ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน

ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน (อังกฤษ: Harley-Davidson) รู้จักกันดีในชื่อ ฮาร์ลียส์ (Harleys) หรือในเมืองไทยนิยมเรียกกันว่า ฮาร์เล่ย์ เป็นบริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ จากสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มิลวอกี รัฐวิสคอนซิน ซึ่งฮาร์ลีย์-เดวิดสันนี้ เป็นหนึ่งในสองบริษัทผลิตมอร์เตอร์ไซค์ที่ยังคงดำเนินการอยู่ (อีกบริษัทคือ วิกตอรี) ลักษณะเด่นของรถของบริษัทนี้ คือเป็นรถที่มีลักษณะใหญ่ การออกแบบเฉพาะตัวและเสียงเครื่องยนต์ที่แตกต่าง

ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
NYSE: HOG
S&P 500 Component
ก่อตั้งค.ศ. 1903
ผู้ก่อตั้งวิลเลียม เอส. ฮาร์ลีย์
อาเธอร์ เดวิดสัน
วัลเทอร์ เดวิดสัน
วิลเลียม เอ. เดวิดสัน
สำนักงานใหญ่มิลวอกี รัฐวิสคอนซิน สหรัฐ สหรัฐ
ผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์
ผลผลิต
ลดลง 241,498 คัน (2017)[1]
รายได้ลดลง US$5.647 พันล้านดอลลาร์ (2017)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง US$522 ล้านดอลลาร์ (2017)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$9.973 พันล้านดอลลาร์ (2017)[1]
พนักงาน
~5,800 คน (ธันวาคม 2017)[1]
เว็บไซต์www.harley-davidson.com

ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1903 จากวิลเลียม เอส. ฮาร์ลีย์ และ อาร์เธอร์ เดวิดสัน[2] โดยก่อนหน้านี้ในปี 1901 ฮาร์ลีย์ได้เริ่มวางแผนในการนำเครื่อง 116 ซีซี มาใช้กับโครงจักรยาน และหลังจากนั้น ในปี 1906 ทั้งคู่ได้ตั้งโรงงานขึ้น โดยถัดมาอีกหนึ่งปีหลังจากที่ ฮาร์ลีย์ได้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน เขาก็ได้ขยายโรงงานเพิ่ม

ในปี ค.ศ. 2017 ฮาร์ลีย์-เดวิดสันได้ประกาศแผนสร้างโรงงานในประเทศไทยเพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวได้ถูกปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในปี 2018 ฮาร์ลีย์-เดวิดสันประกาศแผนยุบโรงงานที่เมืองแคนซัสซิตี และแทนที่ด้วยกำลังการผลิตในประเทศไทย ซึ่งภายในปี 2027 รถจักรยานยนต์ฮาร์ลีย์ราวกึ่งหนึ่งของทั้งโลกจะถูกผลิตจากโรงงานในประเทศไทย[4] และอีกกึ่งหนึ่งจะถูกผลิตขึ้นจากโรงงานที่ในประเทศบราซิลและอินเดีย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Harley-Davidson, Inc. 2017 Annual Report (Form 10-K)". sec.gov. U.S. Securities and Exchange Commission. February 2018.
  2. ประวัติร้อยปี เก็บถาวร 2012-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  3. Harley-Davidson plans Thailand factory to serve Southeast Asian market 25 May 2017
  4. Union: Harley-Davidson will ship work to Thailand from closing U.S. plant 11 May 2018

แหล่งข้อมูลอื่น แก้