วงศ์คางคก (อังกฤษ: Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/)

วงศ์คางคก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 57–0Ma พาลีโอซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน[1]
คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
อันดับ: อันดับกบ
เคลด: Hyloidea
วงศ์: วงศ์คางคก
Gray, 1825
สกุล
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก (สีดำ)

ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน

มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส

คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย [2] เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ [3]

คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น

สกุล แก้

ชื่อสกุลและผู้อนุกรมวิธาน ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ จำนวนชนิดที่พบ
Adenomus Cope, 1861
3
Altiphrynoides Dubois, 1987 Ethiopian Toads
2
Amietophrynus Frost et al., 2006
38
Andinophryne Hoogmoed, 1985 Andes Toads
3
Ansonia Stoliczka, 1870 Stream Toads
25
Atelopus Duméril & Bibron, 1841 Stubfoot Toads
82
Bufo Laurenti, 1768 Toads
150
Bufoides Pillai & Yazdani, 1973 Mawblang Toads
1
Capensibufo Grandison, 1980 Cape Toads
2
Churamiti Channing & Stanley, 2002
1
Crepidophryne Cope, 1889 Cerro Utyum Toads
3
Dendrophryniscus Jiménez de la Espada, 1871 Tree Toads
7
Didynamipus Andersson, 1903 Four-digit Toads
1
Duttaphrynus Frost et al., 2006
6
Epidalea Cope, 1864 Natterjack Toads
1
Frostius Cannatella, 1986 Frost's Toads
2
Ingerophrynus Frost et al., 2006
11
Laurentophryne Tihen, 1960 Parkers Tree Toads
1
Leptophryne Fitzinger, 1843 Indonesia Tree Toads
2
Melanophryniscus Gallardo, 1961 South American Redbelly Toads
20
Mertensophryne Tihen, 1960 Snouted Frogs
20
Metaphryniscus Señaris, Ayarzagüena & Gorzula, 1994
1
Nectophryne Buchholz & Peters, 1875 African Tree Toads
2
Nectophrynoides Noble, 1926 African Live-bearing Toads
13
Nimbaphrynoides Dubois, 1987 Nimba Toads
2
Oreophrynella Boulenger, 1895 Bush Toads
8
Osornophryne Ruiz-Carranza & Hernández-Camacho, 1976 Plump Toads
6
Parapelophryne Fei, Ye & Jiang, 2003
1
Pedostibes Günther, 1876 Asian Tree Toads
6
Pelophryne Barbour, 1938 Flathead Toads
9
Pseudepidalea Frost, et. al. 2006
16
Pseudobufo Tschudi, 1838 False Toads
1
Rhinella Fitzinger, 1826 Beaked Toads
72
Schismaderma Smith, 1849 African Split-skin Toads
1
Truebella Graybeal & Cannatella, 1995
2
Werneria Poche, 1903 Smalltongue Toads
6
Wolterstorffina Mertens, 1939 Wolterstorff Toads
3

[4]

อ้างอิง แก้

  1. Zweifel, Richard G. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 91–92. ISBN 0-12-178560-2.
  2. "หนุ่มเปิบพิสดารต้มคางคกแกล้มเหล้าดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-30.
  3. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000013[ลิงก์เสีย]
  4. หน้า 325-326, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น แก้