โอตารุ

นครในกิ่งจังหวัดชิริเบชิ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น

โอตารุ (ญี่ปุ่น: 小樽市โรมาจิโอตารุชิ; ไอนุ: オタ・オル・ナイ โอตาโอรูไน[2]) เป็นเมืองท่าในกิ่งจังหวัดชิริเบชิ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครซัปโปโระ ตัวเมืองหันหน้าออกสู่อ่าวอิชิการิ และเป็นเมืองท่าหลักของอ่าวมาเป็นเวลานาน[ต้องการอ้างอิง] มีอาคารเก่าแก่มากมาย จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และเนื่องจากใช้เวลานั่งรถยนต์จากซัปโปโระเพียง 25 นาที ในระยะหลังเมืองจึงพัฒนาเป็นย่านที่พักอาศัย

โอตารุ

小樽市
  • บนซ้าย: คลองโอตารุ
  • บนขวา: พิพิธพัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นโอตารุ
  • กลางขวา 1: งานแก้ว
  • กลางขวา 2: ทางรถไฟสายเก่าเทมิยะ
  • ล่าง: ทัศนียภาพจากเขาเท็งงุ
ธงของโอตารุ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโอตารุ
ตรา

ที่ตั้งของโอตารุ (เน้นสีชมพู) ในกิ่งจังหวัดชิริเบชิ
โอตารุตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โอตารุ
โอตารุ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 43°11′N 141°0′E / 43.183°N 141.000°E / 43.183; 141.000พิกัดภูมิศาสตร์: 43°11′N 141°0′E / 43.183°N 141.000°E / 43.183; 141.000
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคฮกไกโด
จังหวัด ฮกไกโด
กิ่งจังหวัดชิริเบชิ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีโทชิยะ ฮาซามะ (迫 俊哉; ตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2018)
พื้นที่
 • ทั้งหมด243.83 ตร.กม. (94.14 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 มีนาคม ค.ศ. 2023)[1]
 • ทั้งหมด107,909 คน
 • ความหนาแน่น443 คน/ตร.กม. (1,150 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น01203-3
โทรศัพท์0134-32-4111
ที่อยู่ศาลาว่าการ2-12-1 Hanazono, Otaru-shi, Hokkaido
047-8660
เว็บไซต์www.city.otaru.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกอาโอบาโตะ/นกเปล้าท้องขาว (Treron sieboldii)
ดอกไม้กุหลาบพันปี
ต้นไม้ชิรากาบะ/เบิร์ชเงินไซบีเรีย (Betula platyphylla)

โอตารุมีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 243.83 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2023 ประมาณ 107,909 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 443 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในกิ่งจังหวัดชิริเบชิ แต่ไม่ใช่ศูนย์กลางของกิ่งจังหวัด (ศูนย์กลางคือเมืองคุตจัง ที่ตั้งอยู่ใกล้กับกึ่งกลางของกิ่งจังหวัด มากกว่า)

ภูมิศาสตร์ แก้

โอตารุเป็นเมืองท่าบนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ส่วนเหนือของกิ่งจังหวัดชิริเบชิ สมัยก่อนเคยมีคลองไหลผ่านใจกลางเมือง ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนของคลองที่ยังอนุรักษ์ไว้ พื้นที่ด้านทิศใต้ของเมืองจะลาดชันตามแนวภูเขาหลายลูก ที่มีชื่อเสียงคือ ภูเขาเท็งงุ (เท็งงูยามะ) ซึ่งเป็นแหล่งสกีในฤดูหนาวที่เป็นที่นิยม ระดับความสูงของพื้นที่จะลาดลงอย่างรวดเร็วจากพื้นที่ภูเขาไปถึงชายทะเล พื้นที่เกือบทั้งหมดระหว่างชายฝั่งกับภูเขาถูกพัฒนาเป็นเมือง ตัวเมืองส่วนที่อยู่บนพื้นที่ลาดภูเขาจะเรียกว่า ซากะ โนะ มาจิ หรือ "เมืองบนเนินเขา"

ภูเขาเท็งงุ แก้

โอตารุเป็นเมืองท่าสำคัญสำหรับซัปโปโระ และบางส่วนของเมืองตั้งอยู่บนที่ลาดต่ำของภูเขาเท็งงุ ซึ่งเป็นแหล่งสกีและกีฬาฤดูหนาวที่มีชื่อเสียง สามารถไปได้โดย กระเช้าลอยฟ้าโอตารุเท็งงูยามะ

เทศบาลข้างเคียง แก้

ประวัติศาสตร์ แก้

โอตารุเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไอนุ และเชื่อกันว่าชื่อ "โอตารุ" มีที่มาจากภาษาไอนุ ซึ่งอาจหมายถึง "แม่น้ำที่ไหลผ่านหาดทราย" ถ้ำเทมิยะซึ่งหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยในปัจจุบันมีภาพเขียนผนังถ้ำตั้งแต่ยุคโซกุ-โจมง หรือประมาณ ค.ศ. 400 ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1865 รัฐบาลเอโดะได้ยกสถานะโอตารุเป็นหมู่บ้าน และเมื่อ ค.ศ. 1880 ทางรถไฟสายแรกในฮกไกโดได้เปิดให้บริการวันละเที่ยวระหว่างโอตารุกับซัปโปโระ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1922 โอตารุได้รับการยกสถานะให้เป็นนคร

สถานที่สำคัญ แก้

โอตารุมีคลองไหลผ่านกลางเมือง และประดับตกแต่งด้วยโคมไฟถนนแบบวิคตอเรียน เวลากลางวันบริเวณนี้จะเป็นแหล่งรวมกิจกรรมต่าง ๆ และมีศิลปินมาแสดงความสามารถเฉพาะตัวตามถนนเลียบคลอง โอตารุจัดว่าเป็นเมืองที่สวยงามดั่งภาพวาดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น บริเวณใกล้เคียงตัวเมืองมีธรรมชาติที่สวยงาม และมีชายหาดที่สวยงามอยู่ใกล้เมือง บางหาดน้ำทะเลจะใสมาก เช่น หาดรันชิมะ และ Sunset Beach ที่เซนิบาโกะ (บนเส้นทางไปยังซัปโปโระ) มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและรัสเซียเดินทางมาท่องเที่ยวโอตารุเป็นจำนวนมาก

สถานที่ที่มีชื่อเสียงในส่วนตะวันตกของเมืองคือ นิชิน โกเต็ง (Nishin Goten) (herring mansion) เป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1897 เคยเป็นบ้านของเจ้าของอุตสาหกรรมจับปลาเฮอร์ริงชื่อว่า ฟูกูมัตสึ ทานากะ เดิมสร้างขึ้นใกล้กับหมู่บ้านโทมาริ ต่อมาถูกย้ายมายังตำแหน่งปัจจุบันเมื่อ ค.ศ. 1958 นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างส่วนที่พักที่ซอมซ่อของคนงาน 120 คนบนชั้นสอง กับห้องของเจ้าของอุตสาหกรรมที่หรูหราบนชั้นล่าง ได้อย่างชัดเจน

โอตารุมีชื่อเสียงในด้านเบียร์ที่ผลิตในเมือง โดยมี โอตารุเบียร์ (Otaru Beer) เป็นภัตตาคารชื่อดังที่ตกแต่งร้านแบบยุคกลาง ตั้งอยู่ติดกับคลอง นอกจากนี้ยังมีซูชิที่มีชื่อเสียงด้านความสดเช่นกัน ในเมืองมีย่านการค้าและตลาดอยู่มากมาย แต่ยังน้อยกว่าในซัปโปโระ ศูนย์กลางของฮกไกโด

ภูมิอากาศ แก้

ในฤดูร้อน อากาศจะร้อนและปลอดโปร่ง ในฤดูหนาวจะมีหิมะตกตั้งแต่ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม แต่ปกติจะหิมะจะทับถมน้อยกว่า 2–3 เมตร

ข้อมูลภูมิอากาศของโอตารุ (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.7
(30.7)
−0.1
(31.8)
3.7
(38.7)
10.8
(51.4)
16.4
(61.5)
20.1
(68.2)
23.7
(74.7)
25.6
(78.1)
21.9
(71.4)
15.7
(60.3)
8.1
(46.6)
1.7
(35.1)
12.4
(54.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) −3.3
(26.1)
−2.9
(26.8)
0.5
(32.9)
6.5
(43.7)
11.6
(52.9)
15.7
(60.3)
19.8
(67.6)
21.7
(71.1)
17.7
(63.9)
11.5
(52.7)
4.7
(40.5)
−1.0
(30)
8.54
(47.37)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −6.1
(21)
−5.8
(21.6)
−2.6
(27.3)
2.6
(36.7)
7.5
(45.5)
12.1
(53.8)
16.6
(61.9)
18.4
(65.1)
13.9
(57)
7.6
(45.7)
1.4
(34.5)
−3.7
(25.3)
5.16
(41.29)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 142.3
(5.602)
105.6
(4.157)
86.2
(3.394)
57.4
(2.26)
56.1
(2.209)
46.3
(1.823)
79.3
(3.122)
117.7
(4.634)
125.6
(4.945)
130.3
(5.13)
146.8
(5.78)
141.4
(5.567)
1,235
(48.622)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 194
(76.4)
156
(61.4)
107
(42.1)
15
(5.9)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
45
(17.7)
156
(61.4)
674
(265.4)
ความชื้นร้อยละ 70 69 66 64 69 77 80 78 72 67 67 70 70.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 25.5 22.0 19.7 12.7 10.7 8.6 10.3 10.2 12.5 16.4 20.9 23.5 193
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 29.4 25.5 22.3 6.0 0.1 0.0 0.0 0.0 0.0 0.8 13.6 28.0 125.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 66.2 78.1 129.8 176.4 200.6 184.0 164.2 171.6 164.5 145.9 82.4 63.4 1,627.1
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency

เมืองพี่น้อง แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "住民基本台帳人口・世帯数 - 総合政策部計画局統計課" [ทะเบียนราษฎรจำนวนประชากร/จำนวนครัวเรือน - ฝ่ายสถิติ กองนโยบายทั่วไป]. จังหวัดฮกไกโด (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.
  2. 山田秀三著『北海道の地名』北海道新聞社、1984年、ISBN 9784893633217
  3. "Sister Cities of Otaru". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้