กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (อังกฤษ: Special Branch Bureau) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พร้อมกับดำเนินการเกี่ยวกับการข่าวกรองบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ มีหน่วยงานอยู่ในสังกัดอยู่ 6 หน่วยงาน หน่วยงานก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษา เพื่อให้ได้ราชการยิ่งขึ้น เป็นผลให้กรมตำรวจถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน หนึ่งในนั้นคือ การก่อตั้งตำรวจสันติบาล

กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
ตรากองบัญชาการตำรวจสันติบาล
อักษรย่อบช.ส.
คำขวัญเป็นสันติบาลมืออาชีพ
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง17 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2475 (91 ปี 123 วัน)
งบประมาณรายปี307,411,200 บาท (พ.ศ. 2562)[1]
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานแห่งชาติประเทศไทย
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่อาคาร 6 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
หน่วยงานปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทบาทการอารักขา
 • พระมหากษัตริย์ และพระราชินี
 • พระบรมวงศานุวงศ์
 • บุคคลสำคัญ[2][3]
การข่าวกรอง
การรักษาความมั่นคง
การดำเนินคดีในท้องที่[4]
สายตรวจ
การควบคุมฝูงชน[5][6]
เขตอำนาจปกครอง • 5 กองบังคับการ
 • 1 หน่วยงาน
เว็บไซต์
www.sbpolice.go.th

ประวัติ แก้

กองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนของส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม[7] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษา นอกเหนือจากงานด้านการข่าวกรองแล้ว ยังปฏิบัติหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญอีกด้วย[8] ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล และศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย[9] นอกจากนี้ ยังดำเนินการเกี่ยวกับสถานะของพลเมืองชาวไทย อาทิ การถือสัญชาติ หรือการสละสัญชาติ[10] และชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยโดยจะต้องไปขอใบรับรองที่สำนักงานตำรวจสันติบาล[11][12] การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไทย, การก่อการร้าย หรือการกระทำอันเชื่อว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นอีกหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล[13][14][15]

กองบัญชาการตำรวจสันติบาลทำงานร่วมกับตำรวจสันติบาลมาเลเซียในช่วงระหว่างสงครามเย็น[16] ในช่วงระหว่างนั้น พบว่าตำรวจสันติบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เผาลงถังแดง โดยมีผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์จำนวน 3,008 คน ถูกจับลงในถังสีแดงขนาด 200 ลิตร ในสภาพรู้สึกตัวหรือเสียชีวิต แล้วจึงเผาร่างเหล่านั้น ซึ่งเป็นการบริหารแผ่นดินในช่วงของนายกรัฐมนตรี ถนอม กิตติขจร[17]

กองบัญชาการตำรวจสันติบาลถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีฝาหลุนกง[18][19] พวกเขาใช้กลุ่มชนฝาหลุนกงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองอันนำเรื่องไปสู่รัฐบาล[20] และยังมีการก่อให้เกิดความขัดแย้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2550 ตำรวจสันติบาลมีการจัดทำการสำรวจความคิดเห็นเพื่อประเมินผลถึงการเลือกตั้งอันน่าจะเป็นไปได้[21][22] ยังมีเหตุการณ์ลักษณะทำนองเดียวกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2554 มีการจัดทำการสำรวจความคิดเห็นโดยส่วนมากมองว่าเป็นการศึกษามากกว่าการสำรวจ[23]

หน่วยงานมีหน่วยตำรวจรบพิเศษชื่อว่า "แบล็กไทเกอร์" เป็นหน่วยรบพิเศษของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำหรับการอารักขาบุคคลสำคัญ[24]

ภารกิจ แก้

  • ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการข่าวกรองบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานดำเนินกรรมวิธีข่าวกรองให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคคลสำคัญและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
  • ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศตามอำนาจหน้าที่
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานมาตรฐานการข่าว และงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านการข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

หน่วยงานในสังกัด แก้

  • กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บก.อก.บช.ส.)
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 (บก.ส. 1)
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 (บก.ส. 2)
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 (บก.ส. 3)
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 4 (บก.ส. 4)
  • ศูนย์พัฒนาด้านการข่าว (ศพข.บช.ส.)

ยุทโธปกรณ์ แก้

รุ่น ภาพ ที่มา ผู้สร้าง ประเภท จำนวน หมายเหตุ อ้างอิง
รถที่นั่งส่วนบุคคล
โตโยต้า คัมรี่     ญี่ปุ่น โตโยต้า รถยนต์นั่งขนาดเล็ก [25]
เชฟโรเลต ไม่ทราบรุ่น -   สหรัฐ เชฟโรเลต รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก [26][27]
ฟอร์ด เรนเจอร์ ไม่ทราบรุ่น -   สหรัฐ ฟอร์ดมอเตอร์ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก [26][27]
โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์     ญี่ปุ่น โตโยต้า รถยนต์นั่งขนาดกลาง
โตโยต้า คอมมิวเตอร์     ญี่ปุ่น โตโยต้า รถยนต์บรรทุกขนาดกลาง
รถจักรยานยนต์
ฮอนด้า ซีบีเอ็กซ์750     ญี่ปุ่น ฮอนด้า รถจักรยานยนต์ [28]
บีเอ็มดับเบิ้ลยู อาร์100อาร์ที     เยอรมนี บีเอ็มดับเบิ้ลยู ทัวริงไบก์ ใช้ในการนำขบวนเสด็จในพระราชพิธี ณ ปัจจุบัน[28] [28]
บีเอ็มดับเบิ้ลยู เค1200แอลที     เยอรมนี บีเอ็มดับเบิ้ลยู ทัวริงไบก์ [28]
บีเอ็มดับเบิ้ลยู เค1200     เยอรมนี บีเอ็มดับเบิ้ลยู ทัวริงไบก์ [28]
ยามาฮ่า เวนเจอร์     ญี่ปุ่น ยามาฮ่า รถจักรยานยนต์ [28]
1968 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน     สหรัฐ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน รถจักรยานยนต์ [28][29]
1972 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน     สหรัฐ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน รถจักรยานยนต์ 10 คัน[29] [28]
1998 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน     สหรัฐ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน รถจักรยานยนต์ 20 คัน[29] [28][29]
2009 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน -   สหรัฐ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน รถจักรยานยนต์ [28][29]
2016 ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน     สหรัฐ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน รถจักรยานยนต์ [28]

อ้างอิง แก้

  1. รายละเอียดการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำแนกตามหน่วยงาน
  2. ตำรวจสันติบาล ฝึกทบทวนเจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ พร้อมรองรับภารกิจการประชุมอาเซียน 2019
  3. เจ้าหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ พร้อมรองรับภารกิจการประชุมอาเซียน 2020
  4. "ช่อ"ลุ้นระทึกผิดโดนข้อหาหนัก ตร.ไล่บี้สอบทุกจุด
  5. 'ปิยบุตร' ชี้แฟลชม็อบ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี-ต่างชาติให้ความสำคัญ
  6. รอง ผบ.ตร. ถกตำรวจนครบาล รับมือ 'ธนาธร' ปลุกม็อบสกายวอล์ค เย็นนี้
  7. "Interpol's Thailand Page". Interpol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  8. "Special Branch to guard judges after death threats claimed". The Nation. 23 October 2010.
  9. "Female bodyguards for Thailand's next prime minister". The Nation. 16 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2014. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  10. "Thai Citizenship Requirements". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  11. "Living in Thailand". British Embassy, Bangkok, Thailand. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  12. "Frequently Asked Questions". Toronto: Royal Thai Consulate General. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  13. "Thailand: Solidarity with Giles Ungpakorn". Socialist Review. February 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  14. "Security tightened at Norwegian Embassy". The Nation. 24 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  15. "Thai authorities order arrest of 14 people after protests". CNN. 14 เมษายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2011.
  16. Comber, Leon (2006). Malaya's Secret Police 1945–60. The Role of the Special Branch in the Malayan Emergency (PhD dissertation, Monash University). Singapore: ISEAS (Institute of SE Asian Affairs, Singapore) and MAI (Monash Asia Institute. p. 257. {{cite book}}: |format= ต้องการ |url= (help)
  17. "The Red Drum massacres of 30 years ago" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2015.
  18. Martin Croucher & Mo Zhengfeng (12 February 2008). "Political Motives Suspected After Thai Deportation Arrests". Epoch Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  19. "Thailand: Update on the Situation of Five Falun Gong Practitioners Held in the Immigration Detention Centre". Clearharmony. 21 December 2005. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  20. "TJA condemns Special Branch Police for misuse of press law". International Freedom of Expression Exchange. 9 August 2001. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  21. "Thailand: Restoring Democracy, Report of International Election Observation Mission December 2007" (PDF). The Asian Network for Free Elections (ANFREL). มีนาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2015. 27 November 2007: The National Police Commissioner is questioned by the Prime Minister's Office on why the Special Branch Police Bureau conducted an election opinion poll.
  22. Boyce, Ralph L. (30 November 2007). "Thai Election Body Grapples with Fraud, Army Interference". WikiLeaks. แม่แบบ:WikiLeaks cable. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. "Police deny making election survey". Bangkok Post. 13 June 2011. สืบค้นเมื่อ 20 December 2015. Special Branch had gathered information about the coming [July 3 election] for a report sent directly to the police chief, but that was not an opinion survey in the form the media reported.
  24. หน่วยงานมีหน่วยตำรวจรบพิเศษชื่อว่า "แบล็กไทเกอร์"[ลิงก์เสีย]
  25. "ระทึก! รถขบวนนายกฯ ชนกันเอง ที่ถนนจันทน์ ทำตร.เจ็บ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-24.
  26. 26.0 26.1 ประกาศ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล เรื่อง ขาดทอดตลาดพัสดุชำรุด
  27. 27.0 27.1 ประชาชนแห่จองประมูลรถยนต์ตำรวจสันติบาลขายทอดตลาด
  28. 28.00 28.01 28.02 28.03 28.04 28.05 28.06 28.07 28.08 28.09 28.10 ตำรวจสันติบาล ใช้รถอะไรบ้าง แบรนด์ไหนบ้าง ในการนำขบวนเสด็จ
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 ย้อนรอย"รถอัศวิน"ตำนานสันติบาล 75 ปี

แหล่งข้อมูลอื่น แก้