ความสัมพันธ์ไทย–ฝรั่งเศส
ความสัมพันธ์ไทย–ฝรั่งเศส มีระยะเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงยุคปัจจุบัน โดยความสัมพันธ์เริ่มต้นอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส กับสถานทูตซึ่งกันและกันหลายแห่ง และเป็นความพยายามครั้งสำคัญของฝรั่งเศสในการทำให้เป็นคริสเตียนในราชอาณาจักรไทย (หรือที่รู้จักในฐานะสยาม) ตลอดจนจัดตั้งรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งล้มเหลวเมื่อประเทศได้ลุกฮือต่อต้านการบุกรุกจากต่างชาติใน ค.ศ. 1688 ครั้นเพียงหนึ่งศตวรรษครึ่งต่อมา ฝรั่งเศสได้กลับมาอีกในฐานะมหาอำนาจอาณานิคมที่ทันสมัย โดยมีส่วนร่วมในการแย่งชิงดินแดนและมีอิทธิพลในการปะทะกับไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ ซึ่งจะคงอยู่จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20
ฝรั่งเศส |
ไทย |
ความสัมพันธ์คริสต์ศตวรรษที่ 16–17
แก้ภารกิจคาทอลิกฝรั่งเศสครั้งแรก
แก้ตัวอย่างแรกของการติดต่อระหว่างฝรั่งเศส–ไทย ยังเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งแรก ของความพยายามที่จะแนะนำศาสนาคริสต์สู่สยาม อ้างอิงจากโจวันนี ปีเอโตร มาเฟอี ระบุว่าประมาณ ค.ศ. 1550 คณะฟรันซิสกันฝรั่งเศสที่ชื่อบงแฟร์ ได้ยินถึงอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวพุกามและไทยในโลกตะวันออก จึงได้ขึ้นเรือโปรตุเกสจากรัฐกัวไปคอสเม (พะโค) ซึ่งเขาได้ประกาศพระกิตติคุณเป็นเวลาสามปีโดยที่ไม่มีผลใด ๆ[1]
การติดต่อครั้งสำคัญระหว่างทั้งสองประเทศเกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปาโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1662 ซึ่งภารกิจนี้ได้มอบหมายให้คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เพื่อเผยแพร่ศาสนาในเอเชีย และสยามกลายเป็นประเทศแรกที่ได้รับรู้ความพยายามเหล่านี้ ตามด้วยภารกิจใหม่ในอีก 40 ปีต่อมาในโคชินไชนา, ตังเกี๋ย และบางส่วนของประเทศจีน[2] เนื่องจากสยามมีความใจกว้างต่อศาสนาอื่น ๆ อย่างมาก และเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คุณพ่อคาทอลิกสามารถสถาปนาได้อย่างปลอดภัย[3]
พระคุณเจ้า ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต มุขนายกแห่งเบรุต เขตผู้แทนพระสันตะปาปาโคชินไชนา และสมาชิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส พร้อมด้วยบาทหลวง เดอ บูร์ฌ และเดดิเยร์[4] ได้ออกจากมาร์แซย์ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1660 และถึงเมอร์กวีใน 18 เดือนต่อมา[2] ซึ่งท่านได้เดินทางมาถึงอาณาจักรอยุธยาใน ค.ศ. 1662[5]
ใน ค.ศ. 1664 มิชชันนารีกลุ่มหนึ่งนำโดยฟร็องซัว ปาลูว์ มุขนายกแห่งเฮลิโอโปลิส รวมถึงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้เข้าร่วมกับล็องแบร์ ในเมืองหลวงอยุธยาหลังจากเดินทางบนบก 24 เดือน และเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา[2] กระทั่งใน ค.ศ. 1665–1666 พวกเขาได้สถาปนาสามเณราลัยในอยุธยาโดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[6] ซึ่งคือสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ (ต่อมาคือสามเณราลัยแห่งเทวาศักดิ์สิทธิ์ ที่กำเนิดของวิทยาลัยทั่วไป ปัจจุบันอยู่ที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย)
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] The Catholic encyclopedia, p. 766
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Missions, p. 4
- ↑ Les Missions Etrangeres, pp. 45, 122
- ↑ [2] Catholic Encyclopedia
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2002. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2002.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Thai Ministry of Foreign Affairs - ↑ The Cambridge History of Christianity by Stewart J. Brown, Timothy Tackett, p. 464 [3]
อ่านเพิ่ม
แก้- Aldrich, Robert. "France and the King of Siam: An Asian King’s Visits to the Republican Capital’." French History and Civilization 6 (2015): 225–239. online
- Briggs, Lawrence Palmer. "Aubaret and the Treaty of July 15, 1867 between France and Siam." Journal of Asian Studies 6.2 (1947): 122–138. Online
- Colvin, Ian D. (2005) The Cape of Adventure: Strange and Notable Discoveries, Perils, Shipwrecks, Kessinger Publishing ISBN 0-7661-9781-6
- Du Corail, Amable Sablon, and Michael Smithies. "The French Army and Siam, 1893–1914." The Journal of the Siam Society 99 (2011): 243–268. online
- Gunn, Geoffrey C. (2003) First Globalization: The Eurasian Exchange, 1500–1800 Rowman & Littlefield ISBN 0-7425-2662-3
- Hall, Daniel George Edward (1964) A History of South-east Asia St. Martin's Press
- Landon, Kenneth Perry. "Thailand's quarrel with France in perspective." Journal of Asian Studies 1.1 (1941): 25–42. Online
- Missions étrangères de Paris. 350 ans au service du Christ (2008) Editeurs Malesherbes Publications, Paris ISBN 978-2-916828-10-7
- Murrell, Peter. "Louis XIV and the King of Siam" History Today (May 2014) 64#5, pp 31–38.
- Reid, Anthony (Editor), Southeast Asia in the Early Modern Era (1993) Cornell University Press, ISBN 0-8014-8093-0
- Smithies, Michael (1999), A Siamese embassy lost in Africa 1686, Silkworm Books, Bangkok, ISBN 974-7100-95-9
- Smithies, Michael (2002), Three Military Accounts of the 1688 "Revolution" in Siam, Itineria Asiatica, Orchid Press, Bangkok, ISBN 974-524-005-2
- Lach, Donald F. Asia in the Making of Europe
- Tucker, Spencer C. (1999) Vietnam University Press of Kentucky ISBN 0-8131-0966-3