ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล

ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล หมายถึงความสัมพันธ์ทางการทูตและวัฒนธรรมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับรัฐอิสราเอล ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2497[1] สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงเทพมหานครได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2501[2] และตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ประเทศไทยได้มีสถานเอกอัครราชทูตในเทลอาวีฟ[3] ประเทศไทยและอิสราเอลมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรต่อกัน รวมถึงให้ความร่วมมือในหลายสาขา ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนระหว่างสองประเทศก็ดีเช่นกัน ในขณะที่คนไทยหลายพันคนทำงานในอิสราเอล ชาวอิสราเอลหลายล้านคนก็มาเยี่ยมเยียนและเยี่ยมชมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ความสัมพันธ์ไทย–อิสราเอล
Map indicating location of Israel and Thailand

อิสราเอล

ไทย

การเปรียบเทียบ

แก้
  รัฐอิสราเอล   ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน    
ธงชาติ    
เอกราช 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 (76 ปีที่แล้ว) –
เอกราชจากสหราชอาณาจักร
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767 (256 ปีที่แล้ว) –
กอบกู้เอกราชจากราชวงศ์โก้นบอง
ประชากร 9,805,280 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 20,770 ตร.กม. (8,019 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 444 คน/ตร.กม. (1,150 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง เยรูซาเลม กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด เยรูซาเลม – 971,800 คน (เขตปริมณฑล 1,253,900 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง รัฐเดี่ยวสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: อิซัค เฮอร์ซ็อค พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาฮีบรู
ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่
ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
สกุลเงิน นิวเชเกลอิสราเอล บาทไทย
จีดีพี (ราคาตลาด) 521.688 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 53,195 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 23.4 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ประวัติ

แก้

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 หน่วยจู่โจมสี่คนของกลุ่มก่อการร้ายปาเลสไตน์แบล็กเซปเทมเบอร์ได้บุกเข้าสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงเทพมหานคร และจับเอกอัครราชทูตรวมถึงผู้มาเยือนของเขาหลายคนเป็นตัวประกัน ส่วนสมาชิกรัฐบาลไทยสองคน ได้แก่ ทวี จุลละทรัพย์ และชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและได้เป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2531 พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย มุสตาฟา เอล อัสซาวี ได้เจรจาต่อรองการปล่อยตัวตัวประกัน และเสนอตัวเองรวมถึงเจ้าหน้าที่ไทยคนอื่น ๆ อีกหลายคนเพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของผู้ก่อการร้ายในกรุงไคโร จากนั้นนายกรัฐมนตรี โกลดา เมอีร์ ของอิสราเอลได้กล่าวยกย่องรัฐบาลไทยในด้านการเจรจาต่อรองเพื่อยุติวิกฤตการณ์ที่ไร้เลือด[4]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดฟาร์มทดลองเทคโนโลยีการเกษตรไทย–อิสราเอลเพื่อการชลประทานพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ มีหอการค้าไทย–อิสราเอล, มูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอล รวมถึงชุมชนเล็ก ๆ ของชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย[1]

หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำมายังประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ

ใน พ.ศ. 2555 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการค้า

ประเทศไทยยอมรับปาเลสไตน์ใน พ.ศ. 2555[5] ครั้นในช่วงความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยสนับสนุนการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความยับยั้งชั่งใจ[6] โดยระบุเพิ่มเติมว่าจะให้การสนับสนุนทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ต่อไป แต่จะไม่ให้อภัยต่อกรณีของผู้ก่อการร้ายทั้งสองฝ่าย[7]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำสำหรับชาวอิสราเอล และประเทศอิสราเอลเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับแรงงานไทย ชาวไทยกว่า 20,000 คนมีงานทำในอิสราเอลในด้านการเกษตรรวมถึงในร้านอาหารเอเชียในฐานะคนครัว พวกเขาทำงานอย่างถูกกฎหมายภายใต้การอุปถัมภ์ของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทย–อิสราเอล โดยความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC)[8]

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ[9]

ส่วนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2558 อิสราเอลและไทยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการแพทย์[10]

รวมถึงคณะผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมไทยได้เดินทางเยือนประเทศอิสราเอลใน พ.ศ. 2558[11]

คนไทยโดยทั่วไปไม่ได้สนใจต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แต่ชนหมู่น้อยชาวมุสลิมในประเทศเกือบสี่ล้านโดยทั่วไปจะเห็นใจต่อปาเลสไตน์[12][13]

ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2561 หน่วยคอมมานโดและเทคโนโลยีของอิสราเอลได้ให้การสนับสนุนหน่วยซีลของไทยในช่วงภารกิจปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ซึ่งได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างมาก ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยสามารถช่วยชีวิตทีมฟุตบอลไว้ได้ทั้งหมด

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Thailand Virtual Jewish History Tour". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  2. Israel embassy in Bangkok เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Thai embassy in Tel Aviv เก็บถาวร 2009-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work, Editions Didier Millet, 2012, p. 126
  5. "Thailand officially recognizes Palestinian statehood". Haaretz. Associated Press. 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  6. "Thai government statement of the Gaza war". Ministry of Foreign Affairs Thailand. 18 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Press release)เมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  7. "Thailand to continue to support both Israel and Palestine". NNT. 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29 – โดยทาง Thai Visa.
  8. Chia, Jasmine (29 October 2017). "Land of promise, last resort". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  9. "Israel and Thailand sign a cooperation agreement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-26.
  10. "Thailand and Israel sign a medical cooperation agreement". NNT. July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017 – โดยทาง Pattaya Mail.
  11. "Thailand and Israel sign a medical cooperation agreement". NNT. July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017 – โดยทาง Pattaya Mail.
  12. "Thai Muslims protest against Israel". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14.
  13. "Thai Muslims protest in Bangkok against Israeli military operation in Gaza". Islamic Voice of Turkey. 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.