คางคกบ้าน
คางคกบ้าน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Bufonidae |
สกุล: | Duttaphrynus |
สปีชีส์: | D. melanostictus |
ชื่อทวินาม | |
Duttaphrynus melanostictus (Schneider, 1799) | |
ชื่อพ้อง | |
|
คางคกบ้าน (อังกฤษ: Asian common toad, Black-spined toad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Duttaphrynus melanostictus) หรือ ขี้คันคาก ในภาษาอีสานและภาษาลาว หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า คางคก
เป็นสัตว์ในวงศ์คางคก (Bufonidae) ชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ มีผิวหนังที่แห้งและมีปุ่มปมทั้งตัว ที่เป็นปุ่มพิษ โดยเฉพาะหลังลูกตา มีรูปทรงกลมคล้ายเมล็ดถั่วขนาดยาวประมาณ 25 มิลลิเมตร กว้าง 10 มิลลิเมตร แผ่นหูมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน ขนาดเล็กกว่าลูกตาเล็กน้อย
มีสีผิวหนังเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาตลอดทั้งลำตัว บริเวณรอบปุ่มพิษจะมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน ในขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนจะเป็นสีขาวซีดกว่า
มีขนาดวัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 68-105 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในวงกว้างในทวีปเอเชีย ตั้งแต่แนวเทือกเขาหิมาลัย, อินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และพบได้ทั่วไปในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งในเมืองใหญ่และในป่าดิบ
เป็นสัตว์ที่ไม่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ จะมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน (มีนาคม-กันยายน) เป็นสัตว์ที่กินแมลงและอาหารได้หลากหลายมาก พบชุกชุมในช่วงฤดูฝน [2] [3]
คางคก มักเป็นสัตว์ที่มีผู้นิยมรับมารับประทานทั้ง ๆ ที่มีพิษ มักมีผู้เสียชีวิตบ่อย ๆ จากการรับประทานเข้าไป โดยเชื่อว่าเป็นยาบำรุงและรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยพิษของคางคกนั้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ด้วยความร้อน[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ van Dijk, P. P., et al. 2004. Duttaphrynus melanostictus. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. Downloaded on 03 June 2013.
- ↑ "คางคกบ้าน" (PDF).
- ↑ คางคกบ้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ [https://web.archive.org/web/20051204170746/http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000124393 เก็บถาวร 2005-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แพทย์เตือนกิน “คางคก” ถึงตาย ใช้รักษาเอดส์ไม่ได้ จากผู้จัดการออนไลน์]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Duttaphrynus melanostictus ที่วิกิสปีชีส์