสินใจ เนื้อเรื่องจะหยุดลงเพื่อให้ผู้เล่นได้เลือกตัดสินใจว่าจะดำเนินเรื่องไปในทางใด การตัดสินใจแต่ละแบบจะนำไปสู่การดำเนินเรื่องที่แตกต่างกันออกไป เนื้อเรื่องในตอนจบของเกมที่เป็นไปได้มีทั้งหมด 5 ฉาก แต่ละฉากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวละครหญิงแต่ละตัว ในการที่จะเห็นเนื้อเรื่องในตอนจบให้ครบทุกฉาก ผู้เล่นจะต้องย้อนกลับไปเล่นใหม่ และเลือกตัดสินใจเลือกดำเนินเรื่องในแบบที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินไปในอีกฉากหนึ่ง
จุน มาเอดะ หนึ่งในผู้ทำงานด้านเนื้อเรื่องของ คาน่อน กล่าวให้ความเห็นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ว่า คาน่อน เป็นเกมที่มีอิทธิพลค่อนข้างสูงในสังคมญี่ปุ่น ทำให้ทางบริษัทควรจะสร้างเกมที่มีเนื้อหาไม่รุนแรง แต่เขากล่าวว่าไม่มีใครในทีมงานที่มีความคิดเช่นนั้นเลย[2] เป้าหมายหนึ่งของเกมเวอร์ชันแรกคือให้ผู้เล่นได้เห็นฉากเฮ็นไตเกี่ยวกับยูอิจิร่วมเพศกับตัวละครหญิงหนึ่งในห้าตัว[3] โดยในเกมจะมีฉากที่มีเนื้อหาทางเพศเกี่ยวกับตัวละครแต่ละตัว ตัวละหนึ่งฉาก และมีฉากแฟนตาซีอีกหนึ่งฉาก
ในเวลาต่อมา คีย์ได้ออกเกม คาน่อน แบบที่ไม่มีเนื้อหาทางเพศมาสองเวอร์ชัน[3] โดยใช้ภาพกราฟิกเดียวกับเวอร์ชันเดิม เพียงแต่ตัดฉากที่มีเนื้อหาทางเพศออก แต่จะมีฉากที่มีภาพโป๊เปลือยอยู่ 2 ฉาก ยูอิจิ ซูซุโมโต้ ผู้เขียนเนื้อเรื่องจากคีย์ได้ให้ความเห็นว่า ฉากที่มีเนื้อหาทางเพศใน คาน่อน เป็นฉากที่จบในตัวเอง จึงสามารถตัดฉากเหล่านี้ออกได้โดยไม่มีผลต่อเนื้อเรื่องหลัก[2]
เนื้อหา
แก้การวางโครงเรื่อง
แก้สถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของ คาน่อน ได้แนวคิดมาจากสถานที่ในเมืองต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โมะริงุชิ โยะโกะฮะมะ โตเกียว และซัปโปะโระ[4] เช่นเดียวกับเกมอื่น ๆ ที่สร้างโดยคีย์ ซึ่งมักจะได้แนวคิดมาจากสถานที่จริง และมีการเปิดเผยออกมาชัดเจนว่ามาจากสถานที่ใด เนื้อเรื่องของ คาน่อน ดำเนินเรื่องในช่วงฤดูหนาว ทำให้เมืองใน คาน่อน ปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดเวลา
เนื้อหาหลักของ คาน่อน เกี่ยวกับปาฎิหาริย์ โดยตัวละครในเรื่องมักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น[5][6] นอกจากนี้ เนื้อเรื่องในหลายช่วงยังได้กล่าวถึงการสัญญาและรักษาสัญญา[6][7] โดยยูอิจิได้ให้สัญญาที่สำคัญมากไว้กับตัวละครหญิงทั้ง 5 ตัว ในขณะที่เขาค่อย ๆ นึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เขามาที่เมืองนี้ตอนเป็นเด็กได้
เนื้อหารองด้านหนึ่งของ คาน่อน คือการสูญเสียความทรงจำ ตัวละครหลัก 3 ตัว ได้แก่ ยูอิจิ อายุ และมาโคโตะ มีการสูญเสียความทรงจำในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งเนื้อหาในด้านนี้ได้ใช้เป็นปมในการดำเนินเรื่องต่อไป เนื้อหารองอีกด้านหนึ่งคืออาหารโปรดของตัวละครหลักแต่ละตัว โดยนิตยสาร Newtype USA ได้อธิบายไว้ในบทความ คาน่อน ว่า "เป็นอาหารที่ตัวละครแต่ละตัวกินแล้วดูสวยงามและมีชีวิตชีวามากที่สุด" ซึ่งตรงกันข้ามกับเนื้อหาหลักของเรื่องที่เป็นแนวโศกเศร้า[8] อาหารโปรดของอายุคือไทยากิ (ขนมเค้กรูปปลา) ของนายูกิคือสตรอเบอร์รี่ซันเดย์ ของมาโคโตะคือนิกุแมน (ซาลาเปาญี่ปุ่น) ของชิโอริคือไอศกรีม และของไมคือกิวดง (ข้าวหน้าเนื้อ)
ตัวละครหลัก
แก้- ไอซาวะ ยูอิจิ (ญี่ปุ่น
- 相沢 祐一; โรมาจิ: Aizawa Yūichi)
- ให้เสียงโดย: อัตสึชิ คิไซจิ (2002) , โทโมคาสึ ซุงิตะ (2006/เกม)
- ยูอิจิเป็นนักเรียนมัธยมปลายอายุ 17 ปี มีนิสัยชอบเล่นตลกกับเด็กผู้หญิงที่เขารู้จัก แต่เขาก็เป็นคนที่ซื่อสัตย์และเป็นที่ถูกใจของผู้อื่นมาก ยูอิจิมักจะช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ในเกม ผู้เล่นจะเล่นเป็นยูอิจิซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง
- สึกิมิยะ อายุ (ญี่ปุ่น
- 月宮 あゆ; โรมาจิ: Tsukimiya Ayu)
- ให้เสียงโดย: ยูอิ โฮริเอะ
- นายูกิ มินาเสะ (ญี่ปุ่น
- 水瀬 名雪; โรมาจิ: Minase Nayuki)
- ให้เสียงโดย: มาริโกะ โคดะ
- ซาวาตาริ มาโคโตะ (ญี่ปุ่น
- 沢渡 真琴; โรมาจิ: Sawatari Makoto)
- ให้เสียงโดย: มายูมิ อีซุกะ
- มาโคโตะเด็กผู้หญิงที่สูญเสียความทรงจำ แต่จำได้ว่าเธอเคยมีเรื่องไม่พอใจกับยูอิจิเมื่อครั้งก่อนที่เขามาที่เมืองนี้ มาโคโตะซุกซนและมักจะชอบแกล้งล้อเล่นกับยูอิจิ เอชอบฤดูใบไม้ผลิมากและเคยขอให้ฤดูใบไม้ผลิคงอยู่ตลอดไป[6][9]
- มิซากะ ชิโอริ (ญี่ปุ่น
- 美坂 栞; โรมาจิ: Misaka Shiori)
- ให้เสียงโดย: อาเคมิ ซาโต้ (อนิเมะ/เกม PSP) , ฮิโรโกะ โคนิชิ (Dreamcast/เกม PS2)
- ชิโอริเป็นนักเรียนปีหนึ่งที่มีอาการป่วยหนักมาตั้งแต่เกิด เธอมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงจึงทำให้ต้องหยุดเรียนเกือบทุกวัน แต่ชิโอริมักจะมายืนอยู่ที่สนามในโรงเรียนเป็นประจำเพื่อจะมารอพบใครบางคนที่เธอรัก
- คาวาซุมิ ไม (ญี่ปุ่น
- 川澄 舞; โรมาจิ: Kawasumi Mai)
- ให้เสียงโดย: ยูคาริ ทามูระ
- ไมเป็นนักเรียนปีสามที่อยู่โรงเรียนเดียวกับยูอิจิ ในตอนกลางคืน ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในโรงเรียน เธอจะมาที่โรงเรียนเพื่อต่อสู้กับปีศาจ[6][10] และด้วยเหตุนี้ เธอจึงถูกตำหนิจากทางโรงเรียนอยู่เสมอจากอุบัตเหตุที่เธอก่อขึ้นระหว่างต่อสู้กับปีศาจ ถึงแม้ไมจะมีท่าทางที่เย็นชาต่อผู้อื่น แต่ที่จริงแล้ว เธอเป็นคนที่มีน้ำใจและห่วงใยต่อผู้อื่นมาก
เนื้อเรื่อง
แก้สึกิมิยะ อายุ มักปรากฏตัวกะทันหันในยามตะวันใกล้ลับฟ้า สวมใส่เสื้อนอกสีน้ำตาลแดงทับเสื้อกันหนาว สวมกางเกงขาสั้นแม้อากาศหนาวเย็น และสะพายเป้มีปีก |
เนื้อเรื่องของ คาน่อน เกี่ยวกับเด็กผู้หญิง 5 คน ที่มีความผูกพันกับเด็กผู้ชายคนเดียวกัน ตัวละครหลักของเรื่องคือ ไอซาวะ ยูอิจิ นักเรียนมัธมปลายปีสอง ยูอิจิได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในเมืองที่เขาเคยมาเมื่อ 7 ปีก่อน เนื้อเรื่องเริ่มขึ้นเมื่อวันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2542 เมื่อยูอิจิเดินทางมาถึงเมืองนี้ เขาพักอาศัยกับนายูกิ มินาเสะ ลูกพี่ลูกน้องของเขา และอากิโกะ แม่ของเธอ เนื่องจากยูอิจิไม่ได้มาเมืองนี้อีกเป็นเวลานาน ทำให้เขาจำเรื่องราวเมื่อเจ็ดปีก่อนที่เกิดขึ้นแทบไม่ได้เลย ยกเว้นเกี่ยวกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาพยายามที่จะรื้อฟื้นความทรงจำที่มีอยู่เกี่ยวกับเมืองนี้ รวมถึงนายูกิก็ช่วยเขาด้วย แต่ไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่เนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อย ๆ ยูอิจิได้รับรู้ถึงพลังเหนือธรรมชาติที่แฝงอยู่ในเมืองนี้ และเขาก็ค่อย ๆ นึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อเจ็ดปีก่อนได้
วันหนึ่ง ขณะที่นายูกิพายูอิจิไปเดินชมรอบเมือง นายูกิได้แวะเข้าไปซื้อของในร้าน ส่วนยูอิจิรออยู่ด้านนอก ได้มีเด็กหญิงแปลกหน้าคนหนึ่งชื่อ สึกิมิยะ อายุ วิ่งเข้ามาชนยูอิจิ หลังจากนั้น อายุพาเขาไปที่ร้านใกล้ ๆ และบอกความจริงไปโดยไม่ตั้งใจว่าเธอได้ขโมยไทยากิจากร้านมาถุงหนึ่ง ยูอิจิพาอายุกลับไปที่ร้านเพื่อไปขอโทษคนขาย สองสามวันต่อมา ขณะที่ยูอิจิเดินอยู่ในเมือง เขาได้พบกับเด็กผู้หญิงชื่อ ซาวาตาริ มาโคโตะ เธอสูญเสียความทรงจำแต่พอจำได้ว่าเธอมีเรื่องไม่พอใจกับยูอิจิเมื่อเขามาที่เมืองนี้เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว มาโคโตะป็นลมล้มลงที่พื้นถนน ยูอิจิจึงพาเธอไปที่บ้าน อากิโกะอนุญาตให้เธอมาพักอาศัยที่บ้านได้ แม้ว่ายูอิจิอยากจะให้ไปแจ้งตำรวจมากกว่า
เด็กผู้หญิงคนต่อไปที่มีความเกี่ยวข้องกับอดีตของยูอิจิคือ คาวาซุมิ ไม นักเรียนปีสามที่อยู่โรงเรียนเดียวกับยูอิจิ ในตอนกลางคืน ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในโรงเรียน ไมจะมาที่โรงเรียนเพื่อต่อสู้กับปีศาจ ทำให้เธอถูกตำหนิจากทางโรงเรียนอยู่เสมอจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เธอก่อขึ้นระหว่างต่อสู้กับปีศาจ เนื่องจากไมไม่ได้บอกความจริงกับทางโรงเรียน เพราะคิดว่าจะไม่มีใครเชื่อว่ามีปีศาจอยู่ในโรงเรียน ยูอิจิได้พบกับเด็กผู้หญิงคนที่ห้าที่ชื่อ มิซากะ ชิโอริ โดยบังเอิญ ชิโอริมีอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้มาตั้งแต่เกิด ทำให้เธอมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงจึงต้องหยุดเรียนเกือบทุกวัน ยูอิจิเริ่มคุยกับชิโอริหลังจากเห็นเธออยู่ที่สนามในโรงเรียน และได้ทราบว่าชิโอริมายืนอยู่ที่สนามในโรงเรียนเกือบทุกวันเพื่อจะมารอพบใครบางคนที่เธอรัก
การพัฒนา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การออกจำหน่าย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่ออื่น ๆ
แก้ไลท์โนเวล
แก้มีไลท์โนเวลเกี่ยวกับ คาน่อน จำนวน 5 เล่ม เขียนโดย มาริโกะ ชิมิซุ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Paradigm ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยมี อิตารุ ฮิโนะอุเอะ นักวาดภาพประกอบไลท์โนเวล เป็นผู้วาดภาพหน้าปกและภาพประกอบ
ไลท์โนเวลแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับตัวละครหลักแต่ละตัว โดยเล่มแรกที่ออกจำหน่ายคือ ยุกิ โนะ โชโจะ (ญี่ปุ่น: 雪の少女; โรมาจิ: Yuki no Shōjo; ทับศัพท์: เด็กหญิงในหิมะ; นายูกิ) ออกจำหน่ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาในเดือนเดียวกัน ไลท์โนเวลเล่มที่สองที่ชื่อว่า เอะกะโอะ โนะ มุโกงะวะ นิ (ญี่ปุ่น: 笑顔の向こう側に; โรมาจิ: Egao no Mukougawa ni; ทับศัพท์: อีกฟากหนึ่งของรอยยิ้ม; ชิโอริ) ก็ได้ออกจำหน่าย ไลท์โนเวลเล่มที่สามคือ โชโจะ โนะ โอะริ (ญี่ปุ่น: 少女の檻; โรมาจิ: Shōjo no Ori; ทับศัพท์: ที่กักขังเด็กหญิง; ไม) ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เล่มที่สี่คือ The Fox and the Grapes ออกจำหน่ายในสองเดือนถัดมา และเล่มสุดท้ายคือ ฮิดะมะริ โนะ มาชิ (ญี่ปุ่น: 日溜りの街; โรมาจิ: Hidamari no Machi; ทับศัพท์: เมืองแห่งแสงแดด; อายุ) ออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543[11]
ดรามาซีดี
แก้คาน่อน มีดรามาซีดีทั้งหมด 3 ชุด แต่ละชุดมีซีดี 5 แผ่น รวมทั้งหมด 15 แผ่น ซึ่งออกจำหน่ายตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 จนถึง 26 เมษายน พ.ศ. 2546[12] ซีดีสองชุดแรกมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครหลักแต่ละตัว ตัวละหนึ่งแผ่น โดยหน้าปกซีดีจะเป็นรูปตัวละครหลักของซีดีแผ่นนั้น ส่วนซีดีชุดที่สามจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเขียนรวม และมีหน้าปกซีดีเป็นรูปของมินาเสะ อากิโกะ
มังงะ
แก้มังงะ คาน่อน เรื่องแรก ตีพิมพ์ในนิตยสารเด็งเงคิไดโอ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จนถึง 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[13] และต่อมาได้มีการนำมาตีพิมพ์รวมเป็นเล่ม 2 เล่ม โดยมีเดียเวิร์กส ภายใต้ชื่อของเด็งเงคิคอมิกส์[14] เนื้อเรื่องของมังงะได้นำมาจากในเกมวิชวลโนเวล และมี เพทิต โมริชิมะ เป็นผู้วาดภาพประกอบ
ในมังงะฉบับรวมเล่มมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บท แบ่งเป็นเล่มละ 3 บท ซึ่งเนื้อหาในบทแรกเป็นบทนำ และในบทสุดท้ายเป็นบทสรุป ส่วนเนื้อหาในอีกสี่บทที่เหลือจะเป็นฉากที่เกี่ยวข้องกับตัวละครหลักแต่ละตัว คือ ชิโอริ มาโคโตะ ไม และอายุ ตามลำดับ และถึงแม้จะไม่มีบทที่เป็นฉากของนายูกิโดยตรง แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องเล็กน้อยให้นายูกิได้อยู่ในฉากกับยูอิจิเกือบตลอดเวลา[15][16] เนื้อหาของมังงะเรื่องแรกนี้มีส่วนที่แตกต่างจากในเกมวิชวลโนเวลคือ จะไม่มีการเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมดของชิโอริ มาโคโตะ และไม ซึ่งในเกม ในฉากจบของตัวละครหลักแต่ละตัวจะมีการเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด แต่ในมังงะจะเล่าเพียงบางส่วนเท่านั้น[15][16] เนื่องจากเนื้อหาจะเน้นไปที่เรื่องราวของอายุเป็นหลัก
อนิเมะ
แก้คาน่อน ได้มีการสร้างเป็นอนิเมะครั้งแรกใน พ.ศ. 2545 มีทั้งหมด 13 ตอน และได้มีการสร้างโอวีเอจำนวนหนึ่งตอนขึ้นใน พ.ศ. 2546 หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอนิเมะเรื่องที่สองขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 24 ตอน
ดนตรี
แก้เกม คาน่อน มีเพลงประกอบที่สำคัญอยู่สองเพลง เพลงเปิดคือ "Last regrets" และเพลงปิดคือ "คาเซะ โนะ ทะโดะริตสึกุ บะโชะ" (ญี่ปุ่น: 風の辿り着く場所; โรมาจิ: Kaze no Tadoritsuku Basho; ทับศัพท์: ลมพัดผ่านไปที่ใด) ซึ่งทั้งสองเพลงนี้มีอายานะเป็นผู้ขับร้อง โดยเนื้อเพลงของทั้งสองเพลงแต่งโดย จุน มาเอดะ และเรียบเรียงโดย ทาคาเสะ คาซึยะ จากกลุ่มดนตรี I've Sound และมีดนตรีประกอบสำหรับตัวละครหลักแต่ละตัว โดยดนตรีประกอบของอายุคือ "ฮิดะมะริ โนะ มาชิ" (ญี่ปุ่น: 日溜りの街; โรมาจิ: Hidamari no Machi; ทับศัพท์: เมืองแห่งแสงแดด) ของนายูกิคือ "ยุกิ โนะ โชโจะ" (ญี่ปุ่น: 雪の少女; โรมาจิ: Yuki no Shōjo; ทับศัพท์: เด็กหญิงในหิมะ) ของมาโคโตะคือ "The Fox and the Grapes" ของชิโอริคือ "เอะกะโอะ โนะ มุโกงะวะ นิ" (ญี่ปุ่น: 笑顔の向こう側に; โรมาจิ: Egao no Mukougawa ni; ทับศัพท์: อีกฟากหนึ่งของรอยยิ้ม) และดนตรีประกอบของไมคือ "โชโจะ โนะ โอะริ" (ญี่ปุ่น: 少女の檻; โรมาจิ: Shōjo no Ori; ทับศัพท์: ที่กักขังเด็กหญิง)
อัลบั้มเพลงที่ออกจำหน่ายเป็นอัลบั้มแรกคือ Anemoscope ออกจำหน่ายเป็นชุดพร้อมกับเกม คาน่อน เวอร์ชันแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542
การตอบรับ
แก้เกม คาน่อน เวอร์ชันสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับการจัดว่าเป็นเกมบิโชโจะที่ดีที่สุดเกมหนึ่งใน พ.ศ. 2542[17] ส่วนเกมเวอร์ชันสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ที่ออกในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการประเมินจากนิตยสารวิดีโอเกม Famitsu ด้วยคะแนน 29 จากคะแนนเต็ม 40[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Kanon". TIGA. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "Key Scenario Staff Long Interview" (ภาษาญี่ปุ่น). Colorful Pure Girl. มีนาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2551.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "Kanon visual novel official website" (ภาษาญี่ปุ่น). Key. สืบค้นเมื่อ 30 พ.ย. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Kanon in Moriguchi Osaka" (ภาษาญี่ปุ่น). 23 ต.ค. 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2549.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คำพูดเดิม: 起きないから、奇跡って言うんですよ
คำแปล: "มันเรียกว่าปาฏิหาริย์เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้น"
Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's. - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Information on the Kanon Standard Edition" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คำพูดเดิม: 約束、だよ
คำแปล: "นั่นเป็นสัญญา"
Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's. - ↑ Newtype USA. Vol. 6. A.D. Vision. มกราคม 2550. pp. 62–63.
- ↑ คำพูดเดิม: 春がきて・・・ずっと春だったらいいのに
คำแปล: "ขอเพียงแค่ให้ฤดูใบไม้ผลิมาถึงและคงอยู่ตลอดไป"
Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's. - ↑ คำพูดเดิม: 私は魔物を討つ者だから
คำแปล: "ฉันเป็นนักล่าปีศาจ"
Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's. - ↑ "Mariko Shimizu's works available for purchase" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "List of Kanon products". CD Japan. สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Image of the copyright page from the second Kanon manga volume" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 13 มี.ค. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Dengeki Comics page for Kanon" (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 16 พ.ค. 2551.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 15.0 15.1 Morishima, Petit. Kanon manga volume 1 (ภาษาญี่ปุ่น). MediaWorks.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 16.0 16.1 Morishima, Petit. Kanon manga volume 2 (ภาษาญี่ปุ่น). MediaWorks.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "A short review on Kanon". Freetype. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-02. สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Famitsu reviews the week of February 20, 2002". DVD Talk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการของ คาน่อน โดยคีย์ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการของอนิเมะภาคแรก (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการของอนิเมะภาคที่สอง (ญี่ปุ่น)
- Kanon (2002) จากสารานุกรมอนิเมะนิวส์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ)