ขวง
ขวง ในประเทศอินเดีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Molluginaceae
สกุล: Glinus
สปีชีส์: G.oppositifolius
ชื่อทวินาม
Glinus oppositifolius

ขวง, ผักขวง, สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง (อังกฤษ: sweetjuice) เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Glinus oppositifolius A. DC. ในวงศ์ Molluginceae เป็นสกุลพืชเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งยังเป็นพืชคลุมดิน เจริญเติบโตดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ มีลำต้นขนาดเล็ก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ดอกมีสีขาวอมเขียว บางชนิดใช้เป็นสมุนไพร และบางชนิดใช้ทำอาหาร

ลักษณะทางกายภาพ แก้

 
Glinus oppositifolius
  • ลำต้น พืชล้มลุก มีลำต้นเตี้ยหรือติดราบไปกับดินทอดเลื้อยและแตกแขนงออกคลุมดิน
  • ใบ ใบมีสีเขียว ขนาดเล็กยาวเรียว ใบออกจากข้อของลำต้นแต่ละข้อมีใบประมาณ 4–5 ใบ ก้านใบสั้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมหรือมน ขนาดใบกว้างประมาณ 0.3–0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.0–2.5 เซนติเมตร
  • ดอก ออกดอกเดี่ยวรอบ ๆ ข้อลำต้น ข้อละ 4–6 ดอก สีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละกลีบยาว 0.3 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 0.6–1.2 เซนติเมตร
  • ผล มีผลรูปยาวรี ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกเป็น 3 แฉก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแดง ขนาดเท่าเม็ดทรายอยู่จำนวนมาก
ขวง (สะเดาดิน)[1]
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน142.3512 กิโลจูล (34.0228 กิโลแคลอรี)
4.4 ก.
ใยอาหาร1.1 ก.
0.4 ก.
3.2 ก.
วิตามิน
วิตามินเอ
(23%)
2431 μg
ไทอามีน (บี1)
(3%)
0.03 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(38%)
0.45 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(18%)
2.7 มก.
วิตามินซี
(23%)
19 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(9%)
94 มก.
เหล็ก
(14%)
1.8 มก.
ฟอสฟอรัส
(1%)
4 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ90.3 ก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่

การขยายพันธุ์ แก้

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแดดจ้าสามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยรดน้ำสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง

ประโยชน์ แก้

ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถ้านำต้นสดมาผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้วนำไปอุ่นจะใช้เป็นยาหยอดหูหรือแก้ปวดหูได้ หรือถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะได้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก[2] แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอได้ หรือนำผักขวงมาทำแกงแบบคนเหนือซึ่งให้รสชาติขมอร่อย โดยใส่มะเขือและปลาแห้ง (กินตอนร้อน ๆ เพราะถ้าหากเย็นแกงจะมีรสขม)

อ้างอิง แก้

  1. "ปริมาณวิตามินในผักขี้ขวง(สะเดาดิน)". Vitamin.co.th. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013.
  2. "ผักขวง". สมุนไพรดอทคอม. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.