ซัปโปโระ
ซัปโปโระ (ญี่ปุ่น: 札幌; โรมาจิ: ซัปโปโระ; ไอนุ: サッ・ポロ・ペッ, ซัตโปโรเป็ต) เป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิชิการิ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะ และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองใหม่ที่สุดในญี่ปุ่น มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) มีประชากรยุคบุกเบิกเพียง 7 คน
ซัปโปโระ 札幌 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นครซัปโปโระ · 札幌市 | |||||||||||||
จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง: เขตธุรกิจและภูเขาโมอิวะในยามพลบค่ำ, หอนาฬิกาซัปโปโระ, พิพิธภัณฑ์เบียร์ซัปโปโระ, สถานีรถไฟซัปโปโระ, มหาวิทยาลัยฮกไกโด, ซัปโปโระโดม และซัปโปโระทีวีทาวเวอร์เมื่อมองจากสวนสาธารณะโอโดริ | |||||||||||||
ที่ตั้งของซัปโปโระในจังหวัดฮกไกโด (กิ่งจังหวัดอิชิการิ) | |||||||||||||
พิกัด: 43°4′N 141°21′E / 43.067°N 141.350°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | ฮกไกโด | ||||||||||||
จังหวัด | ฮกไกโด | ||||||||||||
กิ่งจังหวัด | อิชิการิ | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | คัตสึฮิโระ อาคิโมโตะ | ||||||||||||
• รองนายกเทศมนตรี | คัตสึฮิโระ อาคิโมโตะ | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 1,121.26 ตร.กม. (432.92 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 กันยายน ค.ศ. 2020) | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 1,973,432 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 1,800 คน/ตร.กม. (4,600 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+09:00 (JST) | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 2-1-1 Kita-ichijō-nishi, Chūō-ku, Sapporo-shi, Hokkaido 060-8611 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
ในช่วงต้นของยุคเมจิ ขณะนั้นเพิ่งเริ่มก่อตั้งเขตการปกครองฮกไกโด และซัปโปโระถูกเลือกเป็นศูนย์กลางการจัดการและพัฒนาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัปโปโระถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานแบบอเมริกาเหนือ จึงมีการสร้างระบบถนนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ซัปโปโระเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 1972 โดยในปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นเมืองท่องเที่ยว ร้านบะหมี่ญี่ปุ่นหรือราเม็ง โรงเบียร์ซัปโปโระ และเทศกาลหิมะซัปโปโระที่จัดขึ้นทุกปีราวเดือนกุมภาพันธ์
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของซัปโปโระ คือภูเขา โมอิวะ เป็นยอดเขาสูง 531 เมตร [1] ที่เป็นจุดชมวิวของเมือง ที่เดินป่า ดูนก และลานสกี (Ski Jo) ในฤดูหนาว
ประวัติศาสตร์
แก้ก่อนที่จะเป็นเขตการปกครอง พื้นที่บริเวณซัปโปโระในขณะนั้นถูกเรียกว่า ที่ราบอิชิการิ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองในละแวกนั้น ที่เรียกว่า ชาวไอนุ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ในตอนปลายของยุคเอโดะ ก็ได้มีการขุดคลองผ่านพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นการเกื้อหนุนให้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้มากขึ้น จนกลายเป็น หมู่บ้านซัปโปโระ[2] ซึ่งชื่อซัปโปโระนั้น มาจากภาษาไอนุ ที่ว่า ซัต-โปโร-เป็ต (ไอนุ: サッ・ポロ・ペッ, แห้ง-ใหญ่-แม่น้ำ) ซึ่งมีความหมายว่า "แม่น้ำสายใหญ่แห้ง"[3]
ค.ศ. 1868 เป็นปีที่ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นปีที่กำเนิดซัปโปโระอย่างแท้จริง รัฐบาลสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ข้อสรุปว่า ศูนย์อำนวยการบริหารที่มีอยู่ของฮกไกโดซึ่งในขณะนั้นคือเมืองท่าฮาโกดาเตะอยู่ในที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันประเทศและการพัฒนาของเกาะ เป็นผลให้ที่ราบอิชิการิถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของการบริหารเกาะฮกไกโด
ระหว่าง ค.ศ. 1870 - 1871 คุโรดะ คิโยตากะ รองประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับการพัฒนาฮกไกโด ได้เข้าหารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการขอความช่วยเหลือด้านการพัฒนาดินแดน เป็นผลให้ ฮอเรซ แคปรอน รัฐมนตรีเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้ประธานาธิบดียูลิสซิส เอส. แกรนท์ ได้ถูกว่าจ้างโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษคณะกรรมการพัฒนาฯ การก่อสร้างเมืองได้เริ่มขึ้นบริเวณรอบสวนสาธารณะโอโดริซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นพื้นที่สีเขียวที่อยู่ใจกลางเมืองที่เจริญเติบโต โดยผังเมืองนั้นจะเป็นตารางสี่เหลี่ยมตามรูปแบบของอเมริกัน
การขยายตัวต่อเนื่องของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาในฮกไกโด ยังคงเป็นผลจากการย้ายถิ่นจากเกาะฮนชูไปทางใต้ บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ฮกไกโดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ที่เดิมคณะกรรมการพัฒนาฯ เห็นว่าเป็นพื้นที่ไม่จำเป็นต่อการพัฒนา ซึ่งถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1882 .
ค.ศ. 1880 พื้นที่ทั้งหมดของซัปโปโระได้เปลี่ยนเป็น เขตซัปโปโระ และมีเส้นทางรถไฟไปยังเทมิยะ และ โอตารุ สองปีต่อมา (ค.ศ. 1882) มีการยกเลิกเมืองไคตากุ ฮกไกโดถูกแบ่งออกเป็นสามจังหวัดคือ ฮาโกดาเตะ ซัปโปโระ และเนมูโระ และในขณะที่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของจังหวัดซัปโปโระถูกยกเป็นอำเภอ แต่ตัวเมืองของซัปโปโระยังคงเป็นเขตซัปโปโระ
ค.ศ. 1886 จังหวัดซัปโปโระ ฮาโกดาเตะ และเนมูโระถูกยกเลิก และศาลาว่าการเก่าฮกไกโดซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบอเมริกันนีโอบารอค ได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888
อำเภอซัปโปโระนั้นได้บริหารงานเขตซัปโปโระ จนกระทั่ง ค.ศ. 1899 เมื่อระบบใหม่มีการประกาศ หลังจากนั้น เขตซัปโปโระก็ได้เป็นอิสระจากการบริหารของอำเภอซัปโปโระ (มีสถานะสูงกว่าเมือง แต่ต่ำกว่านคร) ซึ่งในเกาะฮกไกโดเวลานั้น ฮาโกดาเตะและโอตารุยังคงมีฐานะเป็นเพียงเขต
ภูมิศาสตร์
แก้ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของนครซัปโปโระ (ค.ศ. 1981-2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 11.2 (52.2) |
10.8 (51.4) |
16.8 (62.2) |
28.0 (82.4) |
31.1 (88) |
31.9 (89.4) |
36.0 (96.8) |
36.2 (97.2) |
32.7 (90.9) |
26.4 (79.5) |
22.4 (72.3) |
14.8 (58.6) |
36.2 (97.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | −0.6 (30.9) |
0.1 (32.2) |
4.0 (39.2) |
11.5 (52.7) |
17.3 (63.1) |
21.5 (70.7) |
24.9 (76.8) |
26.4 (79.5) |
22.4 (72.3) |
16.2 (61.2) |
8.5 (47.3) |
2.1 (35.8) |
12.9 (55.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | −3.6 (25.5) |
−3.1 (26.4) |
0.6 (33.1) |
7.1 (44.8) |
12.4 (54.3) |
16.7 (62.1) |
20.5 (68.9) |
22.3 (72.1) |
18.1 (64.6) |
11.8 (53.2) |
4.9 (40.8) |
−0.9 (30.4) |
8.9 (48) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −7.0 (19) |
−6.6 (20.1) |
−2.9 (26.8) |
3.2 (37.8) |
8.3 (46.9) |
12.9 (55.2) |
17.3 (63.1) |
19.1 (66.4) |
14.2 (57.6) |
7.5 (45.5) |
1.3 (34.3) |
−4.1 (24.6) |
5.3 (41.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −27.0 (-17) |
−28.5 (-19.3) |
−22.6 (-8.7) |
−14.6 (5.7) |
−4.2 (24.4) |
0.0 (32) |
5.2 (41.4) |
5.3 (41.5) |
−0.9 (30.4) |
−5.8 (21.6) |
−15.5 (4.1) |
−23.9 (-11) |
−28.5 (−19.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 113.6 (4.472) |
94.0 (3.701) |
77.8 (3.063) |
56.8 (2.236) |
53.1 (2.091) |
46.8 (1.843) |
81.0 (3.189) |
123.8 (4.874) |
135.2 (5.323) |
108.7 (4.28) |
104.1 (4.098) |
111.7 (4.398) |
1,106.5 (43.563) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 173 (68.1) |
147 (57.9) |
98 (38.6) |
11 (4.3) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
2 (0.8) |
32 (12.6) |
132 (52) |
597 (235) |
ความชื้นร้อยละ | 70 | 69 | 66 | 62 | 66 | 72 | 76 | 75 | 71 | 67 | 67 | 69 | 69 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 28.8 | 25.4 | 23.5 | 6.4 | 0.1 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 1.2 | 13.9 | 26.5 | 125.8 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 92.5 | 104.0 | 146.6 | 176.5 | 198.4 | 187.8 | 164.9 | 171.0 | 160.5 | 152.3 | 100.0 | 85.9 | 1,740.4 |
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [4] |
เขตการปกครอง
แก้นครซัปโปโระประกอบด้วย 10 เขต (区 ku) ดังนี้
เขตอัตสึเบ็ตสึ (厚別区) (ม่วง) |
เขตชูโอ (中央区) (น้ำเงิน) (ศูนย์กลาง) |
เขตฮิงาชิ (東区) (ฟ้า) |
เขตคิตะ (北区) (ส้มแดง) |
เขตคิโยตะ (清田区) (เขียว) |
เขตมินามิ (南区) (แดง) |
เขตนิชิ (西区) (ส้ม) |
เขตชิโรอิชิ (白石区) (น้ำตาล) |
เขตเทอิเนะ (手稲区) (เขียวขี้ม้า) |
เขตโทโยฮิระ (豊平区) (ชมพู) |
สีในแผนที่ข้างต้นแสดงที่ตั้งของเขต
วัฒนธรรม
แก้ซัปโปโระจัดว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 14,104,000 คน ซึ่งเป็นปีที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในประวัติศาสตร์
อาหาร
แก้ซัปโปโระขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ "มิโซะราเม็ง" และราเม็งหลากหลายชนิดของซัปโปโระก็ยังเป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้ "ซุปแกงกะหรี่" พร้อมผักและเนื้อไก่ยังเป็นหนึ่งในความพิเศษในซัปโปโระ ซึ่งในขณะนี้มีร้านซุปแกงกะหรี่มากมายตั้งอยู่ตามเมืองและตำบลต่าง ๆ ของฮกไกโด
ซัปโปโระยังถูกกล่าวขานในเรื่องของอาหารทะเลที่มีความสดและรสชาติเยี่ยม อาทิ แซลมอน เม่นทะเล ปู เป็นต้น และยังมีการปลูกบลูเบอรีและแตงโมหลากหลายสายพันธุ์
เทศกาล
แก้ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีเทศกาลหิมะซัปโปโระ ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากของซัปโปโระ ในบริเวณสวนสาธารณะโอโดริ บางส่วนของซูซูกิโนะ (เทศกาลน้ำแข็งซูซูกิโนะ) บางส่วนของมาโกมาไนในในเขตมินามิ ซึ่งรูปปั้นหิมะและรูปแกะสลักน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทศกาลฯ ถูกสรรค์สร้างโดยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น
เดือนมิถุนายน ของทุกปี จะมีเทศกาลโยซาโกอิโซรัง จัดขึ้นภายในใจกลางสวนสาธารณะโอโดริและถนนสู่ซูซูกิโนะ ภายในเทศกาลนี้จะมีทีมนักเต้นรำจำนวนมากที่สวมเครื่องแต่งกายแบบพิเศษเต้นรำไปกับทำนองเพลงแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นคือโซรัมบูชิ ในปี ค.ศ. 2006 เทศกาลนี้มีทีมเข้าร่วมกว่า 350 ทีมด้วยจำนวนนักเต้นรำกว่า 45,000 คน
การคมนาคม
แก้- ขนส่งในเมือง
- รถไฟ
- JR ฮกไกโด
- สายหลักฮาโกดาเตะ - 15 สถานี
- สายชิโตเซะ - 3 สถานี
- สายซัชโช - 11 สถานี
- อากาศ
เมืองพี่น้อง
แก้- ค.ศ. 1959 พอร์ตแลนด์ สหรัฐ
- ค.ศ. 1972 มิวนิก เยอรมนี
- ค.ศ. 1980 เฉิ่นหยาง จีน
- ค.ศ. 1990 โนโวซีบีสค์ รัสเซีย
- ค.ศ. 2010 แทจ็อน เกาหลีใต้
อ้างอิง
แก้- ↑ เว็บไซต์ Sapporo Development Corporation[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Hometown Homepage - Look back a bit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.
- ↑ "Sapporo.jp". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.
- ↑ "気象庁 / 平年値(年・月ごとの値)". Japan Meteorological Agency.
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- รูปภาพเกี่ยวกับซัปโปโระ ที่ฟลิคเกอร์
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนครซัปโปโระ เก็บถาวร 2019-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนครซัปโปโระ (อังกฤษ)
- ข้อมูลสำหรับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ (อังกฤษ)/(ญี่ปุ่น)/(เกาหลี)/(จีน)
- a live view of Odori Park from Sapporo TV Tower เก็บถาวร 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)