เกียวโตแอนิเมชัน
บริษัท เกียวโตแอนิเมชัน จำกัด (ญี่ปุ่น: 株式会社京都アニメーション; โรมาจิ: Kabushiki-gaisha Kyōto Animēshon; อังกฤษ: Kyoto Animation Co., Ltd.) หรือเรียกโดยย่อว่า เกียวอะนิ (京アニ) เป็นสตูดิโอผลิตอนิเมะญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองอูจิ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยอดีตพนักงานจาก มูชิโปร มี ฮิเดอากิ ฮัตตะ เป็นประธานบริษัท เกียวโตแอนิเมชันเป็นบริษัทแม่ของสตูดิโอแอนิเมชันดู (Animation Do) ซึ่งตั้งอยู่ ณ จังหวัดโอซากะ เกียวโตแอนิเมชันผลิตผลงานอนิเมะออกอากาศทางโทรทัศน์และภาพยนตร์อนิเมะจำนวนมาก นักวาดภาพแอนิเมชันของเกียวโตแอนิเมชันเป็นพนักงานประจำและได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ไม่เหมือนกับในสตูดิโอแอนิเมชันอื่นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานฟรีแลนซ์ ทำให้นักวาดภาพแอนิเมชันของเกียวโตแอนิเมชัน สามารถให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานได้ดีกว่า[6]
ชื่อท้องถิ่น | 株式会社京都アニメーション |
---|---|
ชื่อโรมัน | Kabushiki-gaisha Kyōto Animēshon |
ประเภท | บริษัทร่วมทุน |
อุตสาหกรรม | อนิเมะญี่ปุ่น สำนักพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ (ไลต์โนเวล เป็นหลัก) |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2524; 43 ปีก่อน |
สำนักงานใหญ่ | นครอูจิ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น[1] |
บุคลากรหลัก | ฮิเดอากิ ฮัตตะ, ประธาน[2] โยโกะ ฮัตตะ, รองประธาน[3] |
พนักงาน | 137 คน (18 ตุลาคม พ.ศ. 2562)[4] |
บริษัทในเครือ | แอนิเมชันโด[5] |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้บริษัทก่อตั้งร่วมกันโดยคู่สามีภรรยา โยโกะ ฮัตตะและฮิเดอากิ ฮัตตะ ในปี 2524 เธอเคยทำงานให้กับ มูชิโปรดักชัน จนกระทั่งเธอเป็นอิสระจากสตูดิโอเมื่อเธอย้ายไปเกียวโต หลังเธอแต่งงานกับฮิเดอากิ ฮัตตะ ฮิเดอากิ ทำหน้าที่เป็นประธานและโยโกะทำหน้าที่เป็นรองประธาน[7] บริษัทกลายเป็นบริษัทจำกัด ในปี 2528 และกลายเป็นบริษัทร่วมทุนในปี 2542[8] โลโก้ของบริษัทมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคันจิ เกียว (京) ตัวอักษรแรกของเกียวโต[9] ในช่วงแรก บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตอนิเมะเรื่อง คิดดี้เกรด, อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน, เทนจิยูนิเวิร์ส,[8] เนิร์สวิตช์โคมูกิ, และ เจเนอเรเตอร์กอวล์ เกียวโตแอนิเมชันยังได้ผลิตแอนิเมชันเพลงเปิดและเพลงปิดให้กับวิดีโอเกมชุด จิกเคียวพาวเวอร์ฟูลโปรยาคิว (พาวเวอร์โปร) วิดีโอเกมเบสบอลของโคนามิ
ตั้งแต่ปี 2552 เกียวโตแอนิเมชันเป็นเจ้าภาพจัดงานประกวด เกียวโตแอนิเมชันอะวอร์ด ประจำปีเพื่อค้นหาเรื่องราวใหม่ ๆ ที่ต่อมาจะได้ตีพิมพ์ใน เคเอเอสูมะบุงโกะ สำนักพิมพ์ในเครือ ผู้ชนะเลิศมีโอกาสที่เรื่องราวของตนจะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ[10] รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!, ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ, ฟากวิกฤตโลกวิญญาณ และ โลกสีรุ้งจอมปีศาจ คืออนิเมะที่ดัดแปลงจากนวนิยายที่ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดดังกล่าว[10][11][12] ในปี 2557 นวนิยายเรื่อง ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน เป็นผลงานแรกและผลงานเดียวที่ชนะเลิศรางวัลใหญ่จากหนึ่งในสามสาขา[13] ดานี คาวาลลาโร กล่าวว่า เกียวโตแอนิเมชันได้รับการยอมรับในเรื่องของมูลค่าการผลิตผลงานที่สูงและ "มีความรู้สึกไวต่อสิ่งมหัศจรรย์และความไม่แน่นอนของชีวิตธรรมดา"[14][15]
ในเดือนพฤษภาคม 2563 บริษัทประกาศว่าพวกเขาจะหยุดงานตลอดทั้งเดือน เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา[16]
เหตุลอบวางเพลิง
แก้ในช่วงเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 คนร้ายได้บุกเข้าไปในสตูดิโอของเกียวโตแอนิเมชันในเขตฟูชิมิ นครเกียวโต ตะโกนขู่ฆ่าก่อนสาดของเหลวไวไฟซึ่งคาดว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและจุดไฟเผาอาคารซึ่งมีอะนิเมเตอร์ทำงานอยู่ภายในประมาณ 70 คน[17] จากคำให้การของผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ผู้ที่อยู่ในอาคารบางส่วนได้วิ่งหนีออกมาขอความช่วยเหลือขณะที่ยังมีไฟลุกไหม้ตามตัว มีผู้เสียชีวิต 35 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 34 คน[18] คนร้ายซึ่งเป็นชายวัย 41 ปีและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เช่นกันนั้นได้รับสารภาพขณะถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุ และถูกตำรวจควบคุมตัวขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ยังพบอาวุธมีคมจำนวนหนึ่งตกอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุแต่ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นของผู้ก่อเหตุหรือไม่[19] เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นในรอบ 3 ปี[18]
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้แถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประณามการก่อเหตุในครั้งนี้ว่า "เลวร้ายเกินคำบรรยาย"[20] เหตุการณ์นี้เป็นที่พูดถึงในเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่นทวิตเตอร์เป็นอย่างมาก โดยผู้ที่ติดตามผลงานของสตูดิโอได้แสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจ บางส่วนโพสต์รูปภาพผลงานอนิเมะของเกียวโตแอนิเมชันประกอบ[21]
ผลงาน
แก้อนิเมะโทรทัศน์
แก้ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | ออกอากาศวันแรก | ออกอากาศวันสุดท้าย | ตอน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
2546 | ฟูลเมทัลพานิก? ฟุม็อฟฟุ | ยาสูชิโระ ทาเคโมโตะ | 25 สิงหาคม 2546 | 18 พฤศจิกายน 2546 | 12 | ดัดแปลงจากไลต์โนเวลชุด ฟูล เมทัล แพนิก! และภาคต่อของอนิเมะเมื่อปี 2545 ที่สร้างโดย กอนโซ |
2548 | แอร์ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 6 มกราคม 2548 | 31 มีนาคม 2548 | 13 | ดัดแปลงจากวิชวลโนเวลของคีย์ |
ฟูล เมทัล แพนิก! เดอะเซกันด์เรด | ยาสูชิโระ ทาเคโมโตะ | 13 กรกฎาคม 2548 | 19 ตุลาคม 2548 | 13 | ดัดแปลงจากไลต์โนเวลชุดโดยโชจิ กาโต | |
แอร์อินซัมเมอร์ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 28 สิงหาคม 2548 | 4 กันยายน 2548 | 2 | ดัดแปลงจากวิชวลโนเวลของคีย์ | |
2549 | เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 2 เมษายน 2549 | 2 กรกฎาคม 2549 | 14 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลชุดโดยนางารุ ทานิงาวะ |
คาน่อน | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 5 ตุลาคม 2549 | 15 มีนาคม 2550 | 24 | เป็นการดัดแปลงครั้งที่สองจากวิชวลโนเวลชื่อเดียวกันของคีย์ โดยครั้งแรกดัดแปลงเป็นอนิเมะโดยโทเอแอนิเมชันในปี 2545 | |
2550 | ลักกี☆สตาร์ | ยูทากะ ยามาโมโตะ (1–4) ยาสูชิโระ ทาเคโมโตะ (5–24) |
8 เมษายน 2550 | 16 กันยายน 2550 | 24 | ดัดแปลงจากมังงะโดยคางามิ โยชิมิซุ |
แคลนนาด | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 4 ตุลาคม 2550 | 27 มีนาคม 2551 | 23 | ดัดแปลงจากวิชวลโนเวลของคีย์ | |
2551 | แคลนนาดอาฟเตอร์สตอรี | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 3 ตุลาคม 2551 | 26 มีนาคม 2552 | 24 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก แคลนนาด |
2552 | โซระ โอะ มิอาเงรุ โชโจ โนะ ฮิโตมิ นิ อูซึรุ เซคาอิ | โยชิจิ คิงามิ | 14 มกราคม 2552 | 11 มีนาคม 2552 | 9 | อนิเมะโทรทัศน์สร้างใหม่และเนื้อเรื่องต่อจาก มุนโตะ |
เค-อง! | นาโอโกะ ยามาดะ | 3 เมษายน 2552 | 26 มิถุนายน 2552 | 13 | ดัดแปลงจากมังงะโดยคาคิฟลาย | |
เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 3 เมษายน 2552 | 9 ตุลาคม 2552 | 28 | ออกอากาศใหม่พร้อมกับตอนใหม่ | |
2553 | เค-อง!! | นาโอโกะ ยามาดะ | 7 เมษายน 2553 | 28 กันยายน 2553 | 26 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก เค-อง! |
2554 | นิชิโจ สามัญขยันรั่ว | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 3 เมษายน 2554 | 25 กันยายน 2554 | 26 | ดัดแปลงจากมังงะโดยเคอิจิ อาราอิ |
2555 | ปริศนาความทรงจำ | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 22 เมษายน 2555 | 16 กันยายน 2555 | 22 | ดัดแปลงจากนวนิยายโดยโฮโนบุ โยเนซาวะ |
รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 4 ตุลาคม 2555 | 19 ธันวาคม 2555 | 12 | ดัดแปลงจากไลต์โนเวลโดยโทราโกะ | |
2556 | ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ | นาโอโกะ ยามาดะ | 10 มกราคม 2556 | 28 มีนาคม 2556 | 12 | ผลงานต้นฉบับจากทีมผู้สร้าง เค-อง! |
ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ | ฮิโรโกะ อุทสึมิ | 4 กรกฎาคม 2556 | 26 กันยายน 2556 | 12 | เนื้อเรื่องต่อจากไลต์โนเวล ไฮสปีด! โดย โคจิ โอจิ[11], สร้างร่วมกับแอนิเมชันดู | |
ฟากวิกฤตโลกวิญญาณ | ไทจิ อิชิดาเตะ | 2 ตุลาคม 2556 | 18 ธันวาคม 2556 | 12 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลชุดโดย นาโกมุ โทริอิ[12] | |
2557 | รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! หัวใจคูณสอง | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 8 มกราคม 2557 | 26 มีนาคม 2557 | 12 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! |
ฟรี! อีเทอร์นอล ซัมเมอร์ | ฮิโรโกะ อุทสึมิ | 2 กรกฎาคม 2557 | 24 กันยายน 2557 | 13 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก ฟรี!, สร้างร่วมกับแอนิเมชันดู | |
ปฏิบัติการพลิกวิกฤตสวนสนุก | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 6 ตุลาคม 2557 | 25 ธันวาคม 2557 | 13 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลชุดโดยโชจิ กาโต | |
2558 | ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 8 เมษายน 2558 | 1 กรกฎาคม 2558 | 13 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลโดยอายาโนะ ทาเกดะ |
2559 | โลกสีรุ้งจอมปีศาจ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 7 มกราคม 2559 | 31 มีนาคม 2559 | 13 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลโดยโซอิจิโร ฮาตาโนะ |
ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม 2 | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 6 ตุลาคม 2559 | 28 ธันวาคม 2559 | 13 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม | |
2560 | น้องเมดมังกรของคุณโคบายาชิ | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 11 มกราคม 2560 | 6 เมษายน 2560 | 13 | ดัดแปลงจากมังงะโดยคูลเคียวชินจะ[22] |
2561 | ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน | ไทจิ อิชิดาเตะ | 11 มกราคม 2561 | 5 เมษายน 2561 | 13 | ดัดแปลงจากไลต์โนเวลโดยคานะ อาคัตสึกิ |
ฟรี! ไดร์ฟทูเดอะฟิวเจอร์ | เออิซาคุ คาวานามิ | 11 กรกฎาคม 2561 | 26 กันยายน 2561 | 12 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก ฟรี! เอเทอร์นอล ซัมเมอร์, สร้างร่วมกับแอนิเมชันดู | |
สึรุเนะ | ทาคูยะ ยามามุระ | 22 ตุลาคม 2561 | 21 มกราคม 2562 | 13 | ดัดแปลงจากไลท์โนเวลโดยโคโตโกะ อายาโนะ[23] | |
2564 | น้องเมดมังกรของคุณโคบายาชิเอส | ทัตสึยะ อิชิฮาระ ยาสูชิโระ ทาเคโมโตะ[a] |
8 กรกฎาคม 2564 | 22 กันยายน 2564 | 12 | อนิเมะเนื้อเรื่องต่อจาก น้องเมดมังกรของคุณโคบายาชิ[24] |
TBA | 20 เซคิ เดนกิ โมคุโรคุ | TBA | TBA | TBA | TBA | ดัดแปลงจากนวนิยายโดย ฮิโระ ยูกิ[25] |
ภาพยนตร์อนิเมะ
แก้ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | วันฉาย | ความยาว | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2552 | เทนโจบิโตะ โตะ อาคุโตบิโตะ ไซโก โนะ ทาทาคาอิ | โยชิจิ คิงามิ | 18 เมษายน 2552 | 83 นาที | อนิเมะ โซระ โอะ มิอะเงรุ โชโจ โนะ ฮิโตมิ นิ อูซึรุ เซะคาอิ ในรูปแบบภาพยนตร์ |
2553 | การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ (หัวหน้า) ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ |
6 กุมภาพันธ์ 2553 | 162 นาที | เนื้อเรื่องต่อจาก เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ |
2554 | เค-อง! มูฟวี | นาโอโกะ ยามาดะ | 3 ธันวาคม 2554 | 110 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ดัดแปลงจากมังงะโดยคาคิฟลาย |
2556 | บัญญัติใหม่ – ทาคานาชิ ริกกะ รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! เดอะมูฟวี่ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 14 กันยายน 2556 | 96 นาที | สรุปเรื่องราวในปีแรกของอนิเมะ "รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!" |
2557 | ทามาโกะ เลิฟ สตอรี่ | นาโอโกะ ยามาดะ | 26 เมษายน 2557 | 83 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ |
2558 | เกคิโจบัง เกียวไค โนะ คานาตะ: ไอวิลบีเฮีย คาโกะ-เฮน | ไทจิ อิชิดาเตะ | 14 มีนาคม 2558 | 82 นาที | สรุปเรื่องราวในปีแรกของอนิเมะ ฟากวิกฤตโลกวิญญาณ |
เกคิโจบัง เกียวไค โนะ คานาตะ: ไอวิลบีเฮีย มิไร-เฮน | ไทจิ อิชิดาเตะ | 25 เมษายน 2558 | 90 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ฟากวิกฤตโลกวิญญาณ | |
ไฮสปีด! ฟรี! สตาร์ตติงเดย์ส | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ[26] | 5 ธันวาคม 2558 | 110 นาที | ภาพยนตร์เนื้อเรื่องก่อนอนิเมะ โดยดัดแปลงจากเล่มที่สองของไลต์โนเวลต้นฉบับ ไฮสปีด | |
2559 | เกคิโจบัง ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม: คิตาอูจิโกโกซุยโซราคุ-บุ เอะ โยโกโซะ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 23 เมษายน 2559 | 104 นาที | สรุปเรื่องราวในปีแรกของอนิเมะ ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม |
รักไร้เสียง | นาโอโกะ ยามาดะ | 17 กันยายน 2559 | 130 นาที | ดัดแปลงจากมังงะโดยโยชิโตกิ โออิมะ | |
2560 | ฟรี! ไทส์เลสส์เมโลดี: เดอะบอนด์ | เออิซาคุ คาวานามิ | 22 เมษายน 2560 | 94 นาที | สรุปเรื่องราวในปีที่สองของ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ โดยเน้นที่ตัวละคร ฮารุกะ |
ฟรี! ไทส์เลสส์เมโลดี: เดอะพรอมิส | เออิซาคุ คาวานามิ | 1 กรกฎาคม 2560 | 99 นาที | สรุปเรื่องราวในปีที่สองของ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ โดยเน้นที่ตัวละคร ริน | |
ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม: โทโดเคไท เมโลดี | ไทจิ โองาวะ | 30 กันยายน 2560 | 115 นาที | สรุปเรื่องราวในปีที่สองของ ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม | |
ฟรี! เทกยัวแมสก์ส | เออิซาคุ คาวานามิ | 28 ตุลาคม 2560 | 105 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ | |
2561 | รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! เทกออนมี | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 6 มกราคม 2561 | 90 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ "รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!" |
ลิซแอนด์เดอะบลูเบิร์ด | นาโอโกะ ยามาดะ | 21 เมษายน 2561 | 90 นาที | เนื้อเรื่องแยกของ ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม | |
2562 | เกคิโจบัง ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม: จิไก โนะ ไฟนอล | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 19 เมษายน 2562 | 101 นาที | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม |
ฟรี! -โรดทูเดอะเวิร์ล- ดรีม | เออิซาคุ คาวานามิ | 5 กรกฎาคม 2562 | 99 นาที | สรุปเรื่องราวในปีที่สามของ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ | |
ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน: อีเทอร์นิตีแอนด์ดิออโตเมโมรีส์ดอลล์ | ฮารุกะ ฟูจิตะ | 6 กันยายน 2562 | 93 นาที | เนื้อเรื่องแยกของ ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน | |
2563 | ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน เดอะมูฟวี | ไทจิ อิชิดาเตะ | 18 กันยายน 2563 | รอประกาศ | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ไวโอเล็ต เอเวอร์การ์เดน |
รอประกาศ | ภาพยนตร์ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ ที่ยังไม่มีชื่อ | รอประกาศ | รอประกาศ | รอประกาศ | เนื้อเรื่องต่อจากอนิเมะ ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ |
ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน
แก้ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | วางจำหน่ายวันแรก | วางจำหน่ายวันสุดท้าย | ตอน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
2545 | เนิร์สวิตช์โคมูกิ | ยาสึฮิโระ ทาเคโมโตะ โยชิโทโมะ โยเนทานิ |
23 สิงหาคม 2545 | 2 เมษายน 2547 | 5 | เนื้อเรื่องแยกของ เดอะโซลเทกเกอร์; สร้างร่วมกับ ทาสึโนโกะ โปรดักชัน |
2546 | มุนโตะ | โยชิจิ คิงามิ | 18 มีนาคม 2546 | 1 | ผลงานต้นฉบับ | |
2548 | มุนโตะ โทกิ โนะ คาเบะ โอะ โคเอเตะ | โยชิจิ คิงามิ | 29 เมษายน 2548 | 1 | เนื้อเรื่องต่อจาก มุนโตะ | |
2551 | ลักกีสตาร์: ออริจินัลนะวิชวลโตะแอนิเมชัน | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 26 กันยายน 2551 | 1 | เนื้อเรื่องข้างเคียงของ ลักกี สตาร์ | |
2554 | นิจิโจ: นิจิโจ โนะ 0-วะ | ทัตสึยะ อิชิฮาระ | 12 มีนาคม 2554 | 1 | เนื้อเรื่องก่อน นิชิโจ สามัญขยันรั่ว | |
2556 | เฮียวกะ: โมสึเบกิ โมโน วะ | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 12 มกราคม 2556 | 1 | เนื้อเรื่องระหว่างกลางของ ปริศนาความทรงจำ |
ออริจินัลเน็ตแอนิเมชัน
แก้ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | ปล่อยวันแรก | ปล่อยวันสุดท้าย | ตอน | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2552 | สึซึมิยะ ฮารุฮิ-จัง | ยาซูฮิโระ ทาเคโมโตะ | 14 กุมภาพันธ์ 2552 | 8 พฤษภาคม 2552 | 25 | ดัดแปลงจากมังงะโดยปุโยะ | [27] |
เนียวรอน จูรูยะ-ซัง | 13 | ดัดแปลงจากมังงะโดยเอเลตโตะ |
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 拠点案内 [Office Locations]. KyotoAnimation.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2015. สืบค้นเมื่อ April 27, 2015.
- ↑ 会社概要 [Company Profile]. KyotoAnimation.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2015. สืบค้นเมื่อ April 27, 2015.
- ↑ "Outline". KyotoAnimation.co.jp. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2011. สืบค้นเมื่อ April 27, 2015.
- ↑ "yomiuri.co.jp". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ 会社情報 [Company Information]. AnimationDo.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "A Silent Voice shows why Kyoto Animation is one of the top animation studios". The Verge. October 20, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2018. สืบค้นเมื่อ February 3, 2018.
- ↑ Cavallaro 2012, p. 3, 11.
- ↑ 8.0 8.1 Cavallaro 2012, p. 3.
- ↑ Cavallaro 2012, p. 8.
- ↑ 10.0 10.1 Cavallaro 2012, p. 10.
- ↑ 11.0 11.1 "Kyoto Animation Unveils Swimming Team TV Anime Free! for July". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2013. สืบค้นเมื่อ April 27, 2013.
- ↑ 12.0 12.1 "Kyoto Animation: Kyōkai no Kanata Anime Is in the Works". Anime News Network. April 3, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2013. สืบค้นเมื่อ April 3, 2013.
- ↑ "KyoAni Award-Winning Novel Violet Evergarden to Ship on December 25". Anime News Network. October 1, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2016. สืบค้นเมื่อ May 27, 2016.
- ↑ Cavallaro 2012, p. 1, 3.
- ↑ "Japan Arson Attack: Why Studio Kyoto Animation Is Widely Respected in the Anime World". The Holleywood Reporter. July 18, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2019. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ "Kyoto Animation Extends Work Hiatus Due to COVID-19 Through May". Anime News Network. May 15, 2020. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
- ↑ "13 killed in suspected arson at animation studio in Kyoto". อาซาฮิชิมบุง. July 18, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ 18.0 18.1 มาริ ยามางูจิ (July 18, 2019). "At least 23 confirmed or presumed dead after man sets fire to Kyoto anime studio". เดอะเจแปนไทมส์. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ "Police: 12 dead in suspected arson attack". เอ็นเอชเค. July 18, 2019. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ "Kyoto Animation fire: At least 23 dead after suspected arson attack". บีบีซี. July 18, 2019. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ "#Kyoani - Twitter Search / Twitter". July 18, 2019. สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
- ↑ "Kyoto Animation Makes Miss Kobayashi's Dragon Maid TV Anime for January Debut". Anime News Network. October 24, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2016. สืบค้นเมื่อ October 24, 2016.
- ↑ "Kotoko Ayano's Tsurune Novel Gets TV Anime at Kyoto Animation". Anime News Network. October 23, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 23, 2017.
- ↑ "Kyoto Animation Produces Miss Kobayashi's Dragon Maid Anime Season 2 for 2021 Debut". Anime News Network. August 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 10, 2020.
- ↑ "KyoAni Reveals Anime Adaptation of 20 Seiki Denki Mokuroku Novel". Anime News Network. July 27, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2018. สืบค้นเมื่อ July 27, 2018.
- ↑ "High Speed! -Free! Starting Days- Film's Staff Unveiled". Anime News Network. April 24, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
- ↑ Loo, Egan (February 14, 2009). "Haruhi-chan, Churuya-san Streamed with English Subs". Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 17, 2020.
บรรณานุกรม
แก้- Cavallaro, Dani (2012). Kyoto Animation: A Critical Study and Filmography. Jefferson, N.C.: McFarland. ISBN 978-0-7864-7068-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Animation Do เก็บถาวร 2010-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)