ครอบฟันสี

สปีชีส์ของพืช
ครอบฟันสี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
สกุล: Abutilon
สปีชีส์: A.  indicum
ชื่อทวินาม
Abutilon indicum
(Link) Sweet[1]
ชื่อพ้อง[2] [3]
รายการ
  • Abutilon asiaticum (L.) Sweet
  • Abutilon badium S.A. Husain and Baquar
  • Abutilon cavaleriei H.Lév.
  • Abutilon cysticarpum Hance ex Walp.
  • Abutilon indica
  • Abutilon indicum var. microphyllum Hocr.
  • Abutilon indicum var. populifolium (Lam.) Wight and Arn.
  • Abutilon indicum var. populifolium Wight and Arn. ex Mast
  • Abutilon populifolium (Lam.) G.Don
  • Abutilon populifolium (Lam.) Sweet
  • Sida asiatica L.
  • Sida indica L.
  • Sida populiflora Lam.
ครอบฟันสี (Abutilon indicum) หรือ Indian abutilon
ภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์ ครอบฟันสี (Abutilon indicum)

ครอบฟันสี หรือ มะก่องข้าว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Abutilon indicum) ชื่อสามัญ: Country mallow เป็นไม้พุ่มที่เป็นวัชพืชและพืชในตำรับยาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณหลากหลาย มีดอกสีเหลืองล้วน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ครอบฟันสี (A. indicum) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อาจยืนต้นหรืออายุสั้นปีเดียวแบบพืชล้มลุก [4] ลำต้นตั้งตรงแตกหลายกิ่ง สูง 1 - 2.5 ม. เปลือกต้นสีเทาแตกลาย (ในประเทศไทยมักไม่สูงเกิน 1.5 เมตร) บริเวณลำต้นและปลายกิ่งอ่อนอาจแกมสีแดง

ใบ รูปหัวใจ กลมค่อนไปทางรี ปลายใบแหลม ยาว 3 - 9 ซม. กว้าง 2.5 - 7 ซม .ขอบใบหยักไม่สม่ำเสมอปลายหยักแหลม (serrate) เนื้อใบบางถึงค่อนข้างหนา ก้านใบย่อยขนาด 1-2 มม. มักโค้งออกด้านนอก ก้านใบยาว 2-4 ซม. ก้านใบสีเทามีขนเล็กน้อยขึ้นประปราย ขนสีขาวนวลหรือเทาอ่อน ยาว 1 มม. [5]

ดอก เดี่ยว สีเหลืองล้วน หรือสีแสดเหลืองล้วน ดอกกลมมีกลีบดอกหมุนและอาจซ้อนหรือไม่ซ้อนกัน ดอกออกตามซอกใบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 2.5 ซม. ก้านดอกยาว 4 -5 ซม. เป็นปล้อง ๆ ใกล้ปลายก้าน (มีติ่งช่วงปลายก้าน) สีเทาแกมเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 มม. มีขนสีเทาหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แบบกว้างปลายยอดแหลม กลีบดอกสีเหลืองสม่ำเสมอ กลีบดอก 7-8 มม. ก้านเกสรเป็นสะเก็ด ก้านเกสรและก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูสีเหลือง รังไข่ 15-20 ตำแหน่ง [5]

ผล ทรงกลมแป้นหัวตัด หรือค่อนไปทางทรงกระบอกเล็กน้อย เป็นรูปเฟือง มีฟัน (mericarp) 15 - 20 ซีก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. ปลายค่อนข้างแหลม ในส่วนขอบบนของผลหักเป็นมุมฉากและมีจะงอยสั้น ๆ มีขนปกคลุมแน่นที่โคนผล เมล็ด 2-3 เมล็ดต่อซีก เมล็ดรูปไต มีขนรูปดาวปกคลุมเมล็ดมีลักษณะเป็นเกล็ดเบาบาง [6][7]

ครอบฟันสี (A. indicum) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกับ ครอบจักรวาล (A. hirtum) แต่ครอบฟันสีมีลักษณะเด่น คือ ใบยาวทรงรี ขอบใบหยักน้อย ดอกสีเหลืองล้วน (ไม่มีจุดกลางดอกสีแดงเข้ม) [8]

อนุกรมวิธานและการตั้งชื่อ แก้

ครอบฟันสี (Abutilon indicum) ชื่ออื่น: มะก่องข้าว ก่องข้าว (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช)[9] ฟันสี (ภาคกลาง) [10] country mallow และชื่อที่กำกวมซ้ำมักใช้สับสนกับพืชในสกุลเดียวกันและมีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่ ครอบจักรวาล (Abutilon hirtum) และ ปอบแปบ (Abutilon theophrasti) ชื่ออื่นในต่างประเทศ ได้แก่

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด แก้

เอเชียตะวันออก (ภาคใต้ของจีน) อนุทวีปอินเดีย เอเชียอาคเนย์ทั้งภาคพื้นทวีปและภาคมหาสมุทร ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย

มีหลายชนิดย่อย ในประเทศไทยมีชนิดย่อย A. indicum var. guineense (Schumach.) K.M.Feng และ A. indicum subsp. albescens (Miq.) Borss.Waalk.

นิเวศวิทยา แก้

ครอบฟันสี (A. indicum) เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปในป่าพงรกร้าง บริเวณที่โล่ง แสงแดดส่องถึงตลอดวัน และแถบอากาศร้อนกึ่งอบอุ่น เติบโตได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,600 ม. [12] ถูกระบุว่าเป็นเป็นวัชพืชต่างถิ่นรุกรานในเอเชียและโอเชียเนีย แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภัยคุกคามในระดับสูง ครอบฟันสีถูกใช้อย่างแพร่หลายในระดับท้องถิ่นในฐานะพืชสมุนไพรโบราณ และอาจได้รับการแนะนำให้นำเข้าเพาะปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ [7] ครอบฟันสีหลุดรอดจากการเพาะปลูกและแพร่กระจายเป็นวัชพืชในเขตร้อนได้ง่าย [13]

เคมี แก้

ทั้งต้น มีสารสำคัญกลุ่ม Flavonoid glycoside ได้แก่ Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside [14]

  • ใบ มีสารสำคัญกลุ่ม Mucilage, Tannins [14]
  • ราก มีสารสำคัญกลุ่ม Asparagin [14]
  • เมล็ด มีสารสำคัญกลุ่ม β-Sitosterol
  • กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18  H32  O16) [14]

การใช้ประโยชน์ แก้

 
ครอบฟันสี (Abutilon indicum)

โดยทั่วไปในตำรับยาแผนโบราณ ส่วนต่าง ๆ ของครอบฟันสีใช้เป็นยาขับเสมหะ, ยาระบาย, ยาระบาย, ขับปัสสาวะ, ยากล่อมประสาท, ฝาดสมาน, ยาบำรุงกำลัง, แก้อาการชัก[15] ต้านการอักเสบ [16] ยาถ่ายพยาธิและยาแก้ปวด . และรักษาโรคเรื้อน แผลพุพอง ปวดหัว หนองใน และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ [17] โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ตากแห้งและบดเป็นผง ทั้งนี้การใช้ควบคุมโรคเบาหวานต้มกินเพื่อใช้คุมระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่ได้รับผลการวิจัยยืนยัน [18]

ต้น ใช้บำรุงเลือด ช่วยขับลม แก้อาการชัก ในอินเดียซึ่งมีโรคที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนของฟลูออไรด์เกิดขึ้นในประชากรเกือบ 62 ล้านคน ลำต้น A. indicum ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ของกรดไนตริกเพื่อกำจัดฟลูออไรด์ไอออนจากน้ำที่ปนเปื้อน [12] และได้รับการเสนอแนะว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพในการใช้สำหรับการบำบัดสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก [12]

ใบ ใช้ต้มกับน้ำ ใช้อมบ้วนปาก แก้ปวดฟันและแก้เหงือกอักเสบ นอกจากนี้ยังใช้ กินเป็นยาหล่อลื่นขับเสมหะ ขับปัสสววะ [13] เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยเจริญอาหาร [8]

ราก แก้ลม ช่วยบำรุงธาตุ แก้มุตกิต และบรรเทาอาการไอ บำบัดรักษาไข้ผอมเหลือง ช่วยบำรุงกำลัง ใช้ กินเป็นยาขับปัสสาวะ [8]

ดอก ช่วยฟอกลำไส้ ใช้ กินเป็นยาขับปัสสาวะ [8]

เมล็ด ใช้เป็นยาระบายและมีประโยชน์ในกรณีของโรคริดสีดวงทวาร [13]

อ้างอิง แก้

  1. "Abutilon indicum". Pacific Island Ecosystems at Risk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WCSP
  3. http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2610681
  4. http://www.qsbg.org/database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2052
  5. 5.0 5.1 http://www.dnp.go.th/botany/Herbarium/Archives/PlantGeneraOfThailand/abutilon.html
  6. ดร.ธารธรรมแก้ว เชื้อเมือง. สมุนไพรสำคัญที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: กำแก้ว, 2545.
  7. 7.0 7.1 https://www.cabi.org/isc/datasheet/1979
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 https://landgreenday.blogspot.com/2019/07/blog-post_18.html
  9. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm
  10. http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=62
  11. "Archived copy". Archived from the original on 2016-12-18. Retrieved 2016-12-06. https://web.archive.org/web/20161218123731/http://www.ekamravan.in/medicinal_detail.htm
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 https://www.cabi.org/isc/datasheet/1979
  13. 13.0 13.1 13.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm
  15. Anticonvulsant activity of Abutilon indicum Leaf. Dharmesh K Golwala, Laxman D Patel, Santosh K Vaidya, Sunil B Bothara, Munesh Mani, Piyush Patel. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences (IJPPS) (ISSN 0975-1491), Sagar, India. 2010: Volume 2, Issue 1, page: 66-72. https://innovareacademics.in/journal/ijpps/Vol2Issue1/256.pdf
  16. Anti-inflammatory activity of Abutilon indicum Linn. Leaf. DK Golwala, LD Patel,SB Bothara, SK Vaidya, AR Sahu, S Kumar. Research Journal of Pharmaceutical & Technology (ISSN Online: 0974-360X; Print: 0974-3618), Raipur, India. 2010: Volume 3, Issue 1, page: 433-439. https://rjptonline.org/AbstractView.aspx?PID=2010-3-1-32
  17. Nishanta Rajakaruna; Cory S. Harris; G.H.N. Towers (2002). "Antimicrobial Activity of Plants Collected from Serpentine Outcrops in Sri Lanka" (PDF). Pharmaceutical Biology. 40 (3): 235–244. doi:10.1076/phbi.40.3.235.5825 https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1076/phbi.40.3.235.5825
  18. "เรื่องน่ารู้ของครอบฟันสี : ยาเบาหวาน ยาไต ยาแก้เจ็บคอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.