คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร[1] (ฝรั่งเศส: Sœurs de Saint-Paul de Chartres) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงที่ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เน้นทำงานด้านการจัดการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่วย

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
Sisters of Saint Paul of Chartres
ชื่อย่อS.P.C.
คําขวัญOMINIBUS OMNIA FACTUS SUM (ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน)
ก่อตั้งค.ศ. 1696 (พ.ศ. 2239)
ผู้ก่อตั้งคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์
ประเภทคณะนักบวชคาทอลิก
สํานักงานใหญ่ชาทร์ ประเทศฝรั่งเศส
แมร์ มารีย์ กอเรตตี ลี
เว็บไซต์http://www.spcthai.org คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แขวงประเทศไทย
คุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ผู้ก่อตั้งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

ประวัติโดยย่อ

แก้

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17[2] จากการที่บาทหลวงหลุยส์ โชเวต์ (Louis CHAUVET) อธิการโบสถ์เลอเลวีย์-ลา-เชอนาร์ ได้รวมกลุ่มหญิงสาวชาวนา 4 คน ตั้งเป็นคณะภคินีในปี ค.ศ. 1696 เน้นทำงานช่วยเหลือการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในตอนแรกมีชื่อว่า "คณะภคินีเมตตาธรรม" (Sisters of Charity) ให้ภคินีมารี-อาน เดอ ตียี เป็นผู้อบรม ต่อมาในปี ค.ศ. 1707 บาทหลวงโชเวต์ได้มอบคณะภคินีนี้ให้อยู่ในความดูแลของบิชอปปอล กอเด เด มาเรส์ (Paul Godet des Marais) บิชอปแห่งชาทร์ในขณะนั้น และได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "คณะภคินีเซนต์ปอล" เพื่อให้ยึดถือเอานักบุญเปาโลอัครทูตเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของคณะและเป็นแบบอย่างในการประกาศข่าวดี แคนันโกลด มาเรอโช ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการคนแรก จึงดำเนินการปรับปรุงวินัยประจำคณะจนเสร็จสมบูรณ์

คณะภคินีเซนต์ปอลฯ ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และขยายงานไปปฏิบัติงานตามพันธกิจยังพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศส จนวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1931 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 จึงประกาศรับรองสถานะและธรรมนูญของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร อย่างเป็นทางการ[3]

บทบาทด้านการศึกษา & พยาบาล ของคณะฯ ในไทย

แก้

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2441[4] ตามคำเชิญของมุขนายกฌอง หลุยส์ เวย์ เพื่อช่วยเหลืองานด้านพยาบาลในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ภคินีของคณะได้เข้าช่วยงานสอนภาษาต่างประเทศ การเย็บปักถักร้อย และดนตรีในโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และร่วมกับมุขนายกฌอง หลุยส์ เวย์ ก่อตั้งโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ในปี พ.ศ. 2449 และก่อตั้งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ในปี พ.ศ. 2450 โดยอธิการิณีแซงต์ซาเวียร์ (Mère Saint-Xavier)

คณะฯเข้ามาเผยแพร่ธรรม และช่วยส่งเสริมงานพัฒนาสังคมไทยด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ยากไร้ ปัจจุบันนี้คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แขวงประเทศไทย มีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น 22 แห่ง และสถานที่ที่คณะฯช่วยบริหาร 16 แห่ง[5] ซึ่งถือเป็นสถานที่แพร่ธรรมของคณะฯ ในประเทศไทย ได้แก่

โรงเรียน / สถานที่แพร่ธรรม ของคณะภคินี เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

แก้
ลำดับ รายชื่อ ปีก่อตั้ง พ.ศ.
1 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 2448 (ค.ศ. 1905)
2 โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ 2449 (ค.ศ. 1906)
3 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ 2450 (ค.ศ. 1907)
4 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ 2468 (ค.ศ. 1925)
5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ นครสวรรค์ 2499 (ค.ศ. 1956)
6 โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ 2506 (ค.ศ. 1963)
7 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ระยอง 2506 (ค.ศ. 1963)
8 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา 2511 (ค.ศ. 1968)
9 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ศรีเพชรบูรณ์ 2518 (ค.ศ. 1975)
10 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัล 2520 (ค.ศ. 1977)
11 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ เกาะสมุย 2526 (ค.ศ. 1983)
12 โรงเรียนเซนต์ปอล หนองคาย 2527 (ค.ศ. 1984)
13 โรงเรียนโรซารีโอวิทยา 2531 (ค.ศ. 1988)
14 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ เพชรบุรี 2532 (ค.ศ. 1989)
15 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ 2537 (ค.ศ. 1994)
16 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม 2538 (ค.ศ. 1995)
17 โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ 2538 (ค.ศ. 1995)
18 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่ระมาด 2539 (ค.ศ. 1996)
19 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี 2540 (ค.ศ. 1997)
20 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ 2541 (ค.ศ. 1998)
21 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม 2549 (ค.ศ. 2006)
22 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลพบุรี 2550 (ค.ศ. 2007)

สถานที่ ที่คณะฯ ช่วยบริหารงาน / สถานที่แพร่ธรรมของสังฆมณฑล

แก้
ลำดับ รายชื่อ ปีก่อตั้ง พ.ศ.
1 โรงเรียนเซนต์แอนโทนี 2490 (ค.ศ. 1947)
2 โรงเรียนมารดานฤมล 2498 (ค.ศ. 1955)
3 โรงเรียนมารีย์วิทยา 2499 (ค.ศ. 1956)
4 โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ 2512 (ค.ศ. 1969)
5 โรงเรียนภัทรวิทยา 2515 (ค.ศ. 1972)
6 โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา 2518 (ค.ศ. 1975)
7 โรงเรียนอนุบาลนิจจานุเคราะห์ 2518 (ค.ศ. 1975)
8 โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา 2520 (ค.ศ. 1977)
9 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ 2528 (ค.ศ. 1985)
10 โรงเรียนศีลรวี 2532 (ค.ศ. 1989)
11 โรงเรียนสันติวิทยา 2533 (ค.ศ. 1990)
12 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ แผนกหญิง 2549 (ค.ศ. 2006)
13 โรงเรียนปรีชาญาณศึกษา 2552 (ค.ศ. 2009)
14 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 2528 (ค.ศ. 1985)
15 โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ 2441 (ค.ศ. 1898)
16 โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ 2517 (ค.ศ. 1974)

มหาธิการิณี[6]

แก้
ลำดับ รายนาม ค.ศ. หมายเหตุ
1. แมร์มารีย์ มีโช - Mère Marie MICHEAU 1700 - 1702
2. แมร์มารีย์ อานน์ เดอ ติยี - Mère Marie Anne de TILLY   1702 - 1703
- นางสาวมารีย์ เทแรส ดู ทรองเชย์ - Melle Marie Thérèse du TRONCHAY 1708 - 1717 คุณพ่อมาเรโชกำหนดให้ดูแลคณะ
3. แมร์บาร์บ ฟูโกล์ต - Mère Barbe FOUCAULT 1717 - 1726
4. แมร์มารีย์ อานน์ - Mère Marie Anne DESLANDRES 1726 - 1758
5. แมร์มารี ชานน์ - Mère Marie Jeanne GUYON 1758 - 1783
6. แมร์มารีย์ ชานน์ - Mère Marie Jeanne ROUSSET 1783 - 1790
7. แมร์มารีย์ โจสโซม - Mère Marie JOSSEAUME 1790 - 1834
8. แมร์มารีอา - Mère Maria ROUYRRE 1834 - 1843 , 1855 - 1861]
9. แมร์ธาอีส - Mère Thaïs BOUCHER 1843 - 1849
10. แมร์วิคตอรีน - Mère Victorine GOUGEON 1849 - 1855
11. แมร์เอลี - Mère Elie JARRET 1861 - 1867 , 1874 - 1880]
12. แมร์แซงต์ลุค - Mère Saint Luc BLEUZE 1867 - 1874 , 1880 - 1887]
13. แมร์ลาครัวซ์ - Mère Lacroix BINET 1887 - 1907
14. แมร์มารีย์ อิซาอี - Mère Marie Isaïe PELOUARD 1907 - 1913
15. แมร์มารีย์ เซลีนา - Mère Marie Célina POULLIN 1913 - 1917
16. แมร์เอมเม ดู ซาเครเคอ - Mère Aimée du S.C. VEYSSET   1917 - 1929
17. แมร์แซงต์ บาร์เธเลมี - Mère Saint Barthélemy GARDET 1929 - 1941
- แมร์กาเบรียล เดอ มารีย์ - Mère Gabrielle de Marie BEAUGY 1941 - 1947 อุปมุขนายก
18. แมร์เรอเน เดอ เยซู - Mère René de Jésus DEMEUSY 1947 - 1959
19. แมร์มารีย์ ปอล เดอ เยซู - Mère Marie Paul de Jésus BORD 1959 - 1971
20. แมร์มอร์นิค เดอ แซงต์เดอนี - Mère Monique de St Denys BERTRAND 1971 - 1989
21. แมร์อานน์ มารีย์ - Mère Anne Marie AUDET 1989 - 2001
22. แมร์มีเรียม เดอ แซงต์อานน์ กิจเจริญ - Mère Myriam de Ste Anne KITCHAROEN 2001 - 2013
23. แมร์มารีย์ กอเรตตี ลี - Mère Maria Goretti LEE 2013 - ปัจจุบัน

ความหมายของตรา ของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

แก้

สัญลักษณ์ของคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีโล่อยู่ตรงกลาง ความหมายของโล่เป็นดังนี้ ข้างบนสุด เป็นรวงข้าวตั้งตรง สูงเท่ากัน 4 รวง ซึ่งบ่งบอกถึงความซื่อสัตย์ ความราบเรียบและความเท่าเทียมกันในหมู่ภคินี 4 คนแรก

รวงข้าวเขียวสด คือ การเริ่มต้นของภคินีที่แม้จะเยาว์วัย แต่ทำงานหนักเกินกำลัง เพื่อเป็นการพลีชีพ ประดุจ เมล็ดพืชเล็กๆ ที่ตกสู่ดิน

พื้นสีทอง หมายถึง ความสว่างที่เจิดจ้า หลังวันแห่งความมืดมนที่ท้องทุ่งที่ราบโบส

สีฟ้า เป็นสีของพระมารดาที่ภคินีรัก เธอพิสูจน์ความรักนี้ ด้วยการสวดสายประค าและเลียนแบบพระมารดา

เดอ ชาร์ตร เป็นชื่อที่สอง บอกถึงบ้านแม่ ซึ่งเป็นหัวใจ และศูนย์รวมเอกภาพของภคินีตั้งอยู่ใกล้ อาสนวิหารพระมารดาแห่งชาร์ตร

สีแดง สีแห่งความรัก สีเลือด เลือดแห่งความตายและความกล้าหาญของนักบุญเปาโลมรณสักขี องค์อุปถัมภ์ของภคินี ผู้ถือดาบแห่งพระวาจา ชูรับความมีชัย

บทจดหมาย ที่เปิดอยู่ มีคำจารึกว่า “จงเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” บ่งบอกถึงฐานะผู้รับใช้ของภคินี ในการนำมนุษย์ให้รอดเพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้า

ภาษาลาติน 3 คำ คือ REGULARITE (ซื่อสัตย์) SIMPLICITE (ราบเรียบ) TRAVAIL (การงาน) เป็นการ เตือนใจ ให้ยึดถือและปฏิบัติในคุณธรรมของความซื่อสัตย์ สุภาพราบเรียบ และขยันขันแข็งใน การทำงาน

เชิงอรรถ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, เว็บไซต์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
  2. History of the SPC เก็บถาวร 2013-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sisters of St. Paul de Chartres USA website, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
  3. ประวัติและต้นกำเนิดคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
  4. คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เก็บถาวร 2011-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หอจดหมายเหตุ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
  5. http://www.spcthai.org/, เว็บไซต์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, เรียกข้อมูลวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
  6. "มหาธิการิณี - คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แขวงประเทศไทย". www.spcthai.org.