กาญจน์ ตั้งปอง
กาญจน์ ตั้งปอง (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2529) เป็นกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกันตัง
กาญจน์ ตั้งปอง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เขต 4 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 173 วัน) | |
คะแนนเสียง | 29,594 (30.62%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 เมษายน พ.ศ. 2529 อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2565–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้กาญจน์ เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2529 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรนายวิสิฐ ตั้งปอง นางวิไล ตั้งปอง
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศน์ศาสตร์ สาขาประชาสัมพันธ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศูนย์ตรัง
งานการเมือง
แก้กาญจน์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกันตัง ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1][2][3] ด้วยคะแนน 29,594 ห่างอันดับ 2 เพียง 392 คะแนน โดยก่อนหน้านั้นมีผู้ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังเขต 4 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คือนายกาญจน์ และสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีตสส.ตรัง และได้ทำโพลล์ในที่สุดกาญจน์ก็ได้เป็นว่าที่ผู้สมัคร[4][5][6][7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้กาญจน์ ตั้งปอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ “บ้านโล่สถาพรพิพิธ” ผงาดขึ้นบัลลังก์ จ.ตรัง กวาด ส.ส. 3 ที่นั่ง รัฐประหารเงียบ “บ้านหลีกภัย”
- ↑ หมดมนต์ขลังนายหัวชวน?! ตรังเขต 1-2 แพ้ถล่มทลาย “บ้านโล่” เขต 3-4 ชูธงเข้าวิน
- ↑ อัปเดต ตรัง นับคะแนน ผลเลือกตั้ง ส.ส. 4 เขต ปชป.รั้ง 2 ลุงตู่ 1 ลุงป้อม 1
- ↑ "เดชอิศม์" เชื่อคนตรัง หนุน "กาญจน์ ตั้งปอง" เป็นว่าที่ผู้สมัครส.ส. ปชป.
- ↑ ปชป.ตรัง ยังชิงกันเอง “สุณัฐชา” รุกหนัก ควง “กาญ ตั้งปอง” ลงพื้นที่รายวัน รอลุ้นทำโพลตัดเชือกเขต 4
- ↑ ‘เดชอิศม์’เผยผลโพลชาวตรังชู ‘ส.ท.กาญจน์’เป็นว่าที่ผู้สมัครส.ส.ปชป
- ↑ ‘เดชอิศม์’ ยันศึกชิงลง ส.ส. ตรังจบแล้ว โพลหนุน ‘กาญจน์ ตั้งปอง’ ส่วน ‘เด็กชวน’ ลงปาร์ตี้ลิสต์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗