หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์

(เปลี่ยนทางจาก กอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์)

หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ [นะ-ริด-สา] (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499)[1] เป็นพระธิดาคนเดียวในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กับหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ


นริศรา จักรพงษ์

เกิด2 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
สัญชาติไทย
อาชีพ
  • นักเขียน
  • นักสังคมสงเคราะห์
  • อาจารย์
  • นักธุรกิจ
คู่สมรสแอลเลน เลวี (หย่า)
กอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
บุตรจุลจักร จักรพงษ์
ภูวสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
บิดามารดา

หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับแอลเลน เลวี่ มีบุตรชาย 1 คนคือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ "เล็ก" หรือ "ฮิวโก้" และสมรสครั้งที่สองกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ (กี้, บุตรชายของแกรี ทอมสัน กับหม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์)[2] มีบุตรชายอีก 1 คน คือ ภูวสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ หรือ "กู้"

ประวัติ

แก้

หม่อมราชวงศ์นริศรา เกิดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นผู้ประทานชื่อ ตามพระนามกรมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์[3] หม่อมราชวงศ์นริศราใช้ชีวิตวัยเด็กส่วนใหญ่ในบ้านหลังใหญ่บนเนินเขา ณ มณฑลคอร์นวอลล์ เขตชนบทของอังกฤษ แต่ก็กลับกรุงเทพมหานครอยู่บ่อยครั้ง[4] เธอเข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนจิตรลดา รุ่นเดียวกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวัยเด็กเธอได้ติดตามบิดาไปมาระหว่างประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ บ่อยครั้ง

เมื่ออายุได้ 7 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง อีกไม่กี่ปีถัดมา หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา มารดาก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเช่นกัน เธอจึงย้ายไปอยู่กับน้าที่ค่อนข้างเอียงซ้ายและไม่ชอบความเป็น “เจ้า” จึงสบประมาทว่าชีวิตนี้คงไม่เอาไหน ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี เธอจึงออกจากบ้านน้า ขณะนั้นไม่มีอะไรติดตัวมาเลย โดยเธอทำงานเสริฟอาหารเลี้ยงตัวเอง

ต่อมาเข้าศึกษาชั้นมัธยมที่ คอร์นวอลล์ และศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้านภาษาจีน และเปลี่ยนเป็นสาขาประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาจนจบปริญญาบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จาก Courtauld Institute [2] จากนั้นจึงมาเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนจิตรลดา[5] ได้ทำงานกับทหารในโครงการป้องกันตัวเองตามชายแดน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐ

หม่อมราชวงศ์นริศราสมรสครั้งแรกกับ แอลเลน เลวี่ ด้วยวัยที่ห่างกัน 20 ปี ต่อมาได้แยกทางกัน โดยมีลูกชายด้วยกัน 1 คน คือ จุลจักร จักรพงษ์ หรือ ฮิวโก้ นักร้องและนักแสดง จากนั้นแต่งงานกับกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ บุตรชายของหม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ซึ่งต่างเป็นลูกครึ่งที่มีรสนิยมและการใช้ชีวิตคล้ายกัน โดยมีบุตรชาย คือ ภูวสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เธอและครอบครัวใช้ชีวิตไป-มาระหว่างประเทศไทยและประเทศอังกฤษ[6]

ปัจจุบันเธอใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ เป็นประธานมูลนิธิโลกสีเขียว เป็นประธานกรรมการสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่เน้นพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย อีกทั้งในปัจจุบันก็ได้เปิดวังจักรพงษ์เป็นโรงแรมหรูขนาดเล็กชื่อว่า “จักรพงษ์วิลล่าแอนด์ไดน์นิ่ง”

กิจกรรมทางสังคม

แก้

หม่อมราชวงศ์นริศราเป็นผู้ใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนมานาน เธอเป็นประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิโลกสีเขียว[4]

หม่อมราชวงศ์นริศรา เป็นหนึ่งในผู้ได้รับเชิญให้เป็นผู้ถือคบเพลิงโอลิมปิก ในพิธีวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก 2008 ช่วงเดินทางผ่านประเทศไทย ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ในฐานะประธานมูลนิธิโลกสีเขียว ที่มีบทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในทิเบต ซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายในลาซา ทิเบต ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 หม่อมราชวงศ์นริศรา ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นผู้ถือคบเพลงดังกล่าว เพื่อเป็นการประท้วงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีน[7]

ผลงาน

แก้

ผลงานประพันธ์ เช่น หนังสือ “แคทยาและเจ้าฟ้าสยาม” พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ทำร่วมกับสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หนังสือ "ถึงลูกชายเล็ก" ซึ่งเป็นพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[8]

เกียรติคุณ

แก้
  • ตึกนริศรา จักรพงษ์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-12. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  2. 2.0 2.1 Eileen Hunter with Narisa Chakrabongse. KATYA & The Prince of Siam. กรุงเทพฯ : River Books, 1994. 221 หน้า. ISBN 0-904568-76-8
  3. หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ... เจ้าชายดาราทอง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. 376 หน้า. ISBN 974-322-980-9
  4. 4.0 4.1 นิตยสารเฮลโล ฉบับที่ 8 วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 หน้า 64-78
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2006-09-02.
  6. ม.ร.ว.นริศรา พระธิดาพระองค์จุลจักรพงษ์ เผยชีวิตการเป็นเจ้าลูกครึ่ง
  7. Narisa, activists boycott Beijing Olympics Bangkok Post, 22 มีนาคม 2551
  8. สามัคคีสาร ฉบับที่ 1 ประจำปี 2547. สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๖, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  12. "Elisabeth Curling C (Hunter) Chakrabongse". Wiki Tree. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้